top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนอ.อนุชา ทรงศิริ

ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโรวัดพระธาตุดอนเรือง พระเกจิไทยที่ชาวพม่า-เนปาล-ภูฏานศรัทธา

ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโรวัดพระธาตุดอนเรือง

พระเกจิไทยที่ชาวพม่า-เนปาล-ภูฏานศรัทธา


ทีมข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ร่วมเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณของ"ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร"เกจิชื่อดังแห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีชาวไทย ผู้ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากชาวยวน ไทใหญ่ ชาวลาว และชาวภูฏาน


โดยก่อนหน้านี้หากใครจำได้ เมื่อปี พ.ศ.2561 ท่านยังเคยทำพิธีเปิดทางช่วยเหลือเด็ก ๆ และโค้ช 13 ชีวิต หรือ ทีมหมูป่า ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยเผยว่า 1-2 วันออกมาแน่


ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ.2508 ที่บ้านดงป่าสัก หมู่ที่ 3

ต.บ้านด้าย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นบุตรของ พ่อคำหลัา แม่แสงหล้า ทาแกง เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 4 คน โดยก่อนแต่งงานคุณแม่แสงหล้าฝันว่า

ได้ขึ้นไปบนภูเขา ไปกราบไหว้พระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่เหลืองอร่ามรูปงาม แล้วก็

สะดุ้งตื่น อยู่มาไม่นานก็เริ่มตั้งครรภ์ พอครบ 9 เดือน ก็ให้กำเนิดบุตรชายคนแรก น่ารัก น่าเอ็นดู


จากนั้นก็ต้องมีเหตุต้องแยกกันอยู่กับพ่อคำหล้า โดยแม่แสงหล้ากลับไปอยู่กับแม่อุ้ยนางหลวงที่เคยอยู่ด้วยกันมา เพราะไม่มีใครดูแล ส่วนพ่อคำหล้ากลับไปดูแลแม่หลวงอุ่น จึงเป็นเหตุต้องแยกกันอยู่ ครั้นเมื่อครูบาอายุครบ6 เดือน พ่อคำหล้าก็กลับมาเยี่ยม แล้วกลับไป ต่อมาไม่นาน แม่แสงหล้าก็ทราบข่าวว่าพ่อคำหล้าได้ล้มป่วยกะทันหันด้วยโรคบิดและถึงแก่กรรมขณะอายุ 25 ปีเท่านั้น


เมื่อครูบาอายุ 3 - 4 ขวบ ได้ย้ายจากบ้านดงป่าสัก ไปอยู่บ้านทาดอยชัย ต.ป่าสัก

อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และแม่แสงหล้าได้สมรสใหม่กับพ่อสม ไชยวงค์คำ เมื่อแม่อุ้ย

นางหลวงถึงแก่กรรม ครอบครัวของแม่แสงหล้ายิ่งลำบากกว่าเดิม ต้องไปทำกระท่อมอยู่ 4-5 คนแม่ลูก ฝาบ้านไม่มี หลังคาก็รั่ว มุ้งหมอน ผ้าห่ม เสื้อผ้าแทบจะไม่มี


อุปนิสัยของครูบาบุญชุ่มในตอนเด็กชอบฝักใฝ่ในธรรมมะไม่ถือโทษโกรธใครเนื่องจากแม่แสงหล้าเป็นคนมีนิสัยใจคอดี โอบอ้อมอารีมีเมตตาต่อลูกๆ ญาติ และพี่น้องเป็นผู้รู้จักบุญคุณเสมอ ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่ครอบครัวจะยากจนขนาดไหน พอถึงวันพระ

ก็หาอาหารไปใส่บาตรเสมอ ก่อนที่แม่อุ้ยนางหลวงยังไม่เสียชีวิตในช่วงเข้าพรรษาก็จะพาครูบาบุญชุ่มไปนอนวัดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ


ถึงปี พ.ศ.2517ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านด้าย อ.แม่สาย ชั้นประถมศึกษาปีที่2 โดยมีนายอิ่นแก้ว นามวงค์ เป็นครูใหญ่ คุณครูจำรัส คุณครูนีรมล เป็นครูประจำชั้น จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และในช่วงนั้นพ่อลุงทา กันทาเดช(พ่อลุงเขย)ได้เอาครูบาบุญชุ่มไปฝากวัด(เป็นขโยม) กับพระอธิการสิน จิระธัมโม เจ้าอาวาส วัดธรรมประสิทธิ์บ้านด้าย

ตอนนั้นท่านอายุได้ 11 ปี ท่านชอบสงบอยากบวชตั้งแต่อายุ 4-5 ปี


สมัยเป็นนักเรียน ท่านชอบนั่งสมาธิตามขอบสนามหรือใต้ต้นไม้ ไม่ชอบสุงสิงกับใคร จนเพื่อนฝูงว่าท่านเป็นบ้า ใครจะว่าอย่างไรท่านไม่สนใจ ท่านถือว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธเจ้า ปี พ.ศ. 2519 ท่านได้บวช

เรียนตามปณิธานที่ตั้งไว้ตั้งแต่เยาว์วัย ถึงเวลากำหนดท่านก็ขอขมาลุงป้าแทนพ่อแม่

แล้วจึงอาบน้ำนุ่งผ้าขาว ในคืนหนึ่งท่าน ได้นิมิต(ฝัน)เห็นหลวงปู่องค์หนึ่งแก่ๆผมหงอก

ถือไม้เท้าเดินออกจากต้นโพธิ์ใหญ่ในวัด เดินเข้ามาหาท่านแล้วสอนธรรม กัมมัฏฐานให้

ภาวนาคำว่า "พุทโธๆ" และบอกว่าให้หมั่นภาวนา ในวันข้างหน้าจักได้เป็นครูบาอาจารย์

เป็นที่พึ่งแก่คนทั่วไปและมนุษย์โลกทั้งหลายจากนั้นหลวงปู่เฒ่าก็เดินหายไป


จากนั้นวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2519 ท่านก็บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญยืน ต.ป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมีพระครูหิรัญเชตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อ.แม่จัน เจ้าคณะ อ.เชียงแสน เป็นพระอุปัชฌาย์ มีสามเณรที่บวชพร้อมกันทั้งตำบลจำนวน 32รูป ปัจจุบันเหลือท่านเพียงรูปเดียว

หลังบรรพชาแล้วก็กลับมาที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ เข้ากัมมัฏฐาน ภาวนา 3 วัน เริ่มเรียนสวดมนต์ภาวนาทำ กิจวัตรต่างๆมีล้างบาตร ล้างถ้วยชาม ทำความสะอาดวัด ดายหญ้าท่านทำทุกอย่างที่ทำได้ วัตรที่จำเป็นที่สุดคือการเจริญภาวนา ท่านนอนองค์เดียว ในกุฏิที่เก็บกระดูกผีตาย ชอบอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่


พอบวชได้เป็นสามเณรได้ 1 เดือน คนทั้งหลายก็ลือกันว่ามีเณรน้อยต้นบุญถือกำเนิด ที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายก็พากันมาทำบุญขอให้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ให้ สามเณรบุญชุ่มก็บอกว่าเราบวชเป็นเณรใหม่ยังไม่รู้อะไรสักอย่างให้ตั้งจิตอธิษฐานกันเองเถอะ บางคนก็ขอให้สั่งสอน ท่านก็บอกว่ายังไม่รู้อะไรเลย ขอให้หมั่นทำบุญ รักษาศีลห้า เจริญภาวนาพุทโธจะได้พ้นทุกข์


เมื่ออายุครบ 21 ปีได้เข้าอุปสมบทเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2529 ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ โดยมีพระราชพรหมจรรย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระครูศรีปริยัตินุรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์


นับตั้งแต่ออกบวชครูบาเจ้าบุญชุ่มมุ่งเน้นกัมมัฏฐาน โดยได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาอาจารย์สายปฏิบัติชื่อดังหลายองค์ ได้มุ่งเน้นไปหลายที่ของประเทศไทย ข้ามไปฝั่งลาว พม่า และอีกหลายแห่งจนได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากชาวยวน ไทใหญ่ ชาวลาว และชาวภูฏานตลอดมา


สำหรับครูบาอาจารย์โดยตรงขิงครูบาบุญชุ่ม อาทิ ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทราวตากผ้า จ.ลำพูน,ครูบาอินทจักร์ วัดวนาราม (น้ำบ่อหลวง) จ.เชียงใหม่,ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน,ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่,ครูบาน้อย วัดบ้านปง

ครูบาคำแสน วัดดอนมูล จ.เชียงใหม่,หลวงพ่อฤาษีลิงดำ,หลวงปู่หล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่,หลวงปู่โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร,หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา

,ครูบาเจ้าเทือง วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน เป็นพระสหธรรมิก


ครูบาอาจารย์ภาคอีสาน ที่ท่านได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่นิล วัดครบุรีจ.นครราชสีมา,หลวงปู่พุธ วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา,หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย,หลวงพ่อแสวง วัดถ้ำพระ จ.สกลนคร,หลวงปู่คูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา


ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page