top of page
ค้นหา

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"ประจำวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริอ.อนุชา ทรงศิริ

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"

รูปเหมือนผง"ปู่อินตอง"-มวลสารนับร้อยชนิด

รวมเกจิดังเสก"เบญจภาคีเมืองละโว้ ย้อนยุค"

"พ่อแอ่ม"เกจิวัดน้ำตก/ศิษย์สายธรรมปู่โต๊ะ

"จับชีพจรวงการพระ"กับ"นายขุนโหร" ประจำวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566... เริ่มด้วยข้อคิดคำคมประจำวัน😊 "...ถ้าจะเป็นคนดี เป็นคนดีเพื่อตัวเอง ไม่ต้องเป็นคนดีเพื่อใครทั้งนั้น..."

👍เหรียญมหาพรหมบันดาลทรัพย์ รุ่น"บูชาครู" หลวงพ่อเจี๊ยบ วุฑฒิสาโร เกจิ อาจารย์ชื่อดังวัดประชาโฆสิตาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม กดปั๊มนำฤกษ์ไปแล้วเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.09 น. ที่บริษัทโรงปั๊มพระตะกรุดทองคำ จำกัด ซอยบางกระดี่ 19 แยก 9 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ โดยก่อนปั๊มท่านได้เขียนอักขระยันต์ของครูบาอาจารย์ลงบนแผ่นชนวนที่จะนำไปหล่อหลอมนำมารีดปั๊มเป็นเหรียญ ....รูปแบบด้านหน้าเป็นพระพรหมสี่หน้าคล้ายของ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ อดีตฆราวาสจอมขมังเวทย์ ส่วนด้านหลังมีอักขระยันต์ล้อมล้อมรูปเหมือนหลวงปู่คลี่ ซ้อนอยู่บนรูปเหมือนหลวงพ่อเจี๊ยบ ที่นิยมเรียกกันว่า"พุฒซ้อน" มีหลากหลายเนื้อให้เลือกสั่งจองบูชา กำหนดพิธีบวงสรวงพุทธาเทวาภิเษกในวันที่ 6 เมษายน 2566

👍พร้อมให้บูชาแล้ว! “พระเนื้อผงรูปเหมือน รุ่น"มหาลาภ”พระครูวีรธรรมคุณ หรือ "หลวงปู่อินตอง สุภวโร" วัดป่าวีระธรรม ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร พระเถราจารย์สายกรรมฐานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันเจริญอายุวัฒนมงคลครบ 84 ปี พรรษา 64...รุ่นนี้มีมวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมมากมายหลายร้อยชนิด อาทิ ผงวิเศษ(ผงปถมัง,ผงอิทธิเจ,ผงพุทธคุณ,ผงมหาราช,ผงตรีนิสิงเห) และน้ำมันของหลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี,ผงแร่บางไผ่ และผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่จากพระอาจารย์ สมศักดิ์ วัดนคร อินทร์,ผงวิเศษตำรับวัดชายนาสมัยหลวงพ่อตัด จากพระอาจารย์ทิน วัดชายนา,ผงอิทธิเจฤาษีจากหลวงปู่มหาทองพูน สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำจำปาทอง จ.ราชบุรี,ผงมวลสาร7 ป่าช้า หลวงพ่อจำเนียร วัดเขาหลาว จ.ราชบุรี,ผงวัดสัมฤทธิ์และผง350อาจารย์ของอ.ตั้ว วัดซับลำใย,มวลสารศูนย์พระพุทธเมตตาภูผาชัน แม่ชีอำพร ทำรัมย์,ผงชาดแดงเซียนแปะโค้ว โรงเจฮะเฮงตั้ว กรุงเทพฯ, เม็ดผงยาวาสนาจินดามณีจากหลวงตาคง วัดกลางบางแก้ว,ปูนแดงหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ผงยาและผงธูปในกระถางธูปหน้าสรีระสังขารของหลวงพ่อบ่าวเอิง วัดญวณ สะพานขาว,ลูกประคบหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู ฯลฯ

👍วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 (วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล) วัดทอง จรัญ 64 เขตบางพลัด กรุงเทพฯ จัดงานพิธีเททองหล่อ "พระกริ่งสายฟ้า 2" หลวงปู่โต๊ะ เริ่มเวลา 14.59 น. เป็นต้นไป พระธรรมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค 1 (เจ้าอาวาสวัดหงส์ รัตนาราม) ประธานฝ่ายสงฆ์ เกจิอาจารย์ร่วมพิธี เจ้าคุณสุรศักดิ์ วัดประดู่ (พระอารามหลวง),หลวงปู่นงค์ อภิชาโต เจ้าอาวาสวัดบางน้ำชน (ศิษย์หลวงปู่โต๊ะ) กทม. วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ 200 กว่าปี ท่านที่สนใจสั่งจองได้ในวันงาน สอบถามโทร.085-6009949

👍วัดบ้านม่วง ต.บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

จัดสร้างพระเบญจภาคีเมืองละโว้ ย้อนยุค ประกอบด้วย 1.พระหูยาน 2.พระร่วง 3.พระยอดขุนพล 4.พระนาคปรก 5.พระนารายณ์ทรงปืน เนื้อผงมวลสารพุทธคุณ รวบรวมจากพระเกจิคณาจารย์ทั่วประเทศ เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ โดยกำหนดจัดพิธีพุทธาภิเษกในวันเสาร์ที่ 18 มี.ค. 2566 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรก 1.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) ​วัดประดู่ สมุทรสงคราม 2.พระภาวนาวชิรมงคล (หลวงพ่อสมพร)​​วัดป่าธรรมโสภณ​​​ ลพบุรี 3.หลวงพ่อแม้น ​​​​​วัดหน้าต่างนอก​​​ อยุธยา 4.หลวงพ่อเอื้อน ​​​​​วัดวังแดงใต้​​​ อยุธยา 5.หลวงพ่ออวยพร​​​​​ วัดดอนยายหอม​​​ นครปฐม 6.พระอาจารย์ติ๋ว​​​​​วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี 7.หลวงพ่อสวง​​​​​ วัดเขาพระ​​​ ลพบุรี 8.พระครูปลัดพิจารณ์ ​​​วัดโพธิผักไห่​​​ อยุธยา 9.พระอาจารย์แก้ว​​​​​วัดตะโก​​​​ อยุธยา 10.หลวงพ่อภณ​​​​​ วัดเกริ่นกฐิน​​​ ลพบุรี 11.พระอาจารย์เอก​​​​​วัดบางพุทโธ​​​ ลพบุรี ผู้เข้าร่วมพิธีรับแจกวัตถุมงคลฟรี!!

🙏ปิดท้ายด้วยพระดีเกจิดังเมืองกาญจนบุรี "หลวงพ่อแอ่ม ชุติวณฺโณ" (พระครูนิโครธโยคาภิรักษ์) อายุ 82 ปี 61 พรรษา ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เจ้าอาวาสวัดน้ำตก อ. ไทรโยค หนึ่งในศิษย์สายตรงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี...สวัสดี

"นายขุนโหร"



 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page