top of page
ค้นหา

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"ประจำวันหยุดสุดสัปดาห์ 30 กันยายน-1 ตุลาคม 2566

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 30 ก.ย. 2566
  • ยาว 1 นาที

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"

"พ่อรักษ์"เสกสิวลี/ตะกรุด/กดนำฤกษ์6พิมพ์

1ตค.เสก"พระกริ่งปวเรศ 8 รอบ"หลวงปู่ขำ

6ตค.เสกสิวลีหลังยันต์5พ่อรวยวัดมาบตาพุด

2เกจิดังเมืองโอ่ง"ปู่สมาน-ปู่รอด"สายพ่อสุด

จับชีพจรวงการพระ"กับ"นายขุนโหร" ประจำวันหยุดสุดสัปดาห์ 30 กันยายน-1 ตุลาคม 2566 เริ่มด้วยข้อคิดคำคมประจำวัน😊"...ช้างดูสง่าเพราะมีงา คนจะดูมีราคาเพราะรักษาคำพูด..."

👍ฤกษ์งามยามดี วันเสาร์ที่ 30 ก.ย. 2566 พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ วิ. (หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ อนาลโย)วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง พุทธมณฑลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำพิธีอธิษฐานจิตปบุกเสกวัตถุมงคล พระสีวลี เทพเจ้าแห่งโชคลาภ รุ่น "มหาลาภัง" (ผู้มีลาภมาก)​และตะกรุดโทนรุ่น "เฑาะว์มหาพรหม" ถายในโบสถ์มหาอุตม์ จากนั้นเวลา 16.09 น. พิธีกดพิมพ์นำฤกษ์ พระเนื้อดินย้อนยุค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา รุ่น"ตำนานอโยธยา" 6 พิมพ์ นก ทำนา...ไก่ หากิน...เม่น เดินป่า...ปลา ค้าขาย...ครุฑ อำนาจ...หนุมาน ราชการ ณ มณฑลพิธีหหน้าโบสถ์มหาอุตม์ โดยเจ้าคุณรักษ์ อนาลโย และเจ้าคุณสุริยันต์ โฆษปัญโญ ประธานฝ่ายสงฆ์ นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ (อุ๊ กรุงสยาม) นายกฯอบต.บ้านใหม่ อ.มหาราช จ.พระนครศรี อยุธยา ประธานฝ่ายฆราวาส

🙏วันเสาร์ที่ 30 ก.ย. 2566 พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ หรือ "พระอาจารย์อิฏฐ์" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม จะเป็นประธานพิธีทำบุญครบ 1 ปี ท้าวเวสสุวรรณโณ พิธีสวดภาณยักษ์ใหญ่ เวลา 14.00 น. ณ วัดแค แหล่งธรรมตำนานขุนช้างขุนแผนในวรรณคดีแห่งเมืองสุพรรณบุรี ถิ่นธรรม หลวงพ่อคง พระอาจารย์ของขุนแผน เลื่องชื่อเรื่องเสกใบมะขามเป็นตัวต่อตัวแตน

👍ฤกษ์มงคลวันที่ 1 ต.ค. 66 พิธีพุทธาภิเษกจักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย "พระกริ่งปวเรศ 8 รอบ"หลวงปู่ขำ เกสาโร" วัดบ้านหนองแดง"จ.มหาสารคาม ...ชนวนมวลสารพระเกจิทุกภาคของประเทศไทยนับหมื่นเหรียญ,ชนวนพระกริ่งหลวงปู่ทิมและหลวงพ่อเหินที่มีส่วนผสมของทองคำ วัตถุประสงค์เพื่อหาทุนสร้างกุฏิรับรองอาคันตุกะพระผู้ใหญ่ที่ไปเยี่ยมหลวงปู่

👍มาแรงห้วงนี้ต้อง"พระขุนแผนพรายแม่ศรี"พระอาจารย์สมหวัง ญาณสมฺปนฺโน วัดสนามชัย จ.อ่างทอง นับเป็นพระขุนแผนอีกรุ่นที่รวมสุดยอดมวลสารไว้หลากหลายชนิด อาทิ เกสรดอกบัว หลวงพ่อโสธร, ผงมวลสาร"พรายกุมารกัญญา"ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักสร้างหลายท่าน เพื่อจะนำมวลสารไปสร้างพระสายพรายต่างๆ ,มวลสารผงตะไบพระกริ่งพญาราหู พระกริ่งชื่อดังของวัดบุญฤทธิ์,มวลสารสำคัญ "ลูกอมหลวงปู่ทิม" โดยได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อสนั่น วัดกลางราชครูมอบให้เมื่อครั้งจัดสร้างพระขุนแผนพรายนารี,ชานหมากหลวงปู่สมบุญ วัดลำพันบอง,ผงยาจินดามณี พระอาจารย์ประทธิ์ วัดกัลยาณีทรงธรรม, มวลสารปิดตา หลวงตาเมียก วัดโคกกะเพอ สุรินทร์,ผงแป้งผัดหน้า หลวงปู่ญาท่านเขียน,มวลสารส่านอาถรรพณ์108 รวมทั้งมวลสาร 7 โหง 7 วิญญาณ ของพระอาจารย์สมหวัง

👍วันที่ 6 ต.ค. 2566 นี้ ทีมพี่เสือเชิญร่วมงานพิธีพุทธภิเษกวาระที่4 มหามงคล (วาระสุดท้าย) พระสิวลี หลังยันต์ห้า(รุ่นแรก) หลวงพ่อรวย อัคคสาโร วัดมาบตาพุด จ.ระยอง วัดเขาไม้เเดง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี สืบสานตำนานผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิธีเริ่มเวลาประมาณ 16.59 น. โดยได้รับความเมตตาทำพิธีเสกให้เป็นวาระพิเศษ เพิ่มดวง เสริมบารมีให้ก่อนรับพระทุกๆองค์ พร้อมเสกเจิมแดงมือ โดยหลวงพ่อสง่า ศิษย์เอกหลวงพ่อยงยุทธ หลังเสร็จพิธีรับพระได้เลย

🙏ปิดท้ายด้วย 2 พระดีเกจิดังแห่งเมืองโอ่งมังกร "หลวงปู่สมาน สุธมฺโม" แห่งที่พักสงฆ์เขายางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี พระผู้เฒ่าผู้สืบสายวิชาแห่งหลวงปู่ศุข วัดมัขามเฒ่า โดยเป็นศิษย์หลวงพ่อสุด วัดกาหลง,หลวงปู่บุญมา วัดนางตะเคียน นอกจากนี้ ยังศึกษาตำราที่สืบทอดกันมาจากครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อรักษ์ วัดน้อยแสงจันทร์, หลวงพ่อมา วัดวังตะเคียน และอาจารย์รวม หนังแห้ง ฆราวาสผู้แก่กล้าแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าตำรับวิชาหมูทองแดง...

🙏"หลวงปู่รอด นิติสาโร" หรือ "พระอาจารย์รอด" อายุ 76 ปี วัดห้วยตะแคง ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี ศิษย์สืบสายพุทธาคม "หลวงพ่อเกิด จันทโม" อดีตเกจิวัดเทพประสิทธิ์คณาวาส อ.อัมพวา จ.สมุทรสง คราม อีกทั้งเคยมีโอกาสขอเรียนวิชากับหลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร โดยวิชาที่หลวงปู่รอดเชี่ยวชาญคือ การสักยันต์และลงนะหน้าทอง...สวัสดี

"นายขุนโหร"


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page