top of page
ค้นหา

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 25 ก.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"

เสกวันนี้!เหรียญรุ่นแรก"ศรัทธาบารมี"พ่อเก่ง

25กค.หล่อรูปปู่บุดดายืน-เสกปิดตานกถึดทือ

"พ่อสง่า"เขาไม้แดง-ศิษย์"เจิมมือ"พ่อยงยุทธ

จับชีพจรวงการพระ"กับ"นายขุนโหร" ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 เริ่มด้วยข้อคิดคำคมประจำวัน😊"บอด...เสียบ้าง หนวก...เสียบ้าง ใบ้เสียบ้าง...จิตจะสบาย..."(คติธรรมหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ)

👍ฤกษ์ดีเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ วันที่ 22 ก.ค. 2566 เวลา 16.39 น. วัดตลิ่งชัน จ.สระบุรี จัดพิธีบวงสรวง เบิกเนตรท้าวเวสสุวรรณองค์ใหญ่ ซึ่งนายปฐมพงษ์ ปันบารมี จัดสร้างถวาย โดยมี พระอาจารย์วีรพล มหาสักโก เจ้าอาวาส เป็นประธาน จากนั้นมีพิธีสวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร มนต์พระปริตร, สวดภาณยักษ์ ฉลององค์ท้าวเวสสุวรรณ พุทธาภิเษกพระปิดตา เสาร์ 5 มหาพรหม พุทธาภิเษกตะกรุด ยันต์เกราะเพชร เสาร์ 5 สมโภช พระผงแหวกม่าน (ตามรอยครู) โดยมี พระมงคลวโรปการ หรือ"หลวงพ่อชำนาญ อุตฺตมปญฺโญ" วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี จุดเทียนชัย และนั่งปรกอธิษฐานจิตร่วมกับพระเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ พระครูธรรมธรอดิเรก อนุตโร วัดหนองทราย จ.สุพรรณ บุรี,หลวงปู่ธูป ญาณวโร) วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อใหญ่ วัดธารอุทุมพร จ.นครราชสีมา,พระครูสังฆรักษ์ กฤษณะ วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน) กทม. พระอาจารย์ธีรวัฒน์ วัดหนองราชวัตร จ.สุพรรณบุรี,พระอธิการวีรพล วัดตลิ่งชัน และพระอาจารย์แค วัดสวนธัมมานุสรณ์ จ.สุรินทร์ นั่งปรกพร้อมพิธีสวดภาณยักษ์ยาวนานกว่าชั่วโมง จากนั้นหลวงพ่อใหญ่ดับเทียนชัย พระเกจิประพรมน้ำพระพุทธมนต์ โปรยข้าวตอกดอกไม้

👍ฤกษ์มงคลวันอังคารที่ 25 ก.ค. 2566 เวลา 18.00 น. ณ วัดวังทรัพย์ หมู่13 ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว พิธีพุทธาภิเษกเหรียญรุ่นแรก รุ่น"ศรัทธาบารมี" หลวงพ่อเก่ง ตปสมฺปนฺโน วัดวังทรัพย์ ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว

โดยได้รับความเมตตาอธิษฐานจิตจากเกจิดัง หลวงปู่แก้ว สำนักสงฆ์ป่าสมุนไพร

,หลวงพ่อรวย วัดป่ามหาลาภฯ,หลวงพ่อทองบ่อ สำนักสงฆ์สวนป่าอรัญปิยวงค์,

พระอธิการอนงค์ วัดครองยายอินทร์...รุ่นนี้งานวัดจัดสร้าง100% ออกแบบโดยหลวงพ่อเก่งซึ่งท่านดำริอยากให้ลูกศิษย์มีเก็บ มีใช้ นำพาโชค การงาน การค้า เสริมดวง เสริมบารมี แคล้วคลาด ปลอดภัย เมตตามหานิยม...

🙏วันที่ 25 กรกฎาคม 66 (ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันคล้ายวันเกิดหลวงปู่บุดดา ทางวัดป่าใต้พัฒนาราม ได้รับความอุปถัมภ์จากพระครูปิยะรัตนานุกูล ( พระอาจารย์ต่อ ) วัดมณีวงศ์ จ.นครนายก ทำพิธีเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ (ยืนให้พร ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาแก่สาธุชนศิษยานุศิษย์โดยทั่วไป และทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล "พระปิดตาพญานกถึดทือ " จึงขอเชิญชวน ศิษยานุศิษย์และทีมงานที่เคยสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ร่วมบุญในการนี้

👍ปิดรับจอง 25 กรกฏาคม 66นี้... "ขุนแผนพรายเสน่ห์จันทร์ 2" นับเป็นรุ่นที่ 4 แห่งการสร้างขุนแผนของวัดบางแพรก จ.นนทบุรี จากต้นกำเนิดพระขุนแผนพรายกัญญา ดินแดนแห่งเมืองดอกบัวงาม สู่ขุนแผนเมืองนนท์ นับตั้งแต่ ปี 57 ที่"ท่านญาครูจุณ" ผู้สร้างตำนาน"พรายกัญญา"อันลือเลื่องโด่งดังทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ได้เมตตามอบมวลสารผงพรายกัญญาให้วัดบางแพรก จ.นนทบุรี เพื่อจัดสร้าง"พระขุนแผนพรายชมจันทร์ รุ่น 1" วัดบางแพรก จนกาลเวลาล่วงเลยมาถึง 9 ปี นับแต่ได้รับมวลสารเป็นปฐมเบื้องต้นมา กลิ่นอายแห่งพระขุนแผนยังหอมฟุ้งคุกรุ่นเป็นที่ถามหาไม่ขาดสาย จนเป็นที่มาของการสร้างตำนาน "พรายเสน่ห์จันทร์2" พิธีปลุกเสกวาระสุดท้าย 18 สิงหาคม 66 และรับพระ-ส่งพระตั้งแต่ 19 สิงหาคม เป็นต้นไป

🙏ปิดท้ายด้วยพระดีเกจิดังเมืองชล... พระครูวิสิฐธรรมโสภณ หรือ"หลวงพ่อสง่า ติกขวีโร" เจ้าอาวาสวัดเขาไม้แดง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และเจ้าคณะตำบลบางพระเขต2 ท่านเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมสายตรงจากหลวงพ่อยงยุทธ โดยเฉพาะวิชา"เจิมมือนะพระแม่โพสพ "ตำรับโบราณที่หลวงพ่อยงยุทธได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และถ่ายทอดมาสู่หลวงพ่อสง่า ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย อีกหนึ่งวิชาของหลวงพ่อสง่า คือ วิชาเบิกพระแม่ธรณี(ค้าขายที่ดิน) ซึ่งเป็นอีกวิชาที่ท่านเชี่ยวชาญมาก...สวัสดี

"นายขุนโหร"



 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page