top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนอ.อนุชา ทรงศิริ

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"ประจำวันจันทร์ที่ 19 ก.ค. 2564

คอลัมน์"จับชีพจรวงการพระ"

เปิดจองเทวรูป"ท้าวมหาพรหม"วัดอินทร์ "ครุฑมหาอำนาจมั่งมีทรัพย์"เกจิดังชุมพร เตรียมตัวจับจอง"สำเภา2"หลวงปู่บุดดา

"จับชีพจรวงการพระ"กับ"นายขุนโหร" ประจำวันจันทร์ที่ 19 ก.ค. 2564 ...วันนี้ในอดีต เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพิธีหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร...@วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร

หนึ่งในพิมพ์เหรียญยอดนิยมที่เกจิอาจารย์หลายท่านนิยมสร้างกันก็คือ "เหรียญหน้ายักษ์"หรือพิมพ์หน้าใหญ่ ซึ่งเน้นการแกะแบบให้รูปหน้าของเกจิรูปนั้นใหญ่เกือบเต็มเหรียญ และมีรายละเอียดความคมชัดให้เหมือนตัวท่านมากที่สุด หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา,หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน นครสวรรค์,หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง จ.ปราจีนบุรี,หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด จ.ระยอง ฯลฯ

ถ้าเอ่ยถึง"เหรียญหน้ายักษ์"ของเกจิรุ่นเก่าก็ต้องเหรียญหน้ายักษ์ "หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ" จ.อยุธยา ที่ระลึกสร้างศาลาปี2513 ยอดพระเกจิที่เลื่องชื่อด้านคงกระพัน มหาอุดในอดีต ท่านมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ สมัยจอมพล ป. เป็นนายก ฯ ได้ให้ความนับถือหลวงพ่อนอ อย่างยิ่งในพิธีปลุกเสกที่สำคัญต่างๆจะต้องมีชื่อของหลวงพ่อนอ แม้แต่หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ยังยกย่องในด้านความขลังของท่าน

ท่านเก่งเรื่องตะกรุดหน้าผากเสือ เคยทำถวายในหลวงรัชกาลที่9 เมื่อปี2495..ตะกรุดของท่านโด่งดังมาก ในสมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 สตางค์ แต่ตะกรุดของท่านราคา 500 บาททีเดียว ท่านมรณภาพเมื่อปีพ.ศ.2521 อายุ 86 ปี

จากเหรียญอาร์มสำเภาเศรษฐีรุ่นแรก สานต่อกระแสความศรัทธาด้วยเหรียญรุ่น"สำเภาร่ำรวยแสนล้าน" หรือ"สำเภา2" หลวงปู่บุดดา วัดป่าใต้พัฒนาราม เกจิอายุยืนแห่งสระแก้ว 111 ปี...ใครอยากร่วมไปกับสำเภาลำนี้เตรียมตัวเตรียมปัจจัยในกระเป๋าให้พร้อม!!

ด้วยความเชื่อว่าองค์พญาครุฑ เป็นจ้าวแห่งเวหาและเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู ทำให้มีผู้คนไม่น้อยที่เลื่อมใสบูชาพญาครุฑ เชื่อว่าผู้ที่บูชาพญาครุฑอย่างสม่ำเสมอ จะประสบพบเจอแต่เรื่องราวมงคลในชีวิต ร่มเย็นเป็นสุข มีอำนาจวาสนา การงานเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และยังมีอานุภาพเมตตามหานิยม ผู้คนเคารพรัก และให้ความเมตตา สำหรับคนที่ค้าขายก็เงินทองไหลมาเทมา นอกจากนี้ยังเชื่อว่าคาถาบูชาครุฑยังสามารถลบล้างอาถรรพณ์ ปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้ภูตผีหรือสัตว์ร้ายเข้ามารุกราน เพราะเกรงกลัวในอำนาจบารมีของพญาครุฑ

ปลุกเสกไปสดๆร้อนๆเมื่อวานนี้ (18 ก.ค.2564) พญาครุฑรุ่นแรก รุ่น"รวยมหาบารมี" สุดยอดเครื่องราง"หลวงพ่อรวย" วัดมาบตาพุด จ.ระยอง โดยช่วงบ่ายท่านจุดเทียนชัย นั่งปรกอธิษฐานจิต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 19 นาที 19 วินาที ก่อนดับเทียนชัยแล้วเจิมภาพวัตถุมงคล เจิมครุฑแบบช่อ มีพญาครุฑเนื้อทองแดงแช่น้ำมนต์จำนวน 800 องค์ มีการจุดประทัดถวายดังสนั่น หางประทัดได้เลข 62/943

อีกรุ่นงานคุณภาพ...ครุฑมหาอำนาจมั่งมีทรัพย์ "พระอาจารย์อำนาจ" หรือ "หลวงพ่ออำนาจ อาทิตตวัณโณ" แห่งสำนักสงฆ์เขาสามล้าน อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร พระเกจิ อาจารย์ชื่อดังผู้มากด้วยเมตตาบารมี วัตรปฏิบัติงดงาม เจ้าตำรับเครื่องรางของขลังพุทธคุณสูง ผลงานคุณภาพของ“ใหญ่ เมืองกาญจน์” เตรียมตัวสั่งจองกันได้เร็วๆนี้

ยังมีกระแสนิยมหมุนเวียนอยู่ตลอด!... เหรียญเสมาหัวสิงห์คาบดาบ รุ่นแรก ปี2561 หลวงพ่อเชย วัดกระเฉท หนึ่งในพระดีเกจิดังเมืองระยองยุคนี้ พิมพ์ทรงสวยงามตามสมัยนิยมสมศักดิ์ศรีรุ่นแรก...ใครอยากได้อยากมีไว้ครอบครองลองเข้าไปชมได้ในกลุ่มหลวงพ่อเลยครับ!

เปิดจอง....เทวศิลป์สุดล้ำค่าแห่งปีประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน"ท้าวมหาพรหม"อธิบดีแห่งมหาพรหม 5 พักตร์ 5 อริยธรรม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สู่ พระโพธิญาณ เทวลักษณะ : ตามหลักไตรภูมิพระร่วง ขนาดความสูง 45 ซ.ม. ฐานหินอ่อนแท้หนา 3.5 ซม. วัสดุ : เนื้อทองทิพย์ (brass) ทำสีพาติน่า (สีน้ำผึ้ง) วัตถุประสงค์ 1. สมทบทุนสร้าง ท้าวมหาพรหม องค์ใหญ่ สูง 379 ชม. เพื่อเคารพสักการะ 2. ปรับภูมิทัศน์ สร้างฐาน สถิตเป็น แลนด์มาร์ค (Landmark)ณ วัดอินทรวิทาร บางขุนพรหม พระนคร กทม. สร้างตามจำนวนสั่งจอง เท่านั้น (จอง 1 เดือน 18 กค.- 18 สค.64) องค์ละ 29,999 บาท สั่งจองได้ที่ : วัดอินทรวิหาร สะพานพระราม 8 กทม. หรือศูนย์จอง เสก ศิลปะไทย Sake Thai Art Gallery สอบถาม โทร.0-2282-3173

ปิดท้ายเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาวันที่ 24-25 ก.ค 2564 วัดพระธาตุพนม ขอเชิญร่วมบุญถวายเทียนบูชาองค์พระธาตุพนมประจำปี 2564 จำนวน 999 คู่ เป็นเจ้าภาพบูชาคู่ละ 99 บาท ณ ลานหน้าองค์พระธาตุพนม ร่วมบุญถวายเทียน ผ่านธ.กรุงไทย บัญชี วัดพระธาตุพนม 885-0-01882-7...สวัสดี

"นายขุนโหร










ดู 115 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page