top of page
ค้นหา

คอลัมน์ จับชีพจรวงการพระ ประจำวันหยุดสุดสัปดาห์ วันที่ 3-4 ก.ค. 2564

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 3 ก.ค. 2564
  • ยาว 1 นาที

คอลัมน์ จับชีพจรวงการพระ ของดี-ราคาเบา"พระกรุวัดใหม่ปากบาง" "พ่อยิด-ปู่นน" เกจิ2พี่น้องเสกปลัดขิกบินได้ วัดรางหมันแจ้งข่าวศิษย์-งดกิจที่กุฏิหลวงปู่แผ้ว "ชีวิตจริงไม่ใช่ความฝัน เพราะฉะนั้น...ฝันกลางวันไม่ได้ทำให้รวย"...ข้อคิดคำคมประจำวัน

"จับชีพจรวงการพระ"กับ"นายขุนโหร" ประจำวันหยุดสุดสัปดาห์ วันที่ 3-4 ก.ค. 2564 ...วันนี้ในอดีต...@วันที่ 3 กรกฎา คม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554: พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"เป็นว่าที่นา ยกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย...@วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844)–บางกอกรีคอเดอ(Bangkok Recorder) หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยออกวางจำหน่าย

เห็นข่าวโควิด19 แต่ละวัน ก็ได้แต่ภาวนาให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกช่วยขจัดปัดเป่าเจ้าไวรัสร้ายให้มลายสิ้นไปในเร็ววัน ที่สำคัญ ทุกคนต้องไม่ประมาท การ์ดอย่าตก อย่าเพิ่งเดินทางไปไหนถ้าไม่จำเป็น ให้เน้น"เที่ยวทิพย์" กันครับ.. ส่วนใครอยากกราบไหว้เกจิอาจารย์ดังรูปใด ก็ใช้การ"ไหว้ทิพย์" ไปก่อนนะครับ!

หนึ่งเดียวในเมืองไทย...รูปหล่อสมเด็จโต ปางจับยามสามตา อายุกว่า 150 ปี ประดิษฐานอยู่คู่วัดโล่ห์สุทธาวาส อ.เมือง จ.อ่างทอง โดยพระครูนิเทศธรรมรส หรือหลวงพ่อไพฑูรย์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า วัดแห่งนี้สร้างโดย "ย่าโล่" เศรษฐีในตลาดอ่างทองได้ไปนิมนต์สมเด็จโตให้ดูสถานที่ที่จะสร้างวัด ซึ่งในช่วงนั้นท่านมาสร้างพระมหาพุทธพิมพ์อยู่ที่วัดไชโยวรวิหาร หลังจากได้รับการนิมนต์มาสมเด็จโตก็ได้นั่งจับยามสามตา หาดูฤกษ์ยามให้ เมื่อสร้างวัดเสร็จ ย่าโล่ขออนุญาตจัดสร้างรูปหล่อนั่งจับยามสามตา หรือที่รู้จักในชื่อของปางดูดวง เพื่อประดิษฐานไว้ที่วัด พุทธศาสนิกชนที่เดินทางมานี่ต่างก็มากราบขอพร ใครปรารถนาสิ่งใด ถ้าไม่เกินบุญวาสนาของตัวเองก็จะสำเร็จ และเมื่อสำเร็จก็นำไข่ต้มมาแก้บน...

แนะนำ.. พระดี-ราคาเบา-พระเก่าน่าใช้ ประสบการณ์ดีด้านเมตตา-โชคลาภ-แคล้วคลาด "พระกรุวัดใหม่ปากบาง" อ. มหาราช จ.พระนคร ศรีอยุธยา จัดสร้างและบบรจุไว้ในเจดีย์โดย "หลวงพ่อทรัพย์" อดีตเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2430 ต่อมาประมาณปีพ.ศ.2498 ถูกขโมยเจาะเจดีย์ พระเครื่องส่วนหนึ่งจึงออกมาสู่สายตานักสะสมพระที่ออกจากกรุครั้งนี้เรียกกันว่า "พระกรุเก่า" ซึ่งเนื้อพระจะไม่ค่อยมีขี้กรุจับ เนื้อพระหนึกนุ่มประเภทเนื้อจัด หลังจากนั้นมีการแอบเข้าไปขุดพระกันอีกจนในที่สุดปี พ.ศ.2510 พระครูสถิตธรรมโสภิต เจ้าอาวาสในสมัยนั้นตัดสินใจเปิดกรุนำพระออกมาและนำไปรักษาไว้ได้พระประมาณ 2,000 องค์ เรียกกันว่า"พระกรุใหม่" เนื่องจากเป็นการเปิดครั้งสุดท้าย พระที่พบส่วนมากจะมีขี้กรุจับที่ผิวพระเป็นคราบสีเหลืองๆ มีเม็ดผุดขึ้นตามผิวพระ บางองค์ก็จะเห็นเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระคล้ายพระกรุวัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี

พิมพ์ของพระเท่าที่แยกได้มี พระพิมพ์ยืนประทานอภัย พระพิมพ์ลีลา พระพิมพ์นางกลีบบัว พระพิมพ์นางพญาแบบสามหลี่ยม พระพิมพ์เล็บมือ มีทั้งฐานชั้นเดียวและสามชั้น หลังเปิดกรุทางวัดให้เช่าบูชาองค์ละ 100 บาท พอพระหมดไปจากวัด ราคาก็ขยับขึ้นไปเป็น 400- 500 บาท และเป็นหลักพันในที่สุด

พระเกจิพี่น้องที่มีชื่อเสียงโด่งดังมีอยู่หลายท่าน อย่างในจ.พระนครศรีอยุธยาก็มีหลวงพ่อจง พุทธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระพี่ชายของหลวงพ่อนิล ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน

ในจ.เพชรบุรีก็มี หลวงพ่อแดง อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ และหลวงพ่อเจริญ อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ โดยหลวงพ่อแดงเป็นพี่ หลวงพ่อเจริญเป็นน้องอ่อนกว่า5ปี ท่านออกเหรียญคู่กันเมื่อปี2512 สุดยอดพระเกจิสองพี่น้องร่วมกันปลุกเสกจนเกิดเสียงครืนๆในขณะทำพิธีจนผู้เข้าร่วมรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจนเป็นที่มาของชื่อรุ่นว่า "โบสถ์ลั่น"

เกจิพี่น้องเมืองประจวบคีรีขันธ์ที่ปัจจุบันองค์พี่ละสังขารไปแล้วคือ "หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองจอก ส่วนองค์น้องที่ยังมีชีวิตอยู่คือ "หลวงปู่นน จันทวโร" สำนักสงฆ์เขาพรานธูป น้องชายแท้ๆที่เก่งไม่แพ้กัน เพราะท่านทั้งคู่มีวิชาอาคมขลัง สามารถเสกเครื่องรางอย่าง"ปลัดขิก"จนบินได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาสานุศิษย์ สำหรับหลวงพ่อยิด วัตถุมงคลของท่านยังฮอตฮิตติดอันดับความนิยมตลอดกาล

ส่วนหลวงปู่นนนับว่าเป็นเกจิอาวุโสอันดับต้นๆของประจวบคีรีขันธ์ พระเครื่องของท่านประสบการณ์ดีไม่แพ้พระพี่ชาย รุ่นล่าสุดคือ พระปิดตาทรงเครื่องกนกข้าง รุ่นมั่งคั่ง93 อัดแน่นด้วยมวลสาร-ว่านมงคล ผงศักดิ์สิทธิ์ มากมาย แถมพิมพ์ทรงองค์พระก็งดงามลงตัว...ใครชอบพระปิดตาสายเมตตาก็อย่านิ่งดูดาย...จัดไปอย่าให้ช้า!!

ส่วนพระเกจิ2ท่านนี้...หลวงปู่โสฬส ยโสธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกอู่ทอง อ.ประจันต คาม จ.ปราจีนบุรี และหลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าใต้พัฒนาราม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว แม้ท่านไม่ใช่พี่น้องโดยสายเลือด แต่ก็เปรียบเสมือนศิษย์พี่ศิษย์น้อง เพราะเติบโตมาด้วยกัน ดื่มนมจากแม่นมคนเดียว กัน,เรียนหนังสือมาด้วยกัน,บวชเรียนในพระอุปัชฌาย์เดียวกัน อีกทั้งศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชาการต่างๆในสำนักเดียวกัน

วัดสว่างชาติประชาบำรุง หรือ"วัดรางหมัน" อ.กำแพง แสน จ.นครปฐม แจ้งข่าวถึงศิษยานุศิษย์หลวงปู่แผ้ว ปวโร ทุกท่านทราบ ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2564 ที่กุฏิหลวงปู่ งดรับถวายภัตตาหาร สังฆทาน ทำบุญทุกอย่างสักระยะ เนื่องจากห่วงความปลอดภัยหลวงปู่ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ส่วนที่วัดเปิดทำบุญตามปกติ

หลวงปู่แผ้วท่านเป็นประธานสงฆ์วัดรางหมัน สมญานาม"เทพเจ้าแห่งกำแพงแสน" ปัจจุบันอายุย่าง99 ปี บวชมานานถึง 79 พรรษา แม้สุขภาพจะทรุดโทรมตามกาลเวลา แต่ท่านยังเมตตารับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่

ย้อนไปในช่วงกระแสจตุคามรามเทพครองเมือง พื้นที่ริมสองข้างถนนเต็มไปด้วยป้ายโฆษณาจัดสร้างของวัดและสำนักต่างๆ และภาพของหลวงปู่แผ้วมักปรากฏอยู่ในป้ายโฆณาวัตถุมงคล โดยเฉพาะป้ายโฆษณาในจ.นครปฐมและใกล้เคียง จนมีคำกล่าวว่า "วัตถุมงคลรุ่นใด หรือวัดใดสร้างแล้วไม่นิมนต์หลวงปู่แผ้วไปนั่งปรกแล้วจะได้รับความนิยมน้อยกว่ารุ่นที่หลวงปู่แผ้วไปนั่งปรก" . คำกล่าวนี้บ่งชี้ได้ว่า หลวงปู่แผ้วเป็นพระสงฆ์ผู้ผ่องแผ้วสมชื่อ จิตของท่านบริสุทธิ์จนบังเกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่คู่สิ่งมงคล...สวัสดี

"นายขุนโหร"











 
 
 

コメント


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page