พระกริ่งชินบัญชรรุ่นไตรมาสเกจิดัง “หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร”เตรียมนำเข้าพิธีพุทธาเทวาภิเษก
- อ.อนุชา ทรงศิริ
- 20 ต.ค. 2564
- ยาว 2 นาที
พระกริ่งชินบัญชรรุ่นไตรมาส เกจิดัง “หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร” เตรียมนำเข้าพิธีพุทธาเทวาภิเษก วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564 ณ มณฑลพิธีวัดป่าใต้พัฒนาราม จ.สระแก้ว
การจัดสร้าง พระกริ่ง ชินบัญชร รุ่นไตรมาส ในนาม หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร วัดป่าใต้พัฒนาราม บ้านเหนือ ตำบลโนนหมากเค็ง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พระเกจิคณาจารย์ผู้เฒ่าแห่งเมืองสระแก้ว ถือเป็นการจัดสร้าง พระกริ่ง ไตรมาส รุ่นแรก นับเป็นการจัดสร้าง พระกริ่ง รุ่น ๓ ที่ต้องการสร้างขึ้นให้เป็นตำนานเก็บไว้ให้ลูกหลาน อนุชนคนรุ่นหลัง ได้บอกกล่าวเล่าขาน ต่อเนื่องเชื่องโยงมาจาก พระกริ่ง ปญฺญาธโร เสาร์ห้า มหาเศรษฐี จัดสร้างใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พระกริ่ง จักรพรรดิ จัดสร้างใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เพราะนับต่อจากนี้ไป ตำนาน พระกริ่ง แห่งสยามประเทศ จะมีเรื่องราว ความเป็นมาต่างๆ ในการจัดสร้าง พระกริ่ง ในนาม หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร ถูกบันทึกเก็บรักษาไว้รวมอยู่ด้วย จึงมิใช่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่เชื่อกันว่า การจัดสร้าง พระกริ่ง มีต้นตำรับมาจาก สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในรัชสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามที่อ้างอิงสืบต่อกันมาถึง สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว สมเด็จพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี กรุงศรีอยุธยา เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายตำนานที่กล่าวถึงกันว่า การจัดสร้าง พระกริ่ง มีคติธรรมนิยมทางความเชื่อกล่าวอ้างอิงว่า ตำรา การจัดสร้าง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระบูชา และ บาตรน้ำพระพุทธมนต์ นั้น มีต้นกำเนิดเกิดจาก พระพุทธศาสนาข้างฝ่ายมหายาน ลัทธิวัชระยาน หรือ มันตรยาน ประเทศจีน และ การจัดสร้าง พระกริ่ง ประเทศเขมร ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก หมู่เกาะสุมาตรา ยืนยันตามหลักฐานมหาเจดีย์บุโรพุทโธ ที่ปรากฏรูปแกะสลัก พระโพธิสัตว์เจ้า หรือ มนุษยพระพุทธเจ้า การจัดสร้าง พระกริ่ง ชินบัญชร รุ่นไตรมาส ในนาม หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร เป็นการจัดสร้างตามเจตคติความนิยมตามแบบอย่าง พระกริ่ง ชินบัญชร ที่เป็นองค์ปฐมบทการจัดสร้าง พระกริ่ง ชินบัญชร มาจาก พระครูภาวนาภิรัต หรือ ที่ทราบกันดี โดยทั่วไป หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ในยุคกลางของสยามประเทศ พระพุทธลักษณะ พระกริ่ง ชินบัญชร จัดสร้างในนาม หลวงปู่ทิม อิสริโก พระพุทธศิลปะร่วมสมัยที่มีอิทธิมาจากการถอดแบบล้อพิมพ์ กริ่งจีนใหญ่ ที่เป็นพระกริ่งนอก (ประเทศไทย) นิยมเรียกกันว่า พระกริ่งจีนนอก ที่มีพระพุทธลักษณะได้สัดส่วนรูปทรง พระสรีระที่มีความสวยงาม พระเศียรกลมนูนโต พระพักตร์อิ่มเอิบ พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่เป็นแบบตุ๊กตาจีน หรือ เทพเจ้าจีน คือ พระเนตรดังจันทร์เสี้ยว พระนาสิกดังผลลูกท้อ พระโอษฐ์ดังท้องสำเภาจีน พระขนง สั้นเชิดขึ้นต่อเนื่องกับพระนาสิก พระเกศแก้วโมลีเป็นทรงพุ่ม ๓ ชั้น ระหว่างพระเกศแก้วโมลีชั้นที่ล่าง และ ชั้นสอง ประดับแซมด้วยพระจันทร์ครึ่งดวง เม็ดพระศกเป็นตุ้มนูน พระพุทธลักษณะ ดังนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีใน พระกริ่งจีนใหญ่ ถือเป็นพระพุทธศิลป์นิยมที่เผยแพร่ใน ประเทศจีน ประเทศทิเบต เจริญรุ่งเรืองในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง ณ เมืองซัวไซ ประเทศจีน
ประมาณ ๑,๓๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว การจัดสร้างพระกริ่ง นี้ ปรากฏในพระสูตร " พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูล ประณิธานสูตร " ซึ่งมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๐ พรรณนากล่าวถึง อานิสงส์ในการสักการบูชา พระพุทธไภษัชยคุรุ ดังนี้ " ผู้ใดก็ดี ได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใส แล้วจักเจริญด้วยพิพิธพรชัย ๔ ประการ ได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากโทษภัยอันตราย ไม่นอนหลับฝันร้าย ศาสตราอาวุธทำอันตรายมิได้ สัตว์ร้ายทำอันตรายมิได้โจรภัยทำอันตรายมิได้ ยาพิษทำอันตรายมิได้ พิษไฟทำอันตรายมิได้ ฯ " การจัดสร้าง พระกริ่ง ชินบัญชร รุ่นไตรมาส ในนาม หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร ได้รวบรวมแผ่นโลหะเรียกสูตรแม่บท แม่ธาตุ ลงเหล็กจาร ขีดลากเส้นสายลายยันต์ เรียกสูตรลงพระอักขระคาถาใน ๒๐ องค์ยันต์ ๑๐๘ แผ่น ๑๔ นะวิเศษ ๑๐๘ แผ่น ตามสูตรการจัดสร้าง สายสำนักวัดสุทัศนเทพวราราม ได้แก่ ๑. ยันต์ปทุมจักร จำนวน ๕ แผ่น ๒. ยันต์ภคัมบดี จำนวน ๕ แผ่น ๓. ยันต์ไตรสรณคมน์ จำนวน ๓ แผ่น ๔. ยันต์นวโลกุตตรธรรม จำนวน ๑ แผ่น ๕. ยันต์พระนรา จำนวน ๕ แผ่น ๖. ยันต์จตุราริยสัจจ์ จำนวน ๒ แผ่น ๗. ยันต์พระรัตนตรัย จำนวน ๑ แผ่น ๘. ยันต์พระจักรสิรโลก จำนวน ๙ แผ่น ๙. ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า จำนวน ๑ แผ่น ๑๐. ยันต์บารมี ๓๐ ทัศ จำนวน ๒ แผ่น ๑๑. ยันต์สุกิตติมา จำนวน ๒ แผ่น ๑๒. ยันต์ปถมังพระเจ้า ๕ พระองค์ จำนวน ๕ แผ่น ๑๓. ยันต์องครักษ์ จำนวน ๔ แผ่น ๑๔. ยันต์โสฬสมงคล จำนวน ๑ แผ่น ๑๕. ยันต์พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ จำนวน ๒๘ แผ่น ๑๖. ยันต์ฆะเฏสิ จำนวน ๑ แผ่น ๑๗. ยันต์พระพุทธคุณ จำนวน ๗ แผ่น ๑๘. ยันต์นวภา จำนวน ๒๕ แผ่น ๑๙. ยันต์ชฎามหาพรหม จำนวน ๑ แผ่น ๒๐. ยันต์จตุโร จำนวน ๑ แผ่น
สำหรับแผ่นทองที่เรียกสูตรลงพระอักขระคาถากำกับ นะปถมัง ๑๔ นะวิเศษ ไม่ได้กำหนดจำนวนแผ่น แต่รวมแล้วควรมี จำนวน ๑๐๘ แผ่น ดังนี้ ๑. นะบังสมุทร ๒. นะนาคบาศก์ ๓. นะวชิราวุธ ๔. นะทน ๕. นะกำจาย ๖. นะปรีชาทุกทิศ ๗. นะครอบจักรวาล ๘. นะบังไตรภพ ๙. นะบังเมฆา ๑๐. นะสท้านแผ่นดินไหว ๑๑. นะกำจัด ๑๒. นะปิด ๑๓. นะปิดอากาศ ๑๔. นะล้อม การจัดสร้าง พระกริ่ง ชินบัญชร รุ่นไตรมาส ในนาม หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร ถือเป็น พระกริ่ง รุ่นแรก ที่ประกอบพิธีการปลุกเสกเดี่ยวโดย หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร ครบถ้วนจบในหนึ่งไตรมาส เป็นระยะเวลานาน ๓ เดือน จึงได้รวบรวมช่อชนวนสายสูตรที่เป็นกระสายเชื้อเนื้อโลหะ พระกริ่ง ชินบัญชร - พระกริ่ง จักรพรรดิ - พระกริ่ง รวยทันใจ - พระกริ่ง มงคลมหาเศรษฐี รวมถึง เนื้อโลหะน้ำทองล้นบล็อกแม่พิมพ์จาก พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ - พระพุทธรูป ที่จัดสร้างในนาม พระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศ และ ที่สำคัญที่สุดจะขาดไม่ได้ คือ แผ่นจารพระอักขระคาถาชินบัญชรเต็มบท และ พระคาถาหัวใจชินบัญชร ๑๐๘ แผ่น พระกริ่ง ชินบัญชร รุ่นไตรมาส หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร นั้น ได้ปรับพระพักตร์ให้เป็นแบบทรงผลมะตูมหน้าอินเดีย มีความอ่อนหวานทรงพรหมวิหารธรรม คือ เมตตาธรรม กรุณาธรรม มุทิตาธรรม อุเบกขาธรรม พิจารณาที่พระเนตรเป็นเส้นลึกเฉียงขึ้นบน พระนาสิกโด่งนูนเป็นสันตรงปลายขยายบาน ทรงประทับนั่งบนดอกบัว ๒ ชั้น หรือ ดอกบัวคว่ำบัวหงาย ๗ กลีบ อันหมายถึง พระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธชินสีห์บรมนาถบพิตร ในการสถาปนาพระอนุตตรสัมโพธิญาณ โพชฌงค์ ๗ ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ การหล่อหลอมเททอง พระกริ่งชินบัญชร รุ่นไตรมาส หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร เป็นแบบก้นถ้วยช่อชนวน ๒ รู ที่ขอบฐานองค์พระ การหล่อหลอมเททองแบบหล่อก้นกลวง บรรจุเม็ดกริ่งแล้วจึงเข้าลิ่มปิดก้นองค์พระด้วยแผ่นโลหะ ตกแต่งให้เสมอฐานองค์พระ แล้วเชื่อมยึดติดอีกครั้งหนึ่ง ที่ถือเป็นงานช่างหลอมหล่อพระกริ่งที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่าการหล่อแบบก้นตัน แล้วเจาะรูสำหรับอุดเม็ดกริ่ง ตอกอุดปิดรูด้วยฝาปิด การจัดสร้าง พระกริ่ง ชินบัญชร รุ่นไตรมาส ในนาม หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร ในส่วนที่เป็น ชุดนำฤกษ์ ยอดจองเต็มหมด ครบทุกรายการ เพราะมีจำนวนในการจัดสร้างน้อยมาก เพียงพอแบบพอเพียง สร้างให้เป็นตำนาน มิได้สร้างกะให้ร่ำรวย แต่ในส่วนที่เป็นการเปิดจองแบบลุ้นเนื้อโลหะ ลุ้นหมายเลขลำดับกำกับองค์พระ ในเวลานี้ ยอดจองรายการลุ้นโชคยังไม่เต็ม ยังพอที่จะแบ่งปันกันได้ สนใจสามารถติดต่อโดยตรงกับ ทีมงานเจริญพร นำโดย facebook โก้ ขุนแผน โทร 089 772 6912 facebook มัตติกา พระใหม่ โทร 097 047 1028 หรือ สายบุญ สะพานบุญ ที่เชื่อมต่อถึงกันในกลุ่มเฟซบุ๊ก สายบุญ หลวงปู่บุดดา ปญฺญาธโร



Comments