top of page
ค้นหา

"ย้อนรอยเกจิดัง" ประจำวันอาทิตย์ที่ 11 มิ.ย. 2566 "หลวงปู่กุหลาบ ธมฺมวิริโย"เกจิดังเมืองนนท์

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 11 มิ.ย. 2566
  • ยาว 1 นาที

"ย้อนรอยเกจิดัง"

ประจำวันอาทิตย์ที่ 11 มิ.ย. 2566

"หลวงปู่กุหลาบ ธมฺมวิริโย"เกจิดังเมืองนนท์

ศิษย์สมเด็จ(นวม)/สายพุทธาคมวัดสพานสูง

อาจารย์"หลวงพ่ออ่าง"วัดใหญ่สว่างอารมณ์

"ย้อนรอยเกจิดัง"อาทิตย์นี้ขอนำเสนอประวัติ

พระนันทวิริยาจารย์ หรือ"หลวงปู่กุหลาบ ธมฺมวิริโย" อดีตเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ด อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่สว่างอารมณ์ ต.อ้อมเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ศิษย์สายสมเด็จพุฒาจารย์(นวม พุทธสโร) อดีตเจ้าอาวาส วัดอนงคาราม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ศิษย์หลวงปู่ช่วง อดีตเกจิดังวัดบางแพรกใต้ และหลวงปู่สุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี

ชาติภูมิของหลวงปู่กุหลาบเป็นชาวจังหวัดนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2443 ที่บ้านเลขที่ 10 หมู่2 ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี บิดาชื่อนายชุ่ม มารดาชื่อนางเปีย นามสกุล"รักเดช" มีพี่น้องร่วมท้อง5คน

วัยเยาว์เรียนหนังสือจบชั้นประถมฯที่วัดละหาร .บางบัวทอง เมื่ออายุครบ 11 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระครูธรรมโสภิต(เปลื้อง) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เรียนจนจบชั้นมัธยมปีที่1 แล้วย้ายไปพำนักอยู่วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ ศึกษาร่ำเรียนพระธรรมวินัยอยู่กับ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโร)"

เมื่ออายุครบ 21 ปี จึงเดินทางกลับมาอุปสมบทอีกครั้งที่วัดละหาร จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 21เมษายน พ.ศ.2463 โดยมีพระครูนนทวุฒาจารย์ (หลวงปู่ช่วง) วัดบางแพรกใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อต่วน วัดละหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อชุ่ม วัดประชารังสรรค์(วัดหญ้าไทร) อ.เมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จากนั้นจึงกลับไปพำนักแบะเรรยนพระธรรมวินัยที่วัดอนงคารามตามเดิม

ในสมัยที่หลวงปู่กุหลาบพำนักอยู่วัดอนงคาราม ท่านเล่าเรียนทางธรรมจนสิบได้นักธรรมชั่นตรีและชั้นโท อีกทั้งเคยได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงพระธรรมเทศนาในพระราชวังอยู่เสมอ

ที่สำคัญ ทุกครั้งที่สมเด็จพุฒาจารย์(นวม) ติดธุระไม่อยู่วัด เมื่อมีใครเจ็บไข้ หรือเดือดร้อนสิ่งใดมา ท่านก็ช่วยแก้ไขรักษาให้แทนทุกครั้ง อีกทั้งบางครั้งคราว สมเด็จฯ (นวม) ยังให้ท่านถือพัศยศของสมเด็จฯ ไปนั่งร่วมพิธีแทนกับพระเถราจารย์รูปอื่นๆในบางครั้ง

หลวงปู่กุหลาบท่านเป็นประธานพิธีปลุกเสกพระเครื่องพิธีใหญ่ๆในจังหวัดนนทบุรีในยุคราวปีพ.ศ. 2500 เกือบทั้งสิ้น อาทิ การสร้างเหรียญทุกรุ่นของหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ทั้ง "บล็อกเอื่อม" , "บล็อกเอี่ยม" , "ข้าวหลามตัดยันต์เล็ก /ยันต์ใหญ่" เป็นต้น

บางพิธีปลุกเสกพระเครื่องนั้น หลวงปู่กุหลาบนั่งถัดจากหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง เพียงไม่กีรูปเท่านั้น โดยท่านได้รับมอบตำราการทำผงพุทธคุณ ตะกรุด และยันต์ต่างๆของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง มาจากหลวงปู่กลิ่น เมื่อวันที่27 ตุลาคม พ.ศ.2489 ถัดมาอีกปีหลวงปู่กลิ่นท่านก็ละสังขาร

ตำราอีกเล่มที่มีความสำคัญมากคือ ตำราปลุกเสกหนุมานของหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน ที่หลวงปู่กุหลาบได้ไปร่ำเรียนมา และตำราอื่นๆอีกเช่น ตำราหลวงพ่อต่วน วัดละหาร, ตำราหลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ ฯลฯ

หลวงปู่กุหลาบท่านรับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่สว่างอารมณ์ในปีพ.ศ.2472 ซึ่งในขณะนั้น วัดใหญ่สว่างอารมณ์ยังเป็นวัดเล็กๆ ในต่างจังหวัดที่รอการพัฒนา โดยท่านตัดสินใจละทิ้งยศฐาบรรดาศักดิ์จากกรุงเทพฯ ซึ่งหากท่านยังอยู่วัดอนงค์ ก็ต้องได้ดำรงยศฐาบรรดาศักดิ์ในชั้นสูงต่อไปอย่างแน่นอน แต่ท่านก็เลือกมาตรากตรำพัฒนาวัดใหญ่สว่างอารมณ์ จน ความเจริญรุ่งเรือง โดยมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ตลอดจนเกจิฯ ชื่อดังในยุคนั้นแวะมาเยี่ยมเยียนเป็นประจำ อาทิ สมเด็จพระสังฆราช และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ฯลฯ

ด้านสมณศักดิ์ ปี2489 เป็นพระครูชั้นโทในราชทินนาม "พระครูนันทาภิวัฒน์" ปี2492 เลื่อนเป็นชั้นเอกในราชทินนามเดิม จากนั้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2500 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระนันทวิริยาจารย์"

ในการสร้างพระเครื่องนั้น ท่านสร้างไว้มากมายหลายรุ่น ที่พบเห็นบ่อยๆ ก็จะเป็นพระลอย , เหรียญรุ่นต่างๆ และพระนาคปรกใบมะขาม ซึ่งท่านมักจะลงเหล็กจารเล็กๆ ไว้ที่ด้านหลังขององค์พระ ซึ่งรอยจารที่ปรากฏนั้นมีขนาดเล็กมาก (พระปรกใบมะขาม ท่านบรรจุอักขระจารไว้ถึง 4 ตัวอักษร)

ขณะที่ท่านจารอักขระ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้ฟังว่า ท่านมิได้มองเหรียญแต่อย่างใด ท่านจะปรกหลับตาเฉยๆ เหล็กจารก็อยู่นิ่งๆ แต่เกิดเป็นรอยจารที่มีเส้นที่คมแน่วแน่ ไม่สั่นคลอน แสดงให้เห็นถึงกสิณที่ไม่ธรรมดา

วัตถุมงคลของท่านมีทั้งหมดเพียง 15 รุ่น แต่ละรุ่น หายากบ้าง ง่ายบ้างแล้วแต่ความนิยมและประสบการณ์ มีมูลค่าตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น แต่กล่าวขานกันว่า มีพุทธคุณดีครบเครื่องทุกรุ่น

วาระสุดท้ายหลวงปู่กุหลาบ ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 สิริอายุ76 ปี

สำหรับศิษย์เอกผู้สืบทอดพุทธาคมของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบันก็คือ พระนันทวิริยาจารย์ หรือ"หลวงพ่ออ่าง สิริจนฺโท เจ้าคณะตำบลอ้อมเกร็ด เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันวัดใหญ่สว่างอารมณ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พระเกจิผู้คงแก่เรียนวิชาอาคมและยังเป็นศูนย์รวมตำราสรรพวิชาต่างๆในสายเกจิจังหวัดนนทบุรีไว้มากที่สุด อาทิ ตำรา"หลวงปู่สุ่น วัดศาลากุน,หลวงปู่เอี่ยม วัดสพานสูง,หลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้ ฯลฯ ซึ่งท่านได้รีบมอบจากหลวงปู่กุหลาบให้เก็บรักษาไว้

อีกทั้งเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page