top of page
ค้นหา

"ย้อนรอยเกจิดัง" ประจำวันอาทิตย์ที่ 7 มิ.ย. 2567 "หลวงปู่ตี๋"วัดเขาเขียวฯ"จี้กง"เมืองสุพรรณ ศิษย์สายตรงพ่ออิ่ม/พ่อมุ่ย/พ่อกวย/ปู่ทิม

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 7 เม.ย. 2567
  • ยาว 2 นาที

"ย้อนรอยเกจิดัง"

ประจำวันอาทิตย์ที่ 7 มิ.ย. 2567

"หลวงปู่ตี๋"วัดเขาเขียวฯ"จี้กง"เมืองสุพรรณ

ศิษย์สายตรงพ่ออิ่ม/พ่อมุ่ย/พ่อกวย/ปู่ทิม

"พระอาจารย์ปฐวี(ตู่)ศิษย์เอกรูปสุดท้าย

"ย้อนรอยเกจิดัง"อาทิตย์นี้ขอนำเสนอประวัติ

"พระอธิการวิทยา ฉันทธัมโม" หรือ

"หลวงปู่ตี๋" สมญานาม "จี้กงจอมขมังเวทย์แห่งสุพรรณ" เจ้าอาวาสวัดเขาเขียวพนาราม

ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา,หลวงพ่อมุ่ย ,หลวงพ่อกวย,หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่,หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ,หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ

ชาติภูมิท่านเป็นชาวสุพรรณโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ณ บ้านท่าน้ำตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช เป็นบุตรของนายห้อย นางกิมบี้ นามสกุล น้ำดอกไม้" มีพี่น้องทั้งหมด ๔ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๑ คน ท่านเป็นบุตรคนโต

ในวัยเด็กโยมพ่อท่านเป็นช่างก่อสร้างมณฑปบนยอดเขาวัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช และเมื่อตอนสร้างมณฑปนั้นได้นำท่านติดตามไปด้วยตลอด และหลวงพ่ออิ่ม เจ้าอาวาสวัดหัวเขาได้เห็นเข้า จึงเมตตาเลี้ยงดูให้ในขณะที่โยมพ่อทำงาน หลวงพ่ออิ่มได้ป้อนข้าวป้อนน้ำเลี้ยงท่านเปรียบเสมือนลูกในไส้ โดยดูดวงชะตาแล้วทราบว่า ในอนาคตเด็กคนนี้ต้องบวชไม่สึก และจะเป็นกำลังสำคัญในพระพุทธศาสนา ท่านจึงมอบตำราวิชาอาคม 1 เล่มให้กับโยมพ่อของหลวงปู่ตี๋เก็บรักษาเอาไว้ให้ท่านตอนโต ก่อนที่หลวงพ่ออิ่มจะมรณภาพ

เมื่ออายุ ๑๕ ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร และเริ่มเรียนวิชาต่างๆจากตำราของหลวงพ่ออิ่ม ที่โยมพ่อเก็บรักษาเอาไว้จนแตกฉาน จวบจนอายุ ๒๐ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาพระ อ.เดิมบางนางบวช เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมี พระครูอเนกคุณากร (หลวงปู่แขก) วัดหัวเขา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พิณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ไสว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบทได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวเขา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมจากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม ดังนั้นหลวงปู่แขกจึงป็นอาจารย์องค์แรกของท่านจนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จึงกราบลาหลวงปู่แขก มาศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ศิษย์เอกหลวงพ่ออิ่มเพื่อเป็นการรวบรวมตำราของหลวงพ่ออิ่มที่หลวงพ่อมุ่ยมีอยู่เอาไว้ โดยเดินทางไปๆมาๆอยู่หลายปี จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๐๕จึงเรียนจบ พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกระเสียว ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

หลวงปู่ตี๋ท่านชอบธุดงค์เป็นประจำ ช่วงชีวิตของท่านถือธุดงค์มาเกือบ ๔๐ ปี ในระหว่างที่อยู่วัดกระเสียวได้ออกธุดงค์เสมอๆ ครั้งหนึ่งท่านออกธุดงค์ไปทางภาคตะวันออก และได้พบกับหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยองเป็นครั้งแรก หลังธุดงค์กลับมาวัดกระเสียวได้ระยะหนึ่ง จึงกลับไปร่ำเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ เป็นเวลา ๑ พรรษา ได้วิชาทำผงพรายกุมาร การเสกผง และวิธีการปลุกเสกพระเครื่อง

หลวงปู่ตี๋ท่านมาเรียนกับหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท หลายครั้ง และหลวงพ่อกวยมักจะจูงมือหลวงปู่ตี๋เข้าไปเรียนในกุฏิแบบตัวต่อตัวตลอด วิชาที่ท่านเรียนก็คือ วิชาทำปลัดขิก, ตะกรุด, หนุมาน และวิชาอื่นๆอีกมากมาย และวิชาหนึ่งที่หลวงปู่ตี๋ท่านสำเร็จเป็นเลิศและศิษย์หลวงพ่อกวยทุกท่านต่างทราบดีและยกย่องท่านนั้นก็คือ วิชาตัวเบา สามารถนั่งและเดินบนผิวน้ำได้ อีกวิชาที่ท่านสำเร็จและขึ้นชื่อคือ วิชามือยาวรอดรูดาน สามารถหยิบสิ่งของไกลๆ และมีช่องเล็กๆได้

หลวงปู่ตี๋ท่านมีความสนใจในวิชาอาคมและวิชาต่างๆมาก ซึ่งคนโบราณเรียกว่า “คงแก่เรียน” จึงได้พยายามเสาะแสวงหาพระอาจารย์เก่งๆและเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เพิ่มเติมอยู่เสมอ อาทิ หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท ท่านได้วิชาย่นระยะทาง และกำบัง ส่วนหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ จ.สิงห์บุรี นั้นท่านได้วิชาแป้งเสก

ท่านออกจากวัดกระเสียวขณะที่เป็นเจ้าอาวาสและธุดงค์เรื่อยๆ เพื่อจะไปเรียนวิชาต่อกับหลวงพ่อกวย จนมาเจอวัดเขาเขียวพนาราม อ.เดิมบางนางบวช ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้าง และมีโรงเรียนร้าง ท่านจึงตัดสินใจที่อยู่ที่นั่น แต่ท่านต้องสู้กับเจ้าพ่อเขาเขียว (เจ้าที่) ที่ไม่ยอมให้ท่านสร้างวัดที่นั่น ตอนนั้นเวลานอนท่านยังนอนในกลดเช่นเดียวกับลูกศิษย์

คืนที่โดนเจ้าที่ลองก็คือ มีฝูงวัวควายวิ่งกันฝุ่นตลบนอกกลดจะเข้ามาทำร้ายท่านกับลูกศิษย์ แต่ท่านรู้จึงสั่งลูกศิษย์ว่า ตอนกลวงคืนไม่ว่ามีอะไร ห้ามออกจากกลดเด็ดขาด ถ้าจะตายก็ให้ตายด้วยกัน คืนนั้นลูกศิษย์ท่านกลัวมากและคิดว่าท่านหลับแล้วจะวิ่งออกนอกกลด แต่ท่านกระแอม ลูกศิษย์จึงมีสติและนึกถึงคำสั่งของท่านได้ เช้าวันรุ่งขึ้นมีชาวบ้านมานิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี่ และทำพิธีแบ่งเขตกันระหว่างวัดกับเจ้าพ่อเขาเขียว

ระหว่างที่ท่านอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาเขียวนั้น ท่านถูกทำร้ายอยู่หลายๆครั้ง ทำให้ลูกศิษย์ถามท่านว่า “ทำไมหลวงพ่อไม่ย้ายวัด เพราะมีหลายวัดที่อยากได้หลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่” แต่ท่านกลับบอกว่า “ต้องการใช้กรรมให้หมดในชาตินี้ ไม่ต้องการใช้กรรมนี้ในชาติต่อไป”

ตอนที่ท่านโดนทำร้าย บางคนใช้มีดฟันศีรษะท่านเลย ลูกศิษย์เคยถามว่า “หลวงพ่อไม่กลัวหรือ?” ท่านกลับพูดติดตลกว่า “กลัวมีดของมันจะบิ่นมากกว่า” เมื่อหลวงปู่ตี๋จำพรรษาอยู่วัดเขาเขียวได้พัฒนาวัดจากสำนักสงฆ์จนเป็นรูปเป็นร่างและกลายเป็นวัดขึ้นมา

ต่อมาท่านชราภาพมาก และเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ลูกศิษย์จึงนิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูด อ.สามชุก ซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาลมากกว่าวัดเขาเขียวฯ และถนนหนทางก็สะดวกมากกว่า ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่วัดท่ามะกรูดจนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สิริอายุได้ ๘๕ ย่าง ๘๖ ปี พรรษาที่ ๖๕

หลวงปู่ตี๋ท่านมักปลุกเสกวัตถุมงคลในบาตรพระ และวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกนั้นมักจะวิ่งส่งเสียงดังเสมอ โดยท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลครั้งแรกสมัยที่เป็นเจ้าอาวาสวัดกระเสียว วัตถุมงคลที่ท่านสร้างครั้งแรกคือ เหรียญรุ่นแรก ออกที่วัดกระเสียว โดยแรกเริ่มท่านตั้งใจจะสร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แต่ไปปรึกษาหลวงพ่อมุ่ย และหลวงพ่อมุ่ยท้วงว่าให้สร้างปี ๒๕๑๓ จะดีกว่า ท่านจึงสร้างเหรียญรุ่นแรกในปีพ.ศ.๒๕๑๓ ตามคำแนะนำของหลวงพ่อมุ่ย

พอโรงงานปั๊มเหรียญทำเหรียญออกมาเสร็จ ท่านก็นำไปให้หลวงพ่อมุ่ยเสกเป็นรูปแรก จากนั้นจึงนำมาให้หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตารามเสกอีกเป็นรูปที่2 แล้วจึงนำกลับมาเสกเองที่วัดอีกเรื่อยๆมาเป็นเวลาหลายไตรมาส เหรียญนี้สร้างออกมาเพียงเนื้อเดียวคือ ทองแดงรมดำ จำนวน 10,000 เหรียญ ที่สำคัญ! เหรียญนี้มีปลอมออกมานานแล้ว

เหรียญรุ่นแรกของท่านนี้ ลูกศิษย์นิยมเรียกกันว่า “เหรียญหนีลูกปืน” คือมีที่มาของชื่ออยู่ว่า หลังจากหลวงพ่อมุ่ยและหลวงพ่อกวยและหลวงปู่ตี๋ท่านเสกเรียบร้อยแล้ว มีลูกศิษย์ได้รับแจกเหรียญนี้ไป ได้นำเหรียญนี้ไปลองยิงกันที่หลังวัด ปรากฏว่า นัดแรกยิงไม่ออก นัดที่สองออก แต่ไม่ถูก เพราะขณะประทับปืนจะยิงเหรียญอยู่ๆนั้น เหรียญดังกล่าวก็หายไปทันตา คนยิงจึงมองไม่เห็นเหรียญ จึงยิงไม่ถูก สุดท้ายก็เลยต้องไปกราบขอขมาหลวงปู่ตี๋ท่าน

ที่วัดกระเสียว นอกจากเหรียญรุ่นแรกของท่านแล้ว ท่านยังสร้างวัตถุมงคลอื่นขึ้นมาอีกด้วย คือ ภาพถ่ายขนาด๕นิ้ว และ ล็อกเก็ตห่มคลุม

ต่อมาเมื่อท่านจำพรรษาและมาเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดเขาเขียว อ.เดิมบางนางบวช ได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นมาอีกหลายรุ่น หลายชนิด อาทิ ภาพถ่ายขนาดบูชารุ่นแรก , ภาพถ่ายขนาดคล้องคอรุ่นแรก , รูปหล่อรุ่นแรก , พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก, ตะกรุด , มีดหมอ , ปลัดขิก , ผ้ายันต์ , ภาพถ่ายต่างๆ, เหรียญต่างๆ, พระบูชา , พระพิมพ์ต่างๆ , ฯลฯ

ทั้งนี้ ลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือ "พระอาจารย์ปฐวี ปภากโร " หรือที่เรียกขานกันว่า "พระอาจารย์ตู่" แห่งที่พักสงฆ์ทศพรบ้านสิงห์ ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ศิษย์เอกและลูกบุญธรรมที่หลวงปู่ตี๋เลี้ยงดูมาและถ่ายทอดวิชาให้ตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ โดยหลวงปู่ตี๋ไว้วางใจให้ปลุกเสกวัตถุมงคลคู่กับท่าน รวมทั้งได้ถอดวิชาพร้อมมอบตำราหลวงพ่อกวยให้ท่านสืบทอดแทน

เมื่อครั้งยังมีชีวิต หลวงปู่ตี๋ท่านไม่อยากเปิดเผยตัว เพราะท่านรักสันโดษ ชอบความสงบ และมักออกธุดงค์เสมอ จนกายสังขารท่านชรา ท่านจึงเลิกออกธุดงค์ และอยู่ที่วัดเขาเขียว จนกระทั่งปี ๒๕๔๙ พระอาจารย์ตู่ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นฆราวาส และศิษย์คนสุดท้ายได้รับท่านมาอยู่ที่บ้าน เพื่อรักษาตัวจากอาการป่วยต่างๆ เนื่องจากท่านถูกทำร้าย ๓ ครั้งแต่ไม่ตาย เพียงแต่สลบไปเท่านั้น

พระอาจารย์ตู่จึงขออนุญาตต่อหลวงปู่ตี๋เปิดเผยเรื่องราวของท่านให้ผู้คนได้รับทราบ และได้มาทำบุญกับท่าน ท่านจึงอนุญาตให้พระอาจารย์ตู่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ แทนท่านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อมีผู้คนเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ มาให้หลวงปู่ตี๋ช่วย หลวงปู่ก็มักจะให้พระอาจารย์ตู่ดำเนินการแทน โดยมีหลวงปู่คอยควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา

#ฉัตรสยาม


 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page