ย้อนเหตุการณ์วัดมเหยงคณ์กรุแตก
- อ.อนุชา ทรงศิริ
- 14 เม.ย. 2563
- ยาว 1 นาที










พระงบน้ำอ้อยทะลัก เมื่อปี2558พบ “พระงบน้ำอ้อย”นิยม ผสมมวลสารเก่าอัฐหลวงพ่อต่วนเกจิฯ สร้างสมัยหลวงพ่อศรีนวลอดีตสมภาร เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 13 ก.ค.2558 พบพระเครื่องจำนวนมากบรรจุอยู่ในหีบ กุฏิปิดตายพระเกจิดัง สร้างยุค หลวงพ่อศรีนวล อดีตสมภาร ผู้รู้ระบุเนื้อพระผสมอัฐิหลวงพ่อต่วน อดีตเกจิดัง ถือเป็นของเก่าที่นับวันจะมีค่าและหายาก เซียนพระนักสะสมรู้ข่าวต่างบุกถึงวัดติดต่อขอบูชากันคึกคัก แต่เจ้าอาวาสขอตรวจเช็ก จำนวนก่อนอีกครั้ง คาดว่าจะเปิดให้บูชาในเร็วๆนี้
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ รายงานว่า เมื่อปี 2558 ได้มีข่าวแพร่สะพัดว่า มีพระเก่าแตกกรุที่วัดมเหยงคณ์ ต.ท่าระหัด อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี จำนวนมาก ทั้งใบลานเก่าแก่ พระเครื่องและพระบูชา อาทิ พระงบน้ำอ้อย พระพิมพ์สมเด็จ พระพิมพ์นางพญา และพระบูชาอีกหลายรายการ การพบพระในครั้งนี้ “พระอธิการประสิทธิ์ ปสาโท” หรือ “หลวงพ่อเทพ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ กล่าวว่า อาตมามีดำริมานานแล้วว่าจะบูรณะเสนาสนะและกุฏิหลังเก่าของ “หลวงพ่อต่วน” อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและอดีตเจ้าอาวาส ซึ่งปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างหนัก แต่ยังหาทุนมาบูรณะไม่ได้ บังเอิญเมื่อคืนนิมิตแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น ว่าหลวงพ่อต่วนมาบอกให้เข้าไปในกุฏิจะพบพระนำมาเปิดให้ญาติโยมบูชาแล้วนำปัจจัยมาบูรณะก็ได้ ตอนเช้าจึงมีความคิดจะทำตามความฝัน ด้วยการงัดห้องกุฏิพังกุญแจเข้าไป เพราะกุฏิหลังนี้ปิดตายมานานตั้งแต่เจ้าอาวาสรูปเก่าคือหลวงพ่อศรีนวลมรณภาพ กุญแจก็หาย จึงนัดคณะกรรมการวัด มาร่วมเป็นสักขีพยานในการงัด อาทิ นายประกอบ คงสมจิตต์ นายคณิต จันทร์โอกุล หลังจากงัดกุฏิเข้าไปก็พบหีบเหล็ก 2 ใบ พบใบลานเก่าล้ำค่า พระพุทธรูปและข้าวของเครื่องรางอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อเปิดหีบก็พบ พระงบน้ำอ้อย พระพิมพ์สมเด็จ พระพิมพ์นางพญา และพระบูชาอีกหลายรายการ จึงนำพระที่พบทั้งหมดไปให้พระเณรช่วยกันตรวจนับ เพื่อจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมบุญบูชาต่อไป ส่วนใบลานเก่าที่ชำรุดจะนำมาทำเป็นเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุดให้ร่วมบุญบูชาด้วย สำหรับพระที่พบในครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เป็น พระงบน้ำอ้อย รุ่น 1 สร้างในยุคสมัยหลวงพ่อศรีนวล สร้างจากเนื้อผงอัฐิเถ้าหลวงพ่อต่วน จัดสร้างเมื่อปี 2524 จำนวนการสร้างประมาณ 3,000 องค์ พระพิมพ์สมเด็จหลังรูปเหมือนเนื้อผงอัฐิหลวงพ่อต่วน จัดสร้างปี 2524 จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 องค์ แกะพิมพ์กดพิมพ์เอง พระนางพญาผงใบลานผสมผงอัฐิหลวงพ่อต่วน จำนวนการสร้างประมาน 3,000 องค์ แกะพิมพ์กดพิมพ์เอง โดยหลวงพ่อศรีนวล หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง พระเกจิอาจารย์ทั้ง 2 รูป ยังร่วมกันปลุกเสกยาวนานถึง 5 ไตรมาส หลังจากเมื่อข่าวการพบพระเครื่องในครั้งนี้แพร่สะพัดออกไป ทำให้เซียนพระและนักสะสมแห่ไปขอชมและเช่าบูชาพระชุดนี้กันอย่างคึกคักอีกด้วย
ถ้าพูดถึงพระเครื่องเด่นดังที่มีพุทธคุณในด้านเมตตาโชคลาภค้าขายร่ำรวย คงกระพันชาตรี อันเป็นที่ใฝ่หาของเหล่าชายชาตรีทั้งหลาย นอกจากพระตระกูลยอดขุนพลต่างๆ ที่รู้จักกันดี อย่างพระร่วงหลังรางปืน พระหูยาน พระท่ากระดาน พระมเหศวร พระพุทธชินราชใบเสมา ฯลฯ แล้ว "พระงบน้ำอ้อย" หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี ถือเป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่เหล่าชายชาตรียอมรับว่า "คงกระพัน" นักแล ไม่ต่างกับ"พระงบน้ำอ้อย" ผสมผงมวลสารอัฐิหลวงพ่อต่วน ของวัดมเหยงคณ์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เพิ่งแตกกรุมา กล่าวสำหรับ ประวัติความเป็นมา
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย บ้านสามหมื่น อำเภอบางปลาม้า เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งชาวสุพรรณบุรี ทั้งในวงการพระและคนทั่วไปรู้จักกันดี และเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วกัน ด้วยมีการเล่าสืบต่อกันมาถึงปาฎิหารย์ด้านต่างๆ ของท่านไว้อย่างน่าระทึกใจทีเดียวหลวงพ่อเนียม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2374 ในสมัยรัชกาลที่ 3 (ท่านมีอายุยืนยาวถึง 4 รัชกาล) มีชีวิตคลุกคลีอยู่กับวัดตั้งแต่เด็ก เพื่อศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขระขอม และภาษาบาลี เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้ทำการอุปสมบทในบวรพุทธศาสนา เมื่ออุปสมบทถือเพศบรรพชิตแล้ว ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ในจังหวัดพระนคร หรือธนบุรี ขณะที่ท่านได้ศึกษาธรรมะอยู่นั้นท่านก็ได้สนใจด้านวิปัสสนาธุระ และไสยศสตร์คาถาอาคมอีกด้วย และยังสันนิษฐานกันว่าท่านอาจเป็นศิษย์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีก็ได้การทำพระเครื่องของหลวงปู่
วัสดุที่นำมาทำ พระงบน้ำอ้อย เป็นตะกั่วผสมปรอท โดยต้องทำให้ปรอทแข็งตัว ซึ่งในยุคสมัยนั้นไม่ใช่ของทำง่าย ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคมและต้องมีส่วนผสมเฉพาะ ที่สำคัญต้องทำในฤดูฝน เพราะใบแตงหนูจะขึ้นเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมสำคัญอย่างใบสลอดและข้าวสุก หลวงพ่อท่านจะนำของสามอย่างมาโขลกปนกันเป็นการไล่ขี้ปรอทออกให้หมด เพื่อให้ได้ปรอทที่ขาวที่สุด ซึ่งท่านจะต้องโขลกและกวนส่วนผสมอยู่ถึง 7 วันจึงจะเข้ากันดี พอครบ 7 วัน ก็นำส่วนผสมไปตากแดด แล้วนำมากวนต่อจนเข้ากันดี เสร็จแล้วจึงนำมาแยกชั่งเป็นส่วน ส่วนละ 1 บาท (ขนาดเหรียญบาท) จากนั้นนำไปใส่ครกหิน เติมกำมะถัน และจุนสีโขลกให้เข้ากัน โดยจะต้องทำตอนกลางคืน ทำอยู่เช่นนั้น 3 คืน แล้วจึงนำปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไปสุมอยู่ถึง 7 วัน โดยจะสุมไฟเฉพาะตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะทำพิธีปลุกเสกด้วยพระคาถาคม พอครบ 7 ไฟ ก็เทลงแม่พิมพ์จึงได้พระตามต้องการ คนที่เคยบูชาพระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "สุดยอดคงกระพัน"
Comentarios