top of page
ค้นหา

รำลึกคล้ายวันเกิดเกจิดัง“หลวงปู่อด นารโท”

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 1 ก.ค. 2563
  • ยาว 2 นาที

เมืองอุบลฯ แห่งบ้านคำสมิง วันนี้ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นวันคล้ายวันเกิด “หลวงปู่อด นารโท” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม บ้านคำสมิง ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ทีมข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอร่วมรำลึกคุณงามความดีของท่านที่มีต่อพระพุทธศาสนิกชน และสาธารณประโยชน์อย่างมากมาย ขอบารมีบุญของท่านปกป้องดูแลบรรดาศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาให้สุขสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ เจริญในหน้าที่การงานสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีโชคมีลาภ ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีทุกท่าน สาธุ

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 09.16 น. วงการสงฆ์สูญเสียพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูป “หลวงปู่อด นารโท” เจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม บ้านคำสมิง ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี มรณภาพด้วยโรคชรา รวมสิริอายุ 97 ปี 76 พรรษา

กล่าวสำหรับ หลวงปู่อด วัดพระครูเขมกิจโสภิต (อด นารโท) ท่านเป็นขรัวเฒ่าเจ้าอาคมเเห่งเมืองตระการ ศิษย์ครูใหญ่สำเร็จตัน วัดสิงหาญ เรียนวิชาเพิ่มเติมจากญาท่านตู๋ ญาท่านฤทธิ์ เเละ ฝึกวิชากรรมฐาน เรียนธรรมสายปราบ จากหลวงลุงพัน ญาท่านพู วัดบ้านคำสมิง และอยู่ใต้ ร่มบารมี ของญาท่านภู วัดคำสมิง ศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่ใหญ่สมเด็จลุน เจนจบครบทุกศาสตร์วิชาตั้งธาตุ ไล่ ขับ ถอด ถอน ป้องกัน เเละเมตตามหาเน่ห์ สีผึ้งอ้อเทศน์นางมัทรี นามเดิมชื่อ “อด ผลจันทร์” เป็นบุตร ของนายอ้ม ผลจันทร์ นางหลอดผลจันทร์ เป็นคนที่ 8 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 9 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2465 (ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 8 เดือน 8 ปี จอ) เหตุที่ได้ชื่อว่า “อด”นั้น หลวงปู่เมตตาเล่าให้ศิษย์ฟังว่า เมื่อตอนคลอด โยมแม่เคยเล่าไว้ว่า ตอนคลอดท่านออกมานั้น ถือไข้ด้วยก็ได้อยู่ไฟรักษา และกินยาหม้อด้วย เกิดแสลงยา ทำให้น้ำนมที่เคยมีกลับหายไปด้วย ตอนคลอดนั้นอ้วนท้วนสมบูรณ์ ผิวพรรณผุดผ่องน่ารักน่าเอ็นดู โยมพ่ออ้ม ผลจันทร์ จึงได้ไปจ้าง นางเหง้า ที่มีบุตรรุ่นเดียวกัน มาเป็นแม่นม ด้วยจำนวนเงิน 6 บาท ยามเช้าแม่นมก็มาให้นมก่อนที่จะไปทำไร่ทำนา พอตกเย็นก็ถึงจะได้กินนมอีกครั้ง ก่อนนอน เมื่อหิวก็ร้องไห้กวน โยมแม่หลอด ผลจันทร์ ก็ปลอบประโลมพร้อมกับพูดว่า “อดทนเอานะลูก” เรื่อยไป จึงได้ชื่อ ว่า “อด” คือทั้งอด และต้องทน (หลวงปู่พูดไปยิ้มไป) ด้วยความกตัญญูต่อแม่เหง้าแม่นม เมื่อท่านสิ้นชีวิตก็จัดงานฌาปนกิจในฐานะลูกอีกคนหนึ่งด้วย เมื่อเรียนจบชั้น ประถม 4 โยมพ่ออ้ม ผลจันทร์ ก็พามาฝากเป็นเด็กวัด เพื่อเรียนเขียนอ่านเพิ่มเติมและเรียนวิชาช่าง จาก “หลวงพ่อพัน บ้านกระ เดียน” ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง “หลวงพ่อพัน” นั้นเป็นศิษย์ของ “สำเร็จตัน บ้านสะพือ” ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของ “หลวงปู่สมเด็จลุน วัดเวินไชย จำปาสัก” หลวงพ่อพันเชี่ยวชาญชำนาญวิชาช่างและเป็นหมอธรรมรักษาผู้คนวิกลจริต จากผีไร่ผีนา และ ไปมาหาสู่กับญาท่านตู๋ ธัมมสาโร วัดสุขาวาส ญาท่านฤทธิ์ โสภิโต วัดสระกุศกร ประจำ เมื่อปี พ.ศ.2483 อายุได้ 18 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ออกธุดงค์ไปพร้อมกับหลวงพ่อพัน ตะพายหนังประจำวัน (อาสนะหนังหมี) พร้อมอัฏฐะ บริขาร ไปตามเขาลำเนาไพร ฝึกจิต และได้ศึกษาวิชาอาคมพอได้ป้องกันตัว เมื่อใกล้เข้าพรรษก็กลับมาที่บ้านคำสมิง อายุครบบวช 20 ปี ในปี พ.ศ.2485 แต่ไม่ได้เข้าพรรษา เพราะเกณฑ์ทหารจับใบแดงได้ ต้องไปเป็นทหารช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามญี่ปุ่น) หลังจากปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ.2487 จึงได้อุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 โดยมี ญาท่านช่วย วัดบ้านคอนสาย เจ้าสำนักเรียนเทศน์มัทรี เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อภู ถาวโร วัดคำสมิง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อผู๋ ตนังกโร วัดบ้านคอนสาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “นารโท” เมื่ออุปสมบทเสร็จจึงได้ไปเทศน์มัทรี ที่บ้านคอนสาย และอยู่จำพรรษกับพระอุปัชฌาย์ถึง 7 ปี “พระอด นารโท” พระหนุ่มรูปงาม นักเทศน์มัทรี ชื่อดังในสมัยนั้น ได้ตระเวนเทศน์เสียงในเขตอำเภอตระการพืชผล และชื่อเสียงโด่งดังข้ามอำเภอถึงอำเภอพนา อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และชื่อเสียงโด่งดังไปถึง สปป.ลาว ได้รับนิมนต์ไปเทศน์หลายต่อหลายครั้ง ขี่ม้าตระเวนเทศน์ มีแม่ยกติดตามฟังมาก เชื่อว่าท่านมีวิชา “สีผึ้ง” ดีจากครูบาอาจารย์ จึงเป็นที่อิจฉาของนักเทศน์ด้วยกัน เมื่อไปเทศน์ต่างถิ่น ก็ต้องระวังตัว นอกจากเทศน์แล้ว วิชาอาคมเรื่องป้องกันตัวก็ต้องชำนาญก่อนที่จะขึ้นธรรมมาสน์เทศน์ต้องไหว้ครูดูอาสนะที่นั่ง ป้องกันภัย ถึงกระนั้นเมื่อท่านเทศน์ไปสักพักก็รู้สึกมีอะไรมาวนเวียนรอบตัว ท่านกำหนดจิตบริกรรมคาถา แล้วยกมือกำ และก็เอาวางที่อาสนะทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อเทศน์จบ แถมสมภารเสร็จ ท่านจึงพิจารณาดูว่า เป็นอะไร ถึงกับตะลึงเมื่อสิ่งที่มองเห็นนั้นคือ เศษผมคน เป็นกระจุกเท่าลูกมะนาว พอลงจากธรรมมาสน์ ท่านก็กวาดตา มองรอบๆก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เมื่อทายกประกาศเรียกชื่อนักเทศน์ อีกวัดที่จะเทศน์ต่อกลับไม่เห็น ซึ่งท่านก็รู้ว่าเป็นใครแต่ ไม่ได้ติดใจเอาความ (ท่านเล่าว่าวิชาเหล่านี้หากใช้ในทางที่ถูกก็เป็นคุณมากเช่นการรักษาคนป่วยที่ไม่ค่อยแข็งแรงใช้วิชาธาตุพยุงสังขารให้เบาตัว) ท่านเป็นพระหนุ่มรูปงามมีอัธยาศัยดี จึงเป็นที่รักของพระผู้ใหญ่ เช่น ญาท่านบุตร วัดหนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ ญาท่านกร อ.พนา หลังจากอยู่กับพระอุปัชฌาย์ 7 ปี แล้ว ท่านจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดคำสมิงบ้านเกิด ได้เรียนวิชาเพิ่มเติมจาก ญาท่านภู ถาวโร พระกรรมวาจาจารย์ท่าน ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นยุคต้นของสมเด็จลุน และไปมาหาสู่ต่อ วิชาธรรมรักษาคน และขับไล่ภูตผีปีศาจ จากหลวงพ่อพันลุงของท่าน และยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์สำเร็จตัน วัดสะพือ หลวงปู่ญาท่านตู๋ ธัมมสาโร วัดสุขาวาส ญาท่านฤทธิ์ โสภิโต วัดสระกุศกร อำเภอตระการพืชผล แหล่งรวมสรรพวิทยา อาคมอีกสายหนึ่งของสมเด็จลุนเป็นสถานที่มีครูบาอาจารย์พระผู้ใหญ่สืบทอดไม่ขาดสาย ด้านวิชาช่างสงเคราะห์ ท่านเป็นผู้ที่มีความชำนาญในด้านการสับลาย ติดกระดาษประดับ นับตั้งแต่ประดับโบสถ์ ศาลา บั้งไฟ แม้กระทั่งงานติด ประดับ โลงศพ ของพระเถระผู้ใหญ่ที่มรณภาพ นำพาชาวบ้านพัฒนาจนรุ่งเรือง และสืบต่อตำแหน่งเจ้าอาวาสจาก ญาท่านภู ถาวโร อาจารย์ของท่านเอง หลวงปู่อด นารโท ขรัวเฒ่าเจ้าอาคมแห่งเมืองตระการพืชผล สืบทอดวิชาอาคมของครูรุ่นใหญ่ หลวงปู่สำเร็จตัน หลวงปู่ญาท่านภู ญาท่านตู๋ ญ่าท่านฤทธิ์ เจนจบครบทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชา วิชาตั้งธาตุ ไล่ ขับ ถอด ถอน ป้องกัน เเละเมตตามหาเสน่ห์ สีผึ้งอ้อเทศน์นางมัทรี นับวันที่จะหายากและสูญสลายไปตามการเวลา เหมือนกับ สหธรรมิก ของท่าน หลวงปู่สอน สุภัทโท วัดลาดควาย หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู ที่ยังเหลือก็มีไม่มาก หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสนะธัมโม วัดตุงลุง อ.โขงเจียม หลวงปู่เก่ง ธนวโร อ.พิบูลมังสาหาร และศิษย์รุ่นน้องหลวงปู่คล้าย อธิเตโช หลวงปู่อ่อง ฐิตะธัมโม สองพระเถระจากอ.ตระการพืชผล พอที่จะได้เป็นที่พึ่งของญาติโยม วัดเวฬุวนาราม วัดเก่าแก่ดั้งเดิม อายุการ ก่อตั้งมายาวนาน มีครูบาอาจารย์สืบทอดไม่เคยร้างจากพระเถระผู้ใหญ่ ในปี 2559 วาระครบ 172 ปีวัดเวฬุวนาราม บ้านคำสมิง ท่านได้เมตตาให้ “นายศุภฤทธิ์ พิมพระวัตร” ได้จัดสร้างวัตถุมงคลอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อหาปัจจัย มาก่อสร้างกำแพง วัดที่ชำรุดทรุดโทรม จัดตั้งเป็นกองทุนสุขภาพ และหาทุนบูรณะวัดให้เจริญมั่นคงวัฒนาถาวรสืบต่อไป ร่วมเนื้อนาบุญกับหลวงปู่อดไม่มีคำว่า “อด” เพราะท่านย้ำเสมอ “อดทนแล้วจะร่ำรวย”

การละสังขารของท่านสร้างความอาลัยแห่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาอย่างมาก

 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page