top of page
ค้นหา

"หลวงปู่บุญยอ ขันติโก" วัดเทพนัดดา จ.นครพนม ศิษย์ไสยเวทย์รูปสุดท้าย สำนักหลวงปู่ญาถ่านหลักคำ

รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริอ.อนุชา ทรงศิริ

"หลวงปู่บุญยอ ขันติโก"

วัดเทพนัดดา จ.นครพนม

ศิษย์ไสยเวทย์รูปสุดท้าย

สำนักหลวงปู่ญาถ่านหลักคำ

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอประวัติ พระดีเกจิดังแห่งเมืองนครพนม.. พระครูโสภิตพุทธิคุณ หรือ "พระอธิการบุญยอ" หรือ"หลวงปู่ยอ ขันติโก" เจ้าอาวาสวัดเทพนัดดา ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ศิษย์รูปสุดท้ายแห่งสำนักหลวงปู่ญาถ่านหลักคำ พระผู้มากด้วยไสยเวทย์แห่งลุ่ม"แม่น้ำก่ำ" แม่น้ำสายวัฒน ธรรมพันปีที่เชื่อมต่อทอดยาวลงสู่แม่น้ำโขง

ท่านมีนามเดิมว่า "บุญยอ" นามสกุล"จันทะวัง" เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พศ .2473 ที่บ้านนาหนาด ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บิดาชื่อ นายชาย มารดาชื่อ นางจอม ประกอบอาชีพทำไร่ทำสวน สมัยนั้นการเดินทางไปอำเภอค่อนข้างลำบาก ทำให้แจ้งเกิดช้าไปเกือบสามสี่ปี ซึ่งถือเป็นเหตุปกติในชนบทสมัยนั้น

ในวัยเด็กถือว่าท่านเป็นเด็กฉลาดมาก เรียนรู้และท่องจำได้เร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน สอบได้อันดับต้นๆเรื่อยมา แม้ท่านจะมีปฏิญาณไหวพริบดี แต่ก็เรียนจบเพียงชั้นประถม 4 แล้วออกมาช่วยครอบครัวทำงาน ช่วงอายุ 16-17 ปี มีโอกาสไปค้าขายต่างเมือง ทำอาชีพนายห้อย ไล่ต้อนวัวควาย หรือรับซื้อไปกับกลุ่มพ่อค้าในละแวกหมู่บ้าน ค่ำใหนนอนนั้นบางครั้งไปไกลถึงเมืองปราจีนบุรี

ด้วยเหตุที่ต้องเดินทางบ่อย จึงมีความสนใจในทางด้านไสยเวทย์ โดยเข้าไปหาหมอธรรมพื้นบ้าน หมอไล่ผีตามหมู่บ้านต่างๆในสมัยนั้น อีกทั้งเรียนรู้เรื่องความคงกระพันบ้าง เมตตามหานิยมบ้าง ท่านเองก็ไม่แพ้หนุ่มๆวัยเดียวกัน ที่เที่ยวไปตามวัย แต่ก็แปลกอยู่อย่างแม้ท่านจะคึกคะนองเพียงใดในชีวิตที่ผ่านมาท่านไม่เคยออกครองเรือนเลย

กระทั่งในวัย 20 ปีกว่าๆ ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดบ้านหนองหอย ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งขณะนั้น “หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย ท่านมาจำพรรษาอยู่ ณ บ้านหนองหอย ท่านจึงมีโอกาสได้รู้จักและมีความสนิทสมกันอย่างมาก

ต่อมาท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเทพนัดดา

อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.2502 ขณะที่ท่านอายุได้ 29 ปี หลังจากนั้นอายุประมาณ 30ต้นๆท่านก็ได้รับตำแหน่ง "พระอธิการ" และในปี พศ.2525 ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น “พระครูโสภิตพุทธิคุณ ”

วัดเทพนัดดาแห่งนี้ เป็นที่ตั้งสำนักเก่าแก่โบราณที่มีชื่อเสียงในเรื่องวิชาโบราณต่างๆ และอดีตบูรพาจารย์ที่โด่งดังคือ "หลวงปู่ญาถ่านหลักคำ" หรือ "หลวงปู่ทองคำ" ผู้สืบสายวิชาสองฝั่งโขงจากหลวงปู่ญาคูขี้หอม หรือชาวบ้านตั้งชื่อท่านว่า "พระครูโพนสะเม็ก" ตำนานผู้บูรณะองค์พระธาตุพนม โดยลูกศิษย์จากสำนักวัดแห่งนี้ได้ดี มีวิชาติดตัวไปหลายท่าน ในสมัยก่อนนั้นโดดเด่นทางด้านตะกรุด เมตตามหานิยม มีประสบการณ์เล่าขานมากมาย

ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่บุญยอจึงได้รับตำรามนต์คาถาโบราณต่างๆที่เป็นมรดกตกทอดจากบูรพา จารย์ที่ท่านทิ้งไว้ให้ เพราะหลังจากหลวงปู่หลักคำมรณภาพ สรรพวิชาต่างๆนั้นก็มิได้สูญไปกับท่าน ยังมีศิษย์ท่านองค์หนึ่งได้รับสรรพวิชาต่างๆมาสืบทอดให้หลวงปู่บุญยออีกทอดหนึ่ง ซึ่งท่านบอกว่าจำชื่อพระอาจารย์องค์นั้นไม่ได้ เพราะท่านมรณภาพก่อนที่ท่านจะเกิดเกือบ 60 ปี

ปัจจุบันนี้เอกสารหลักฐานเก่าแก่ต่างๆเหล่านี้ก็ยังคงปรากฏให้เห็นที่วัดซึ่งหลวงปู่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

หลวงปู่บุญยอท่านที่มีความสนใจทางด้านเวทมนต์ไสยศาสตร์ต่างๆเป็นทุนตั้งแต่หนุ่มๆอยู่แล้ว พอท่านเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์ยิ่งมีโอกาสศึกษาค้นขว้าตำรา หรือเดินทางไปศึกษากับพระอาจารย์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเดินทางข้ามฝั่งประเทศลาวเพื่อไปขอศึกษาวิชากับสมเด็จลุน แต่ท่านบอกว่าไม่ได้พบเพราะหาตัวยากมาก จึงได้ศึกษาเล่าดรียนจากศิษย์ของสมเด็จลุนเท่านั้น โดยท่องธุดงค์ไปกับสหายธรรม2-3ท่านซึ่งปัจจุบันมรณภาพไปหมดแล้ว

ช่วงหนึ่งท่านได้ไปปฏิบัติธรรมกับอาจารย์สอนกรรมฐานที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นคือ พระอาจารย์เสน่ห์หรือจันดี ที่วัดเหล่าโพนค้อ บ้านโพนค้อ จ.สกลนคร อีกทั้งการฝึกฝนร่ำเรียนด้วยตัวเองในป่าเขาแถบมุกดาหารและสกลนคร และข้ามไปประเทศลาวทางฝั่งจังหวัดมุกดาหาร

ท่านชอบความวิเวกลี้ลับ สงบเงียบ จึงเดินธุดงค์ไปหลายที่ เคยไปหาเหล็กไหลก็มี ยิ่งสถานที่ที่ผีดุๆท่านยิ่งชอบ เช่น นครพนม มุกดาหาร สกลนคร หรือข้ามไปฝั่งลาวไปหมด บางทีเข้าถ้ำเข้าป่าลึกๆก็ยังไปเห็นพระในถ้ำเยอะมาก รู้สึกแปลกใจไม่รู้ใครเอาไปไว้ แต่ไม่เคยนำออกมาจากถ้ำกลัวเจ้าของเขาหวง

สหายธรรมที่ชอบเดินทางไปด้วยกันนั้น ท่านต้องยอมรับว่ามีอาคมแก่กล้า โดยเฉพาะ"หนังเหนียว" ครั้งหนึ่งมีโจรไปดักปล้นแย่งย่ามไป ท่านไม่ยอม โจรจึงใช้มีดปาดเข้าที่คอหอย 3-4 ที ปรากฏว่าไม่เข้า มีแค่เพียงรอยถลอกเท่านั้น ทำเอาโจรตกใจพากันวิ่งหนีกระเจิงไป

ทางภาคเหนือเคยธุดงค์ลัดเลาะริมโขงไปถึงเชียงใหม่ โดยตั้งใจจะไปกราบหลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋งเพื่อขอเรียนกรรมฐาน แต่ท่านมรณภาพเสียก่อน เลยได้แต่ไปกราบสักการะท่านเท่านั้น ส่วนทางภาคใต้ท่านเคยธุดงค์ลงไปทางภูเก็ต, พังงา,สตูล แล้วลัดเลาะไปเรื่อยๆจนถึงมาเลเซีย ได้พบเกจิชื่อดังเมืองไทยด้วยท่านหนึ่งซึ่งไปสร้างวัดที่มาเลเซีย แต่นึกชื่อไม่ออก ช่วงที่ลงไปทางนั้นได้เหล็กไหลติดกลับมาส่วนหนึ่ง แต่ให้คนที่มาขอไปหมดแล้ว

สำหรับวิชาที่โดดเด่นของหลวงปู่บุญยอที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างนั้นคือ การรักษาอาการคนวิกลตกจริต ผีเข้าผีสิง หรือไล่ผีปอบ ซึ่งท่านเรียนมาจากหลวงปู่ที่วัดนาคำ บ้านนาคำ สมัยนั้นเป็นวิชาที่ขอเรียนค่อนข้างยาก ต้องตื้ออยู่นานกว่าท่านจะสอนให้ นอกจากนี้ ยังได้เรียนการทำตะกรุดกับพระอาจารย์องค์หนึ่งในอำเภอดงหลวง ตะกรุดของท่านมีทหารเอาไปลองยิงหลายกระบอก แต่ก็ยิงไม่ออก

สมัยที่ท่านยังแข็งแรงและมีสุขภาพดีมีชื่อเสียงอย่างมากในการขับไล่ภูติผีต่างๆ ไม่ว่าบ้านใกล้เรือนเคียงหรือจังหวัดอื่นๆยังต้องมาขอพึ่งใบบุญให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัยต่างๆ รวมถึงสะเดาะเคราะห์ อาบน้ำมนต์,ตรวจดวงชะตา โดยไม่ได้เรียกร้องปัจจัยใดๆ แล้วแต่ศรัทธาบูชาครู

ปัจจุบันหลวงปู่บุญยอยังคงมีชื่อเสียงทางนี้อยู่เพียงแต่ท่านชราภาพมากแล้ว จึงไม่ค่อยรับทำเพื่อพักผ่อนถนอมสังขาร แม้ปัจจุบันท่านอายุถึง 91 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังคงแข็งแรงมาก สายตายังดี มีสมาธิทำงานจักสานต่างๆได้เดิมเหมือน และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเมืองนครพนม

และจังหวัดใกล้เคียง

ด้วยไปมามากมายหลายสถานจึงจำกาลแหล่งผ่านมาไม่ถูกหมด ศึกษาสายสมเด็จลุนเป็นทุนเดิม เป็นศิษย์อยู่มากอาจารย์ จนท่านเองลืมเลือนในนามชื่อแต่พอยกตัวอย่างได้เช่น หลวงปู่โต้ะ วัดประดู่ฉิมพลี ,หลวงปู่สนธ์ คัมภีรญาณ,หลวงปู่ทองมา ถาวโร,สืบสรรพวิชาหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, สหธรรมิกที่เคยจำวัดร่วมกัน หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ,หลวงปู่แสง อ.นาแก,หลวงปู่หนูอินทร์ กิติสาโร(ปฎิบัติกรรมฐานเหล่าโพนค้อ)

และที่สำคัญได้อุปฐากท่านพ่อแก้ว(เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม)ชึ่งนับว่าเป็นผู้มีอภิญญาในเมืองธาตุพนมอีกรูป

และยังมีอีกมากที่ท่านจพชื่อไม่ได้

สหธรรมมิกที่หลวงตาบุญยอ เคยร่วมฝึกกรรมฐานอีกรูปหนึ่งก็คือ

#หลวงปู่หนูอินทร์ กิตติสาโร(พระราชศีลโสภิต)ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินทร์

🙏🙏🙏

#สำนักวิปัสนากรรมฐานเหล่าโพนค้อ จ.สกลนคร


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page