top of page
ค้นหา

เปิดบันทึกตำนาน"วัดกลางอุดมเวทย์"อารามเก่าพันปี-มหาธาตุเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมใจชาวพนมไพร

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 7 ต.ค. 2564
  • ยาว 1 นาที

เปิดบันทึกตำนาน"วัดกลางอุดมเวทย์" อารามเก่าพันปี-มหาธาตุเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ ศูนย์รวมใจชาวพนมไพรเมืองร้อยเอ็ด

วัดกลางอุดมเวทย์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลต.พนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่แห่งหนึ่ง มีปูชนียสถานปูชนียวัตถุตลอดจนโบราณวัตถุ อยู่ในวัดมากมาย ที่สำคัญเป็นที่เคารพนับถือกันมาแต่โบราณกาลได้แก่ องค์พระมหาธาตุซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในแต่ละปีทางวัดกลางอุดมเวทย์และชาว อำเภอพนมไพรร่วมกันจัดงานเพื่อสมโภช ปีละ2-3 ครั้ง ได้แก่ ในวันเพ็ญ เดือน 3 ทางวัดและชาวอำเภอพนมไพรได้จัดงานเทศกาลบุญเดือน 3 เพื่อเฉลิมฉลององค์พระมหาธาตุ และในวันเพ็ญเดือน 7 ชาวอำเภอพนมไพรได้ร่วมกันจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการสักการบูชาองค์พระมหาธาตุ และถือว่าเป็นประเพณีจัดสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

จากตำนานที่คนแก่ได้เล่าสืบต่อกันมาและจากหนังสือประวัติพนมไพรและประวัติพระมหาธาตุวัดกลางอุดมเวทย์ที่ครูแก้ว ทิพยอาสน์ได้เขียนรวบรวมไว้ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดกลางอุดมเวทย์ไว้ว่า

ย้อนหลังไปในสมัยนับพันปีมาแล้ว สมัยนั้นพื้นที่อำเภอพนมไพรในปัจจุบัน เป็นที่อาศัยของชาวชนพื้นเมืองที่เราเรียกกันว่า “ข่า”ชาวข่าได้พากันตั้งบ้าน เรือนอยู่เป็นชุมชนใหญ่เรียกชื่อหมู่บ้านของตนเองว่า "จะแจ" หรือบ้านแก ในสมัยหนึ่งได้มีพระภิกษุ ๒ รูป มีนามว่า พระครูมหารัตนชัยยะและพระครูมหาปะสะมัน ได้เดินธุดงค์ออกจากเมืองอินทปัฐถานคร (ประเทศกัมพูชา) ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองมรุกขนคร เมืองหลวงของแคว้นโคตรบูรณ์ (คาดว่าอยู่ในท้องที่จังหวัดนครพนมปัจจุบัน) เมื่อทั้งสองรูปผ่านมาถึงบ้านจะแจได้ ปักกลดพักผ่อนอยู่ชายป่าท้ายบ้าน ชาวบ้านทราบข่าวและเกิดความเสื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ให้อยู่ที่บ้านแก พระครูมหาปะสะมันรับนิมนต์อยู่ที่บ้านแก ส่วนพระครูมหารัตนชัยยะได้เดินธุดงค์ไปเมืองมรุกขนครต่อไป

เมื่อพระครูมหาปะสะมันรับนิมนต์อยู่บ้านแก ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเพื่อให้เป็นที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาและอบรมสั่งสอนชาวบ้านและพากันตั้งชื่อวัดนี้ว่า " วัดปะสะมัน" โดยพระครูมหาปะสะมันได้จำพรรษาอยู่ที่นี่หลายสิบปีและ เห็นว่าพระพุทธศาสนามีความเป็นปึกแผ่นบนแผ่นดินของชาวข่าบ้านแกแล้ว จึงออกเดินธุดงค์ตามพระครูมหารัตนชัยยะไปยังเมืองมรุกขนครต่อไป

ต่อมาถึงสมัยที่พระครูยอดแก้วหรือพระลูกแก้ว พระภิกษุชาวเวียงจันทน์ ได้พาชาวลาวอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ดินแดนของชาวข่า ได้เห็นว่าดินแดนบ้านแกเป็นชุมชนใหญ่น่าอยู่จึงได้พากันตั้งรกรากอยู่ปะปนกับชาวข่า ต่อมาบ้านแกจึงกลายเป็นเมืองแสนล้านช้าง และพระครูยอดแก้วได้เปลี่ยนชื่อจากวัดปะสะมันเป็น"วัดโพธิ์" เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่ต้นโพธิ์มากและได้เดินทางไปขอแบ่งชิ้นส่วนของพระอุรังคธาตุมาจากภูกำพร้า นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ และมีการสร้างพระสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุชิ้นส่วน ของพระอุรังคธาตุ และพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาจากภูกำพร้าซึ่งพระเจดีย์นี้ก็คือ องค์พระมหาธาตุในปัจจุบันนั่นเอง

ต่อมาอีกนับพันปี ในสมัยพระครูกิตติมาศักดิ์ (พระครูม้าวหรือยาคูตุ้ย) ประมาณ ปี พ.ศ. 2402-2532 สมัยนี้เมืองแสนล้านช้าง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น"เมืองมโนไพร" แขวง มโนไพร ท่ายเป็นเจ้าอาวาสได้ปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดโพธิ์ ได้เปลี่ยนชื่อและประกาศ ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2425 คือ "วัดกลางอุดมเวทย์" เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของย่านชุมชนและเป็นวัดที่เป็นแหล่งการศึกษาหาความรู้ของประชาชนในสมัยนั้น นอกจากนี้ท่านยังบูรณะอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2450

ต่อมาในสมัยของพระครูประโชตธรรมานุยุต (หลวงพ่อชาลี) เป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2497-2514 เห็นว่าองค์พระมหาธาตุทรุดโทรมปรักหักพังลงมามาก จึงชักชวนญาติโยมช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จเป็นองค์ พระมหาธาตุที่เด่นเป็นสง่าและเป็นศักดิ์ศรีของชาวอำเภอพนมไพรจนถึงปัจจุบันนี้

ปีพ.ศ. 2521-2539 พระปลัดนรินทร์ สุภทฺโท เป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจของประชาชน อาทิ อุโบสถ สร้างกุฏิ สร้างหอสมุด และอื่นๆ อีกมากมาย จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรภาคฤดูร้อน จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และตั้งมูลนิธิวัดกลางอุดมเวทย์ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคม

ล่วงถึงวันที่ 24 กันยายน 2539พระครูอดุลจันทคุณ หรือ"หลวงพ่อประดิษฐ์ จนฺทโร" ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืยต่อมาจนถึงปัจจุบัน ท่านได้พัฒนาด้านต่างๆมากมายอย่างต่อเนื่องเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของอดีตท่านเจ้าอาวาส อีกทั้งยังได้ก่อตั้งสมาคมจันทคุณแสนธรรมการกุศล หน่วยกู้ภัยวัดกลางอุดมเวทย์ เพื่อช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยต่างๆ และจัดตั้งศูนย์การรู้ICTชุมชนวัดกลางอุดมเวทย์ โดยการสนับสนุนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ศึกษาหาความรู้และสามารถสืบค้นหาข้อมูลต่างๆด้วยตัวเอง ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตอีกด้วย

นอกจากวัดกลางอุดมเวทย์จะมีองค์พระมหาธาตุที่สำคัญแล้ว ยังมีปูชนีย-วัตถุโบราณวัตถุที่เก่าแก่และสำคัญอีกมากมาย เช่น องค์สถูปที่มีอายุและความเป็นมาเก่าแก่คาดกันว่าคงจะก่อสร้างในสมัยเดียวกันกับองค์พระมหาธาตุ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ชาวพนมไพร เรียกท่านว่า "พระเจ้าใหญ่" และมีรูปหล่อของพระครูกิตติมาศักดิ์ (พระครูม้าวหรือยาคูตุ้ย) รูปหล่อพระครูประโชตธรรมมานุยุต (หลวงพ่อชารี) รูปหล่อพระครูสุภัทรอุดมเวทย์ (หลวงพ่อนรินทร์ สุภทฺโท) ซึ่งทั้ง3ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสที่มีผลงานในการปฏิสังขรณ์วัดกลางอุดมเวทย์ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา อีกทั้งยังเป็นที่เคารพของศิษยานุ ศิษย์และลูกหลานชาวอำเภอพนมไพรตลอดมา











 
 
 

コメント


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page