top of page
ค้นหา

เสกเข้ม “เหรียญท้าวเวสสุวรรณ”

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 1 มิ.ย. 2563
  • ยาว 2 นาที
















วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 63 โดย....นายขุนโหร คอลัมน์จับชีพจรวงการพระ @...สวัสดีวันจันทร์พบกันกับ “นายขุนโหร”…@ ได้ยลโฉมความงดงามกันแล้ว สวยสมการรอคอยแน่นอน “ล็อกเกตดวงเศรษฐีแก้วมณีโชติ รุ่น ฉลองอายุครบ 80 ปี” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงปู่เร็ว วัดหนองโน จ.อุบลราชธานี ศิษย์สายตรงไม่ยอมพลาดรุ่นนี้แน่นอน...@ เสกแล้วอย่างเข้มขลัง “เหรียญท้าวเวสสุวรรณ” พระเกจิดังนั่งปรกที่วัดศรีวารีน้อย วันที่ 31พฤษภาคม 2563 ที่วัดศรีวารีน้อย จ.สมุทร​ปราการ​ ได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก เหรียญท้าวเวสสุวรรณ (พระอาจารย์เชษฐ์) ออกวัดศรีวารีน้อย,ลูกสะกด วัดศรีวารี​น้อย​...@ สุดยอดวัตถุมงคล​ เหรียญท้าวเวสสุวรรณ รุ่นโชคดี เฮงตลอด ลงยาขูดผิว พระอาจารย์เชษฐ์จิตฺตปญฺโญ วัดถวิลศิลามงคล พระเกจิดังเมืองแปดริ้ว มอบให้ท่านพระครูปลัดสุวัฒนกวีคุณ (นิพล สิริธมฺโม ปธ.3) เจ้าอาวาสวัดศรีวารีน้อย จำนวน 183 องค์ ตอกโค๊ต (แจก) ร่วมสร้างวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หน้าตัก 9 เมตร ...@ พิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารองค์หลวงพ่อเสือ วัดศรีวารีน้อย จ.สมุทร​ปราการ​ วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมอธิษฐานจิต ปลุกเสก รายนามดังนี้ 1. พระครูปลัดสุวัฒนกวีคุณ (นิพล สิริธมฺโม ปธ.3) 2. พระครูวินัยธรวิเชษฐ์ จิตฺตปญฺโญ วัดถวิลศิลามงคล ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 3 พระอาจารย์กาย วัดคอลาด อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 4​ พระอาจารย์​อ๊อด วัดศรีสมพร​ จ.มหาสารคาม ท่านใดอยากมีไว้ ตรงไปบูชาที่วัดศรีวารีน้อย ได้เลย...@ ย้อนรำลึก “พระสมเด็จ” พิธีใหญ่ปี55 พระเกจิดังนั่งปรกในพระอุโบสถวัดระฆังฯ “หลวงปู่แขก-หลวงปู่คำบุ”ร่วมนั่งปรก หลวงพ่อรวย-พ่อพูน-พ่อเพี้ยนมาด้วย พิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์แรกของปี 2555 คงไม่มีพิธีใดศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังแห่งยุค ทัดเทียมพิธีมหาพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร...@ เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2555 ซึ่งตรงกับวันครู โดยโครงการนี้ชื่อว่า “โครงการจัดสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นคู่บุญ-คู่บารมี” วัตถุประสงค์เพื่อหาทุนทรัพย์นำเงินรายได้ทั้งหมดไปบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างและทำนุศาสนกิจของสงฆ์ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร อ.เมือง จ.ชัยนาท...@ เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าการจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารนั้นจะต้องถูกต้องสมบูรณ์แบบด้วยประการทั้งปวง และต้องเป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์ที่ดีเป็นอันดับหนึ่ง และพระอุโบสถวัดระฆังฯ ได้ว่างเว้นจากพิธีพุทธาภิเษกมานานร่วม 20 ปีแล้ว จึงถือได้ว่าการจัดพิธีสร้างพระสมเด็จรุ่น “คู่บุญ-คู่บารมี” ครั้งนั้นสร้างความตื่นเต้นฮือฮาให้กับวงการพระเครื่องไม่น้อย ประกอบด้วย พิมพ์พระประธาน พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์ปรกโพธิ์…@ เนื่องจากคณะกรรมการจัดสร้างได้อาราธนานิมนต์เกจิชั้นนำระดับประเทศมาร่วมพิธีพร้อมเพรียงกัน เช่น หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี ผู้เปี่ยมด้วยวิทยาคมขลังเปรียบประดุจเทพเจ้าแห่งภาคอีสาน หลวงปู่แขก วัดบางระกำ จ.พิษณุโลก ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เป็นที่กล่าวขานกัน หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี เกจิอาจารย์ผู้นั่งอยู่กลางใจชายชาติทหารรั้วของชาติทุกเหล่าทัพ...@ หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร หลวงปู่ทองดี วัดใหม่ปลายห้วย จ.พิจิตร หลวงพ่อผอม วัดไทรขาม จ.นครศรีธรรมราช ล้วนแล้วแต่เป็นเกจิที่ทรงคุณทางเมตตามหานิยมยิ่ง...@ นอกจากนี้ยังมีเกจิอื่น ๆ ร่วมพิธีอีกมากมายเหลือคณานับประการสำคัญโครงการนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จทั้ง ๗ รูป คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษี เจริญ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร...@ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เมตตาเจิมแม่พิมพ์และจารแผ่นยันต์ พร้อมทั้งอธิษฐานบุญบารมีให้กับโครงการนี้ จึงเรียกได้ว่า โครงการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังรุ่น “คู่บุญ-คู่บารมี” เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ผ่านพระอุโบสถวัดระฆังอย่างยิ่งใหญ่ จึงเชื่อได้ว่าเป็นสุดยอดวัตถุมงคลดังขลังดีอีกรุ่น...@ พระขุนแผนพรายเดี่ยววัดเถรพลาย หลังปั๊มยันต์ เนื้อผงพุทธคุณ รุ่นฝังลูกนิมิตปี2535 วัดเถรพลาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานสำคัญที่ปรากฏเด่นชัดคือ เจดีย์ยุคโบราณก่อด้วยอิฐ ยอดเจดีย์เป็นเนื้อสำริด มีลักษณะดอกบัวหงาย 7 ชั้น ได้รับพระ ราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2534 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 50 เมตร ยาว 50 เมตร ถือเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองสุพรรณบุรี...@ สันนิษฐานตั้งชื่อวัดตามประวัติที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์ แล้วขุนศึกผู้ใหญ่แวะพักรบเพื่อให้ทหารและช้างพลายได้พัก ก่อนที่จะเดินทางไปบ้านหนองสาหร่าย จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัดเถรพลาย ซึ่งมีความหมายว่า ช้างของขุนศึกผู้ใหญ่ และก่อนที่จะเดินทางออกรบเพื่อกระทำยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้สร้าง 'พระขุนแผน' ขึ้น เพื่อมอบเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหาร และส่วนหนึ่งนำบรรจุกรุไว้ที่เจดีย์วัดเถรพลาย ยอดเจดีย์หุ้มโบกด้วยปูนเพราะเกรงว่าข้าศึกพม่าจะทำลายล้างหรือเผาเสีย...@ วัดแห่งนี้ มีคำขวัญว่า 'อุโบสถจัตุรมุข เจดีย์ยุคโบราณ มีดใหญ่ปานภูผา ดูฝูงปลาหน้าวัด ชมทิวทัศน์แม่น้ำท่าจีน' ปัจจุบันมีสิ่งที่โดดเด่น นอกจากเจดีย์เก่าพร้อมยอดเจดีย์ที่เป็นเนื้อสำริดล้ำค่าแล้ว ยังมีมีดตัดลูกนิมิตยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก ทำด้วยเหล็กกล้าขนาดกว้าง 5.99 เมตร ความสูง 1.99 เมตร น้ำหนัก 999 กิโลกรัม...@ ต่อเมื่อปีพุทธศักราช 2535 สมัยที่ 'พระครูสุจิณณสีลาจาร' ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเถรพลาย ค่ำคืนหนึ่งเกิดฝนตกหนัก ได้มีโจรมาลักขุดกรุเจดีย์พบพระขุนแผน แล้วนำไป แต่มีเหตุให้โจรต้องกลับใจนำพระขุนแผนกลับมาส่งคืนให้กับทางวัด จึงเป็นที่ทราบว่าภายในเจดีย์นี้บรรจุพระขุนแผนไว้ และพระครูสุจิณณสีลาจาร จึงได้ประกอบพิธีบวงสรวงเจดีย์ นำพระขุนแผนที่โจรลักไปเป็นมวลสารของการจัดสร้าง 'พระสมเด็จ และพระขุนแผนพิมพ์โบราณ' เพื่อมอบเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่มาร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิตของวัดเถรพลาย...@ โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดเถรพลาย ซึ่งเป็นพระอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 มีพระเถราจารย์ 108 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงปู่บุดดา วัดหนองตางู, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า, หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย, หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง, หลวงพ่อดี วัดพระรูป, หลวงพ่อสม วัดดอนบุปผาราม, หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง, หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์, หลวงพ่ออรรถ วัดองครักษ์, หลวงพ่อสิริ วัดช่องลม, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว, หลวงพ่อพยุง วัดบัลลังก์ และหลวงปู่เจริญ วัดธัญญวารี เป็นต้น...@ พระอธิการสัญทัต รตนญาโณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล่าวว่า คณะกรรมการจัดสร้างพระอุโบสถเรียนว่า พระครูสุจิณณสีลาจาร อดีตเจ้าอาวาส ท่านสั่งไว้ก่อนละสังขาร หากจะบูรณะเสนาสนะหรือพระอุโบสถ ให้นำวัตถุมงคลปี 2535 ซึ่งบรรจุไว้ในกรุใต้ฐานพระประธาน ออกให้ประชาชนร่วมบุญบูชา ทางวัดจึงเปิดกรุใต้ฐานพระประธาน พบโอ่งบรรจุพระสมเด็จและพระขุนแผนพิมพ์ต่างๆ จึงคัดแยกพิมพ์ และก็จัดสมโภชพุทธาภิเษกขึ้นอีกครั้ง โดยมีหลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร เป็นประธานจุดเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก ประกอบด้วย หลวงพ่อวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร บ้านแพง, หลวงพ่อสิงห์โต วัดสาลี บางปลาม้า และหลวงพ่อวัดหนองดง จ.พิจิตร วัตถุมงคลพระสมเด็จ และพระขุนแผนปี 2535 พระขุนแผนปางสมาธิมี 1,000 กว่าองค์ พระขุนแผนปางสะดุ้งมี 400 กว่าองค์ พระขุนแผนห้าเหลี่ยมทรงพลมี 200 กว่าองค์ พระสมเด็จซุ้มเรือนแก้วมีเพียง 124 องค์...@ คอลัมน์นี้ถ้าท่านใดอ่านจบแล้ว กดแชร์ออกไป ทางแอดมินจะนำรายชื่อมาจับแล้วแจกรางวัลเป็นวัตถุมงคล ส่งฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายถึงที่บ้านเลย รอลุ้นด่วน...@

นายขุนโหร

 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page