top of page
ค้นหา

เส้นทางธรรม"หลวงปู่แสง"

รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริอ.อนุชา ทรงศิริ

เส้นทางธรรม"หลวงปู่แสง"

ที่พักสงฆ์ป่าดงสว่างธรรม

พระเถระสาย"หลวงปู่มั่น"


ทีมข่าว"คัมภีร์นิวส์"เปิดประวัติเส้นทางธรรมหลวงปู่แสง จนฺทโชโต (ญาณวโร)​ อายุ ๙๙ ปี

วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร พระปฏิบัติสายพระกรรมฐานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


ท่านเกิดในสกุล"ดีหอม" เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๖๗ ที่บ้านอ. ฟ้าหยาด จ. อุบลราชธานี (๑๗ เมษายน ๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อ อ.ฟ้าหยาด เป็นอ.มหาชนะชัย และเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ อ.มหาชนะชัย ย้ายไปขึ้นกับ จ. ยโสธร จนถึงปัจจุบัน) อายุ23ปีได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๐ ณ วัดศรีจันทร์ อ. เมือง จ. ขอนแก่น ได้ฉายาว่า"จันทโชโต"


เกี่ยวกับฉายาของท่านที่เปลี่ยนจาก “ญาณวโร” เป็น “จันทโชโต" เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ท่านได้เล่าให้ศิษย์ฟังว่า สมัยหนุ่ม ๆได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จ.อุดร ธานี เพื่อไปปักกลดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้นต้องนั่งเรือข้ามห้วยชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่ท่านนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรหล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นมีสูจิบัตรพระอยู่ด้วยและได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ


หลังจากนั้นท่านได้ไปทำสูจิบัตรพระใหม่ซึ่งท่านมาเห็นในภายหลังว่า เจ้าหน้าที่พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดไปเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วท่านได้ใช้ฉายา “จันทโชโต” มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้ท่านใช้ฉายา “ญาณวโร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี


จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๕๗ ท่านมอบหมายให้พระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการ ในการเปลี่ยนฉายาของท่านกลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันทโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของท่าน โดยกล่าวอีกว่า “จันทโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง”


ท่านได้อยู่จำพรรษา และวิเวกธุดงค์ไปหลายที่ทั้งในประเทศไทย ลาว และพม่า โดยมีการบันทึกประวัติการจำพรรษา วิเวกธุดงค์และไปมาหาสู่กับพระรูปต่างๆดังนี้ ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (ช่วงบั้นปลายของอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ)หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ. เลย (พ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๖) พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (พ.ศ. ๒๔๙๗)


หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้งงอ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (๑ พรรษา)

หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (๒๐ พรรษา)

พระอาจารย์แบน ธนากโร ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลาที่วัดธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร หลวงปู่ดูลย์ อตุโลวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์,หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภูจ.อุดรธานี ได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย


หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จ.ขอนแก่น,หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย – ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง

,หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อ.ผืออ.สามพราน และ อ.น้ำโสม,พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตโม, หลวงปู่หล้าเขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ได้วิเวกธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และภูทอก ฯลฯ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ได้จำพรรษาด้วยกัน (พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๓)


ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ จำพรรษา ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำจ.อำนาจเจริญ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ – ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน(เสนาสนป่าโคกค่าย)บ้านหนองไฮน้อย ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจ เจริญ ๑๑ตุลาคม ๒๕๕๒ จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ ๒๑พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา) บ้านห้วยฆ้องตำบลหนองข่า อำเภอ ปทุมราชวงศา จัดหวัด อำนาจเจริญ

๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร


หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่ที่พักสงฆ์ป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ. ป่าติ้วจ.ยโสธร จนถึงปัจจุบัน


ท่านมักให้คำสอนและโอวาทธรรมแก่ศิษยานุศิษย์ อาทิ “ให้เอาชนะกิเลสตัวเอง อย่าไปเอาชนะกิเลสคนอื่น ชนะกิเลสในใจตนได้แล้ว ขี้นชื่อว่าชนะทุกสิ่งในโลกนี้ กิเลสอยู่ขอบฟ้ามหาสมุทรไหนก็ชนะทั้งหมด ถ้าเราชนะตัวเราแล้ว”


สำหรับที่พักสงฆ์ป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ปัจจุบันมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา 15 รูป มีหลวงปู่แสง จนฺทโชโต เป็นหัวหน้าที่พักสงฆ์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ซึ่งที่พักสงฆ์ดังกล่าว ตั้งในเขตพื้นที่ป่าสงวน และอยู่ในขั้นตอนยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวน จำนวน 15 ไร่ เพื่อสร้างศาสนสถาน



 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page