top of page
ค้นหา

คอลัมน์ย้อนรอยเกจิดัง ประจำวันอาทิตย์ที่ 3 มี.ค. 2567 “หลวงพ่อหน่าย” ศิษย์รุ่นสุดท้าย“ปู่ศุข” เกจิวัดบ้านแจ้ง-เจ้าตำรับเครื่องราง"จิ้งจก” อาจารย์หลวงพ่อเพ็ชร วัดประดู่ทรงธรรม

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 3 มี.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

คอลัมน์ย้อนรอยเกจิดัง

ประจำวันอาทิตย์ที่ 3 มี.ค. 2567

“หลวงพ่อหน่าย” ศิษย์รุ่นสุดท้าย“ปู่ศุข”

เกจิวัดบ้านแจ้ง-เจ้าตำรับเครื่องราง"จิ้งจก”

อาจารย์หลวงพ่อเพ็ชร วัดประดู่ทรงธรรม

 

วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งเป็นที่เคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ และวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นได้รับความนิยมกันมาก คือ "หลวงพ่อหน่าย อินฺทสีโล"

ในวงการผู้นับถือพระเกจิอาจารย์ทั้งหลาย คงเป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงพ่อหน่ายเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือกันมาก ทั้งที่นับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องรางของขลัง และนับถือในเมตตาธรรม และวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อ

ท่านจะดังมากในเรื่องของการสักยันต์ ว่ากันว่าชาวอยุธยาที่สักยันต์ที่มีการสักยันต์ในยุคนั้นจะต้องมีรอยสักจากท่านเกือบทุกคน โดยเฉพาะ “ยันต์จิ้งจก” โดดเด่นมากในเรื่องเมตตา มหานิยม

หลวงพ่อหน่าย นับได้ว่าเป็น "จิ้งจกต้นตำรับ" อันดับแรก และเป็นอันดับหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียว ซึ่งมีการสืบทอดสายวิชาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย มาจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ในเรื่องการสักยันต์เก้ายอดที่ขึ้นชื่อลือชา

นอกจากนั้น ท่านยังให้มีการสักยันต์จิ้งจกแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาด้วย มีทั้งสักแบบตัวเดียว สองตัว สามตัว มีทั้งแบบสักด้วยสีดำ แดง และน้ำมัน ผู้ที่สักไปแล้ว ล้วนแต่ได้รับประสบการณ์เรื่องเพศตรงกันข้ามอย่างยอดเยี่ยมยิ่ง

จากนั้นจึงมีการพัฒนาจากการสักยันต์ มาเป็นสร้างเครื่องราง จิ้งจกแบบพกพา และ แบบตั้งบูชา จนเป็นที่กล่าวขาน และโด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศมาแล้ว ยันต์ต่างๆ ที่ท่านลงสักให้ไปนั้น เป็นที่กล่าวขานถึงความคงกระพันชาตรี

 หลวงพ่อหน่าย เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแจ้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร รวมทั้งเกื้อกูลต่ออุบาสก อุบาสิกา มายาวนาน ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กุลบุตรทั้งหลายได้บรรพชาอุปสมบท เป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

 จากวัตรปฏิบัติและเมตตาธรรมที่ท่านได้ให้แก่ลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลายมายาวนาน ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือ ประกอบกับเมื่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลและมีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดผลเป็นสุข ความเจริญ หรือแคล้วคลาดจากภัยพิบัติต่าง ๆจึงทำให้ชื่อเสียงของท่านอยู่ในทำเนียบของพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย

นามเดิมชื่อ “หน่าย” นามสกุล “มีความดี” วันที่เกิดจำไม่ได้จำได้แต่ พ.ศ. 2446 เกิดที่ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายหลาบ มารดาชื่อ นางพลอย จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัด ในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยเจริญ พออ่านออกเขียนได้ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานอยู่กับบ้าน เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านแจ้ง มีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์

 ขณะที่เป็นเณรได้ศึกษาธรรมวินัยและวิชาไสยศาสตร์บ้างเล็กน้อยเพราะอายุยังน้อย กระทั่งอายุครบ 22 ปี ได้เข้าอุปสมบทที่วัดบ้านแจ้ง โดยมีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า “อินฺทสีโล” หลังพรรษาแรกก็เริ่มออกเดินธุดงค์ไปในป่าเขาตามภาคต่าง ๆ ซึ่งมีสัตว์ดุร้ายที่ชุกชุม แต่ท่านไม่มีความเกรงกลัวกับสัตว์ร้ายเหล่านั้นเลย

ท่านเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งขณะที่เดินธุดงค์เข้าไปในป่าได้พบช้างยืนขวางหน้าอยู่ เมื่อเดินเข้าไปใกล้มันได้ใช้งวงของมันมาเกี่ยวจีวรที่ท่านครองอยู่ไปพันกับงวงมัน ท่านจึงก้มลงแล้วหยิบดินขึ้นมาก้อนหนึ่งเสกแล้วโยนไปที่ช้าง ช้างจึงได้วางจีวรลงแล้วเดินหายเข้าไปในป่า โดยมิได้ทำร้ายท่านเลย เมื่อท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่าจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้กลับมายังวัดแจ้งเพื่อเยี่ยมญาติโยม

อยู่วัดบ้านแจ้งได้ 3 เดือนจึงเดินทางไปศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ในช่วงนี้มีโอกาสพบกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับท่านบ้าง แต่ส่วนมากจะได้วิชาจากหลวงปู่ศุข เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังไม่ทันที่จะได้วิชาแขนงสุดท้าย หลวงปู่ศุขก็มรณภาพไปเสียก่อน

แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี แต่ก็เป็นหนึ่งปีที่หลวงปู่หน่ายได้ฝึกฝน ทบทวนสรรพวิชาต่างๆ อย่างเข้มข้น จนถือว่าเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ศุขอย่างแท้จริง

หลังจากนั้นท่านได้ไปศึกษาวิชาเครื่องรางของขลัง และวิชาไสยศาสตร์ต่อกับอาจารย์ย่ามแดง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข หลังจากเรียนวิชาจากอาจารย์ย่ามแดงจนแก่กล้าดีแล้ว จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านแจ้ง ซึ่งในขณะนั้นมี พระครูอนุวัติสังฆกิจ (เคลือบ) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ ในป่าช้านานถึง 20 ปี โดยบอกว่าในป่าช้าเงียบและสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ท่านได้ช่วยพระครูสังฆกิจ(เคลือบ) พัฒนาวัดบ้านแจ้ง ด้วยการสร้างอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ เมื่อพระครูสังฆกิจมรณภาพลง ญาติโยมผู้มีศรัทธา จึงนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ขณะที่มีอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 59 โดยที่ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆทั้งสิ้น ขออยู่อย่างพระธรรมดา

เมื่อครั้งยังมีชีวิต แม้อยู่ในวัยชราภาพมากแล้ว แต่ท่านยังแข็งแรงดี โดยสามารถนั่งพูดคุยกับโยมที่ไปเยี่ยมได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกเหนื่อย รวมทั้งมีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาแก่คน และสัตว์ต่างๆ

ตลอดชีวิตของหลวงพ่อหน่ายได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาช่วยเหลือชาวบ้านและลูกศิษย์อย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นสงฆ์ที่รักสันโดษ ครองบรรพชิตอย่างเรียบง่าย และไม่เคยโอ้อวดตนเอง กระทั่งวาระสุดท้ายท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวันอังคารที่ 10 พ.ค. 2531 สิริอายุ 86 ปี

หลวงพ่อหน่ายได้สร้างเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง อาทิ จิ้งจก,ตะกรุดโทน ตะกรุดมหาอุด พระโมคคัลลาน์ มีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระพุทธโคดมพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก,รูปหล่อ และเหรียญรุ่นต่างๆ อีกหลายรุ่น วัตถุมงคลของท่านที่ลูกศิษย์ลูกหานำไปใช้มักจะเจอกับประสบการณ์ต่าง ๆ หลายรายด้วยกัน

เช่น นายอุบล อยู่ที่แปดริ้ว เขาเองได้ถูกยิงด้วยปืนเอ็ม 16 ที่สัตหีบ ซึ่งคนร้ายจะปล้นเอาทรัพย์สิน แต่คนร้ายไม่อาจที่จะเอาทรัพย์สินของเขาไปได้ เกิดการต่อสู้กันเขาไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด โดยมีเหรียญ หลวงพ่อหน่าย ติดตัวเพียงเหรียญเดียว อีกรายถูกยิงด้วยปืนจุด 38แต่ไม่เข้า เพราะมีเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อติดตัวอยู่

หลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้งได้รับการ คัดเลือกและยกย่อง จากหลวงปู่ดู่ วัดสะแกให้ท่านเป็นหนึ่งใน “พระเกจิจตุรพิธพรชัย” ตามคำปรึกษาของนายเรียน นุ่มดี ผู้จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ จึงเป็นที่มาของเหรียญจตุรพิธพรชัย หลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้ง จะสังเกตว่าเนื่องจากท่านเป็น ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงได้รับการนิมนต์มาปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงปู่ศุขในหลายๆรุ่น

สำหรับศิษย์พุทธาคมของหลวงปู่หน่ายที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือ "หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ" วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา เกจิอาจารย์ผู้สืบสายวิชาแห่งตักศิลาพุทธาคมกรุงเก่า วัดประดู่ทรงธรรม

#ฉัตรสยาม


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page