top of page
ค้นหา

คอลัมน์"ย้อนรอยเกจิดัง" ประจำวันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย. 2567 "หลวงปู่เส็ง จันทรังสี” วัดบางนา ปทุมธานี

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 2 มิ.ย. 2567
  • ยาว 1 นาที

คอลัมน์"ย้อนรอยเกจิดัง"

ประจำวันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย. 2567

"หลวงปู่เส็ง จันทรังสี” วัดบางนา ปทุมธานี

เกจิรามัญ-ศิษย์เอกหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์

เจ้าตำรับ"พญาครุฑ"องค์แรกของเมืองไทย

"ย้อนรอยเกจิดัง"อาทิตย์นี้ขอนำเสนอประวัติ

“หลวงปู่เส็ง จันทรังสี” หรือ"พระครูมงคลธรรมสุนทร" อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนา ต.บางโพธิ์เหนือ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ และเป็นผู้เริ่มทำพระเครื่องวัตถุมงคลของวัดบางนาจนโด่งดังนั่นคือ พญาครุฑและหมูทองแดง

กล่าวสำหรับ วัดบางนา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาสายเถรวาท ทำให้ชาวมอญพร้อมใจสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2350 เดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดบางนา ต่อมาย้ายร่นลงไปอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา วัดมีเสาหงส์อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ

วัดบางนาในอดีตมีชื่อเสียงมาก มีคนไปทำบุญที่วัดมากที่สุด เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ มีพระไปบวชศึกษาเล่าเรียนมาก พระที่วัดต่างก็ถือปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านจึงศรัทธาเลื่อมใสเข้าไปทำบุญกัน

โดยเฉพาะ “หลวงปู่เส็ง” อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ถือว่าเป็นพระที่ได้รับสมณศักดิ์รูปแรก เป็นพระเกจิอาจารย์ที่คนละแวกนี้ทราบกันดีว่า หลวงปู่มากด้วยวิชาอาคม เชี่ยวชาญด้านภาษาขอม และเรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ

ชาติภูมิท่านเป็นคนพื้นเพละแวกวัด เกิดปีพ.ศ.2444 โยมพ่อชื่อ"จู"เป็นชาวจีนล่องเรือสำเภาจากเมืองจีนมาอยู่ที่สามโคกใช้แซ่"บุญเซ็ง" โยมแม่ชื่อ"เข็ม"เป็นชาวรามัญ ครอบครัวมีพี่น้องทั้งหมด 7 คนเสียชีวิตหมดด้วยโรคฝีดาษ ท่านบวชเมื่อปี พ.ศ.2465 โดยท่านเจ้าคุณพระรามัญมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ หรือหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ทัด ลาหุโล เจ้าอาวาสวัดบางนา มีศักดิ์เป็นน้าชายของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า "จันทรังสี"

ท่านเล่าเรียนอักขระเลขยันต์จากพระอาจารย์ต่างๆ และมีการเรียนภาษาขอมและภาษารามัญ ศึกษาเล่าเรียนทั้งสองภาษาจนแตกฉาน นอกจากนี้ ยังไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน สุดยอดเกจิอาจารย์ดังวัดโบสถ์อีกด้วย

หลวงปู่เส็งมีปฏิปทาในการใฝ่หาวิชาความรู้มาก ใครแนะนำสั่งสอนท่านก็จดจำไว้เป็นอย่างดี ท่านเชี่ยวชาญด้านภาษาขอมเป็นพิเศษ เรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ

กระทั่งปี พ.ศ.2486 หลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนามรณภาพ หลวงปู่เส็งได้รับแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสไปก่อน ในปี พ.ศ.2487 สามารถสอบนักธรรมชั้นเอก และ พ.ศ.2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนาอย่างเป็นทางการ

หลวงปู่เส็งให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ท่านก็บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนรุ่งเรือง รับงานการสร้างโบสถ์ต่อจากหลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสองค์ก่อนที่ทำคั่งค้างไว้จนสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี

ท่านเป็นพระปฏิบัติมักจะออกธุดงค์ไปปริวาสกรรมทุกปีมิได้ขาด มีปฏิปทาในทางสมถะ หมั่นบริกรรมภาวนาเจริญพระคาถาวิชาต่างๆ

เล่ากันว่า เวลาว่างจากงานท่านจะนั่งนับลูกประคำที่คล้องคออยู่ บริกรรมพระคาถาตลอดเวลา

หลวงปู่เส็ง เป็นสมภารปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งอายุ 65 ปี จึงเริ่มทำวัตถุมงคล การทำวัตถุมงคลครั้งแรกนั้นท่านสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของวัดบางนา ในปี พ.ศ.2510 หลังจากสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้นออกมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา

นอกจากนี้ก็มีพระกริ่งรูปเหมือน มีทั้งแบบหลังตรงและหลังค่อม เนื้อทองแดงผสม,พระปิดตาเนื้อทองเหลืองผสม,เหรียญรูปไข่ รุ่นขี่วัวเนื้อทองแดงผสม,เหรียญรูปเหมือนพิมพ์จอบเล็กและจอบใหญ่,เหรียญหยดน้ำ เนื้อทองแดงผสม,รูปหล่อเนื้อผงปิดทอง ที่กล่าวมานี้เป็นวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆที่หลวงปู่สร้างขึ้นมานำเงินไปสร้างวัดวังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัย ธานี อีกส่วนหนึ่งได้ทำนุบำรุงหมู่กุฏิเสนาสนะวัดบางนาที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น

สาเหตุที่ท่านไปสร้างวัดวังหินอีกแห่งหนึ่งนั้น ก็เนื่องจากเห็นว่าสมัยนั้นชาวบ้านยากจนมาก ถิ่นที่อยู่ก็ทุรกันดารเป็นแหล่งหลบซ่อนของเหล่าเสือปล้น เกรงว่าชาวบ้านและลูกหลานจะมีนิสัยดุร้ายกันไปหมด

ส่วนวัตถุมงคลแนวเครื่องรางของขลังยอดนิยมก็คือ หมูทองแดง สร้างปีพ.ศ.2521

รูปเหมือนหนุมาน,พญาเต่าเรือน, ปลัดขิก, ตะกรุด,ผ้ายันต์ ฯลฯ

สำหรับในวงการพระเครื่อง หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ได้รับการยกย่องเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกเครื่องรางของขลังอย่าง “พญาครุฑ” ได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดย“พญาครุฑ” รุ่นแรกของท่าน มีเนื้อตะกั่วอาบทองแดง เท่านั้น เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

ครุฑหลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จัดเป็นครุฑรุ่นแรกๆของพระเกจิอาจารย์เมืองไทย ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง "ครุฑ"มีความหมายดีมากมาย มีความกตัญญูกตเวที ทั้งความมั่งคั่ง ร่ำรวย เสริมอำนาจ วาสนาบารมี เมตตามหานิยม และการค้าการขายดี

ครุฑหลวงพ่อเส็งทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก 10 รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี 2522 สลับกับอักขระขอม มีประสบการณ์ดีทางแคล้วคลาดจากปลอดภัย ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมสายพญาครุฑต่างหาวัตุมงคลของหลวงพ่อเส็ง วัดบางนา เพื่อไว้บูชากันอย่างมาก จนมี “ของปลอม” ออกมาระบาดนานแล้ว!

วาระสุดท้ายท่านมรณภาพลงที่โรงพยาบาลคุ้มเกล้า ตึกคุ้มเกล้า เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2531

สิริอายุ 87 ปี ปัจจุบันสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่เส็งยังคงประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว เพื่อให้คนที่ผ่านไปมาได้กราบไหว้ ขอพรเป็นสิริมงคล รวมทั้งขอโชคลาภ

ด้วยกระแสความนิยมในครุฑหลวงปู่เส็ง หลังจากท่านมรณภาพแล้วทางวัดบางนาได้จัดสร้างออกมาอีกหลายรุ่นเพื่อสืบสานตำนานความโด่งดังและนำปัจจัยรายได้มาพัฒนาวัด

ล่าสุดคือ พญาครุฑ หลวงปู่เส็ง รุ่น"รวยมหาอำนาจ" โดยได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท ธรรมอุทยาน จ.กาฬสินธุ์ และหลวงพ่อสุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ.มหาสารคาม ทั้ง 2 ท่านเมตตาเจิมเป็นสิริมงคล และจะทำพิธีเทหล่อนำฤกษ์ในวันจันทร์ที่ 3 มิ.ย. 67 ณ ลานพิธีพลีมวลสาร

โดยพระครูวิศิษฏ์พิทยาคม ปุญฺญวโร หรือ"พระอาจารย์วราห์" วัดโพธิ์ทอง เป็นประธาน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูปร่วมเจริญภาวนาอธิษฐานจิตปลุกเสก

#ฉัตรสยาม


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page