“พระกริ่งพญาราหู”ยอดวัตถุมงคลแห่งยุค
- อ.อนุชา ทรงศิริ
- 8 พ.ย. 2563
- ยาว 1 นาที














ย้อนเหตุการณ์สำคัญพิธีกรรมปี2558 นักสะสมต่างประเทศยังหาบูชาคึกคัก พระกริ่งพญาราหู รุ่นบุญฤทธิ์เจ้าสัวรับทรัพย์ “หลวงพ่อจอน” โคราช มาแรง นักสะสมต่างชาติหาบูชา ชนวนมวลสารสำคัญเพียบ “ญาคูจุณฑ์” มอบแผ่นจารอักขระยันต์ “สุจิตติมา” ตำราสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ และ“สุวรรณชาดวัชระธาตุ-ทองแดงฟ้าผ่า” เป็นชนวนมวลสาระสำคัญเทลงเบ้าหล่อหลอมด้วย
ผู้สื่อข่าวคัมภีร์นิวส์ รายงานว่า วัตถุมงคลแนว “พระกริ่ง” ที่นักสะสมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สนใจถามหาบูชาคึกคัก "พระกริ่งพญาราหู รุ่นบุญฤทธิ์เจ้าสัวรับทรัพย์" จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2558 วัตถุมงคลหลวงพ่อจอน วัดบุญฤทธิ์ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการนำชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ “แผ่นจารอักขระยันต์” ปลุกเสกเข้มขลังของสุดยอดคณาจารย์ดังดินแดนที่ราบสูงมาผสมผ่านพิธีกรรมเททองสูตรโบราณ“หลวงปู่สิงห์ทอง” วัดป่าสุนทราราม ยโสธร “ญาท่านเกษม” วัดเกษมสำราญ อุบลฯ “หลวงปู่อ่อง”วัดสิงหาญ อุบลฯ “หลวงปู่เร็ว” วัดหนองโน อุบลฯ พระครูวัตรป่า (ญาคูจุณฑ์) ต้นตำรับพระขุนแผนพรายกัญญา อุบลฯ “หลวงพ่อจอน” วัดบุญฤทธิ์ โคราช พระคณาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองปากน้ำ เจ้าตำรับพญาวานร “หลวงพ่ออนันต์” วัดบางพลีน้อย สมุทรปราการ พระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองกรุงเก่า “หลวงพ่อรักษ์” วัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระนครศรีอยุธยา และพระอาจารย์พิทยา ปริญญาโณ ศิษย์สายหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม และในครั้งนี้ได้รับความเมตตาจากพระคณาจารย์ชื่อดังสายเขาอ้อจารอักขระแผ่นยันต์ อาทิ พ่อท่านห้อง วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง พ่อท่านอุทัย วัดดอนศาลา จ.พัทลุง พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม จ.พัทลุง พระอาจารย์เสถียร วัดโคกโดน จ.พัทลุง และฆราวาสจอมขมังเวทย์สายสำนักตักศิลาเขาอ้อ "อาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์" ศิษย์พระอาจารย์ปาน ปาลธมฺโม คนสุดท้าย ได้มอบชนวนมวลสารแผ่นจารอักขระยันต์เงิน-ทอง-นาค สายเขาอ้อมาเป็นมวลสารสำคัญในการเททองในครั้งนี้ด้วย
"พระกริ่งพญาราหู รุ่นบุญฤทธิ์เจ้าสัวรับทรัพย์" ได้รับความเมตตาอย่างสูงจาก พระครูวัตรป่า (ญาคูจุณฑ์) ต้นตำรับพระขุนแผนพรายกัญญา เสนาสนะวัตรป่าเจ้าสัว จ.อุบลราชธานี จารอักขระแผนยันต์ สุกิตติมาตำราของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ มอบให้ ประกอบพิธีรับต่อหน้ารูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราช (แพ)
กล่าวสำหรับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านโด่งดังในเรื่อง “พระกริ่ง” โดยเฉพาะ “พระกริ่งใหญ่จีน” ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของพระกริ่งไทย โดยเฉพาะของวัดสุทัศน์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านได้ทรงนำมาใช้เป็นต้นแบบสร้างพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ “พระกริ่งใหญ่” เป็นสุดยอดของพระกริ่งนอกทั้งหมด พระกริ่งใหญ่เป็นพระกริ่งที่สร้างในประเทศจีน ต้นกำเนิดอยู่ที่มณฑล "ซัวไซ" ประมาณว่าสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งนับอายุมาจนถึงปัจจุบันก็พันกว่าปีเลยทีเดียวครับ พระกริ่งใหญ่นี้เป็นที่นิยมกันมากในประเทศจีน จากนั้นได้เคลื่อนผ่านเข้ามายังประเทศเขมร ส่วนหนึ่งได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อครั้งสมัยอยุธยา พระกริ่งใหญ่ สร้างเป็นองค์พระไภษัชคุรุ ในลัทธิมหายาน องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวกลีบซ้อน 2 ชั้น ชั้นละ 7 กลีบ พระหัตถ์ซ้ายถือวชิระ พุทธลักษณะพระกริ่งใหญ่นั้นดูอวบอิ่มสมบูรณ์ จึงขนานนามท่านว่าพระกริ่งใหญ่ และเพื่อเป็นการยกย่องว่าเป็นพระกริ่งยุคเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานสืบค้นได้ พุทธศิลปะที่มองดูจากพระพักตร์ หรือพระเนตรจะเห็นว่าพุทธลักษณะดังกล่าวบ่งชัดว่าเป็นศิลปะที่เกิดจากสกุลช่างจีนบริสุทธิ์ สำหรับ "พระกริ่งพญาราหู รุ่นบุญฤทธิ์เจ้าสัวรับทรัพย์" หลวงพ่อจอน วัดบุญฤทธิ์ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้นำชนวนแผ่นยันต์อักขระยันต์สุกิตติมาของพระครูวัตรป่า ตำรับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) มาเป็นชนวนสำคัญในการหล่อหลอม
จากนั้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 พระครูวัตรป่า(ญาคูจุณฑ์) เจ้าตำรับพระขุนแผนพรายกัญญาอันลือลั่นแห่งเสนาสนะวัตรป่าเจ้าสัว จ.อุบลราชธานี ได้มอบชนวนมงคลอาถรรพ์ “ทองแดงฟ้าผ่า” หรือ “สุวรรณชาดวัชระธาตุ” เพื่อนำไปเป็นเอกอุชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์เททองหล่อ “พระกริ่งพญาราหู” รุ่นบุญฤทธิ์เจ้าสัวรับทรัพย์ ณ มณฑลพิธีวัดบุญฤทธิ์ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่มีหลวงพ่อจอน พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นประธาน ในวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2558
สำหรับ พระกริ่งพญาราหู รุ่นบุญฤทธิ์เจ้าสัวรับทรัพย์ ประกอบด้วย 1.เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 9 องค์ 2.เนื้อเงินก้นเงิน สร้างจำนวน 99 องค์ 3.เนื้อนวโลหะเทดินไทย สร้างจำนวน 199 องค์ 4.เนื้อนวโลหะเต็มสูตร สร้างจำนวน 299 องค์ 5.เนื้อทองชนวน พิเศษอุดผงที่แตกหักจากพระขุนแผนสะดุ้งมาร (กลับ) รุ่นพรายชุมพล ผงจากตะกรุดดับเดือนดับตะวัน และผงพุทธคุณว่าน 108 สร้างจำนวน 499 องค์ 6.เนื้อชนวนเก่าผิวเดิม สร้างจำนวน 1,999 องค์ 7.ผ้ายันต์พญาราหู สร้างจำนวน 999 ผืน
Comments