top of page
ค้นหา

"ย้อนรอยเกจิดัง" ประจำวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค. 2567 “หลวงพ่อพาน สุขกาโม” วัดโป่งกะสัง เกจิดังแห่งกุยบุรี/เหรียญดี-ตะกรุดขลัง

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 17 มี.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

"ย้อนรอยเกจิดัง"

ประจำวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค. 2567

“หลวงพ่อพาน สุขกาโม” วัดโป่งกะสัง

เกจิดังแห่งกุยบุรี/เหรียญดี-ตะกรุดขลัง

"ย้อนรอยเกจิดัง"อาทิตย์นี้ขอนำเสนอประวัติ “หลวงพ่อพาน สุขกาโม” (พระครูประวัติศีลาจาร) อดีตเจ้าอาวาสวัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกะสัง) ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระเกจิอาจารย์ที่

วัตถุมงคลของท่านได้รับการกล่าวขานกันว่า

มีประสบการณ์สุดยอดปลอดภัยในเรื่อง “เหนียว” โดยเฉพาะตะกรุดโทน หรือตะกรุด 9 ปล้อง และเหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ.2519 เป็นที่หมายปองของนักสะสมในท้องถิ่นและต่างถิ่น

ท่านเป็นพระเกจิที่เก่งจริงๆของเมืองไทยอีกองค์หนึ่ง ถึงขนาดหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ เคยกล่าวยกย่องไว้ เมื่อประมาณ พ.ศ.2535 ขณะนั้นหลวงพ่อพาน ยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านโป่งกะสังได้เหมารถบัสใหญ่เพื่อไปนมัสการหลวงพ่อคูณที่วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณได้เห็นเหรียญที่ห้อยคอของผู้ที่ไปนมัสการ จึงถามว่า"หลวงพ่ออะไร" ได้รับคำตอบว่าเป็นเหรียญของหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง หลวงพ่อคูณจึงกล่าวกับผู้ไปนมัสการว่า "พวกเองไม่ต้องมาหาข้าถึงที่นี่ด๊อก มันไกล พ่อพานมึงเก่งยิ่งกว่ากูอีก” หรือแม้กระทั่ง “หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก” ยังต้องยอมท่าน และยังให้ลูกศิษย์ของตนเองไปเอาของดีจากท่าน

หลวงพ่อพานเกิดในสกุล "พุ่มอำภา" เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2454 เป็นชาวบ้านกล้วย ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี อุปสมบท ณ วัดหนองไม้เหลือง เมื่อปี พ.ศ.2475 ต่อมาย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดโป่งกะสัง และเป็นเจ้าอาวาสวัดโป่งกะสัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 เมื่อครั้งยังเป็นสำนักสงฆ์ โดยท่านได้ทุ่มเทพัฒนาวัดโป่งกะสังจนเจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้

หลวงพ่อพานเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติดี จึงเป็นที่รักของพระเถระผู้ใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม เมื่อมีเวลาว่างหลวงพ่อพานจะมาพักที่วัดยาง ถึงแม้ต่อมาหลวงพ่ออินทร์จะได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระเทพวงศาจารย์”และเป็นเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี แต่ความสนิทสนมของหลวงพ่ออินทร์กับหลวงพ่อพาน ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์มากั้น มีแต่ศิษย์พี่ศิษย์น้อง ด้วยหลวงพ่อพานเรียกหลวงพ่ออินทร์ว่า "คุณพี่อินทร์" และได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้หลวงพ่อพานด้วย

นอกจากนี้ ท่านยังไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อทองศุข เกจิดังแห่งวัดโตนดหลวง ศึกษาพุทธาคมแขนงต่างๆจนครบทั้งแคล้วคลาด เมตตามหานิยม คงกระพัน วิชาทำผงพุทธคุณ และวิชาทำตะกรุดต่างๆ

ระหว่างปีพ.ศ.2512-2513 ก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโป่งกะสัง หลวงพ่อพานกับหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรบุรี ชวนกันออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวก ท่านทั้ง 2 รูปเดินธุดงค์ขึ้นทางแก่งกระจานไปออกปราณบุรี เขาสามร้อยยอด กุยบุรี โดยได้ไปถึงน้ำตกมะไฟ บ้านย่านซื่อ และเดินธุดงค์ลงมาที่บ้านโป่งกะสัง ซึ่งสมัยนั้นเป็นพื้นที่สีแดง มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างวัด แต่มีคนเพชรบุรีอพยพมาทำไร่ในแถบนี้เป็นจำนวนมาก หลวงพ่อพานเห็นเป็นสถานที่ที่เหมาะในการปฏิบัติธรรม จึงตัดสินใจพำนักในพื้นที่บ้านโป่งกะสังตามลำพังแค่รูปเดียว ด้วยในสมัยนั้นคอมมิวนิสต์ชุกชุมมาก จึงไม่มีพระองค์ใดกล้าอยู่

ท่านเป็นพระที่เก็บตัว วัดของท่านแทบจะเรียกว่าอยู่ในป่าก็ว่าได้ ทำให้ท่านไม่เป็นที่รู้จักของคนต่างถิ่นมากนัก แต่ในท้องที่กุยบุรีแล้วท่านเป็นอันดับหนึ่งเรื่องคงกระพันชาตรี สุดยอดมหาอุดตลอดกาลเมืองประจวบคีรีขันธ์

วัตถุมงคลยอดนิยมของท่านคือ พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.2494 เมื่อสมัยจำพรรษา ณ วัดหนองไม้เหลือง ตามประวัติที่ท่านเล่าให้ นายอรรตภูมิ สร้อยทอง ซึ่งป็นเด็กวัดและบีบนวดท่านเป็นประจำฟังว่า พระผงรุ่น 1 นี้ พอท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงแล้ว ท่านได้นำผงพุทธคุณไปให้อาจารย์ปลุกเสก แต่หลวงพ่อทองศุขกลับบอกว่า “ไหนๆ ก็เรียนวิชาจบหมดแล้วก็มาปลุกเสกด้วยกันสิ” ท่านจึงได้ปลุกเสกร่วมกับหลวงพ่อทองศุข

ส่วนรุ่นที่ 2 เป็นพระสมเด็จเนื้อผงอีกเช่นกัน จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2511 โดยได้นำผงพุทธคุณรุ่นแรกมาผสมด้วย สังเกตให้ดีมวลสารคล้ายกันมาก โดยรุ่นนี้ได้ปลุกเสกร่วมกับศิษย์ผู้พี่ หลวงพ่อเพลิน ที่วัดหนองไม้เหลือง ต่อมา พ.ศ.2523 ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสัง และนำสมเด็จรุ่นนี้มาแจกชาวอ.กุยบุรี จึงจัดรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของวัดโป่งกะสัง

เหรียญรุ่นแรกสร้างเมื่อ พ.ศ.2519 จำนวนไม่เกิน 10,000 เหรียญ เพราะบล็อกแตกเสียก่อน เหรียญรุ่น 2ฉลองสมณศักดิ์ ปี2526 สร้างจำนวน 5,000 เหรียญ มีเนื้อเดียวเช่นกันส่วนรุ่น 3 สร้าง 3 เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 82 เหรียญเนื้อเงิน 82 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 6,000 เหรียญรุ่น 4 เป็นเหรียญหล่อทองคำ 84 เหรียญ เงิน 500 นวะและทองเหลืองรวม 5,000 เหรียญ โดยเหรียญหล่อนี้ท่านได้นำตะกรุด แผ่นทองแดงที่จารแล้วจำนวนมากและเงินพดด้วง สตางค์รูมาเทหล่อเป็นปฐมฤกษ์ด้วยตัวเองที่โรงหล่อย่านพรานนก

ทั้งนี้ หลวงพ่อพานเป็นพระที่ปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านตลอดไม่มีวาระ ถ้าท่านไม่มีกิจนิมนต์หรือไม่ได้จำวัดที่วัด พลบค่ำท่านจะเข้าห้องพระปลุกเสกตลอด

ตะกรุดของท่านจะลงจารเองทุกดอก และจะลงในพรรษาเท่านั้นและทำแค่ประมาณ108 ดอกแม้ดอกเล็กๆก็มีประสบการณ์มาก ขนาดที่มีผู้ถูกยิงเท่าไรก็ไม่ออก ขนาดโดนจับยิงกรอกปาก ปรากฏว่า กระสุนเข้าปาก ฟันหักแต่กระสุนไปกลิ้งอยู่ในปาก สำหรับตะกรุดโทน มีตำรวจเมืองเพชรฯเอาไปใส่ในกระป๋องนมแล้วล้อมยิงสิบกว่ากระบอก ยิงไม่ถูกเลย

ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อพานที่เล่าขานไม่รู้จบ ในสมัยก่อน วัดโป่งกะสัง มีหลวงพ่อพานอยู่องค์เดียวคอมมิวนิสต์ชุกชุมมากจริงๆ จึงไม่มีพระองค์ใดกล้าอยู่ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดบอกว่า ถ้าได้ยินเสียงปืนมาจากทางวัดรู้ได้ทันทีว่าหลวงพ่อพานโดนยิงอีกแล้ว เพราะว่า ตชด.จะต้องสับเปลี่ยนกำลังพลเป็นประจำ จึงไม่รู้ว่ามีพระเดินจงกลมอยู่"

ในสมัยก่อนมีงานที่วัดจะมีการทำโคมไฟ ส่วนพระก็ทำตะไล ส่วนหลวงพ่อพานได้ทำโคมไฟซึ่งเป็นโคมไฟแขวน เสร็จแล้วท่านก็ให้ชาวบ้านที่ทำตะไล เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟแขวนของท่าน ใครยิงโคมไฟถูกมารับรางวัลจากท่าน ผลปรากฏว่าชาวบ้านที่ทำตะไลมา เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟ ยิงเท่าไรก็ยิงไม่ถูก ยิงจนหมดปัญญายิง

หลวงพ่อพานมรณภาพเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2539 สิริอายุ 84 ปี ปรากฏว่าสรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรจุไว้ในโลงไม้เพื่อให้ลูกศิษย์ได้สักการะตราบจนทุกวันนี้

#ฉัตรสยาม


 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

留言


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page