top of page
ค้นหา

"หลวงปู่คีบ ธีรปญฺโญ" วัดป่าสุทธาวาส เกจิหมอยา-อายุยืน108ปีแห่งอีสานเหนือ ศิษย์"ปู่สนธิ์-ปู่คาร"/สายพุทธาคมปู่สีทัตถ์

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 13 มี.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

"หลวงปู่คีบ ธีรปญฺโญ" วัดป่าสุทธาวาส

เกจิหมอยา-อายุยืน108ปีแห่งอีสานเหนือ

ศิษย์"ปู่สนธิ์-ปู่คาร"/สายพุทธาคมปู่สีทัตถ์

ทีมข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอประวัติ"หลวงปู่คีบ ธีรปญฺโญ"

อายุ 108 ปี วัดป่าสุทธาวาส บ้านค้อ หมู่ 2 ต.บ้านค้อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระดีเกจิดังแห่งอีสานเหนือ ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้ว, หลวงปู่คาร คันธิโย วัดโพธิ์ชัย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อดีต2เกจิศิษย์หลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน วัดพระธาตุท่าอุเทน

พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านค้อ ต.บ้านค้ออ.ท่าอุเทน จ.นคร พนม มีนามเดิมว่า "นายคีบ" นามสกุล"จำปา" เกิดเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2458 ในใบสุทธิและบัตรประชาชนระบุว่าเกิด พ.ศ.2463 ญาติเล่าว่าแจ้งเกิดช้า 4 ปี เนื่องจากสมัยก่อนตัวบ้านอยู่ห่างไกลจากตัว อ.ท่าอุเทน (อ.โพนสวรรค์) ในปัจจุบัน

บิดา-มารดาชื่อนายกวบ และนางปุ้ม เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทร 6 คน ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านค้อ ต.บ้านค้อ อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบันอ.โพนสวรรค์) จ.นครพนม ได้เข้าพิธีบรรพชาที่วัดโพธิ์สุม ต.บ้านค้อ โดยมีหลวงพ่อกงมา เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ศึกษาเล่าเรียนธรรมบาลี ปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ต่อมาได้สมัครไปเรียนนักธรรมตรี ที่สำนักวัดศรีทอง บ้านโพนสวรรค์ ต.โพนสวรรค์ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ในสมัยนั้นมีพระอธิการเกิด เป็นเจ้าอาวาส และพระผู้สอนพระอาจารย์ผัน บ้านรามราช ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

ต่อมา พ.ศ.2478 จึงเข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดโพธิ์สุม ต.บ้านค้อ มีเจ้าอธิการบุญจันทร์ กตปุญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการหนูพิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สวย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังบวชได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติพระกรรมฐานธุดงค์วัตรตามสถานที่ต่างๆ ปลีกวิเวก เข้ากราบศึกษาธรรมกับพระอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้ว หลวงปู่คาร คันธิโย วัดโพธิ์ชัย ซึ่งทั้งสองท่านเป็นศิษย์หลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน วัดพระธาตุท่าอุเทน จวบจนสำเร็จสรรพวิชาต่างๆ จึงลาสิกขาบทออกมาช่วยบุพการีซึ่งแก่ชรา หาเลี้ยงชีพด้วยการทำนา เป็นเสาหลักครอบครัว หลังจากพี่ชายคนแรกเสียชีวิต

ห้วงที่ใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ได้ศึกษาตำรายาสมุนไพร รักษาโรค เป็นหมอธรรมและหมอยา เชี่ยวชาญการใช้ยาสมุนไพร และคาถากำกับในการปรุงยารักษาโรคจนมีความเชี่ยวชาญ

โดยได้สมรสครองเรือนมีบุตรธิดา 2 คน (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว)

ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้ไปจำพรรษาที่วัดชุมพล บ้านพานพร้าว ต.พานพร้าว อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และได้ธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ก่อนจะไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองบัว

ต่อมาในปี 2524 ท่านได้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ได้รับผลสำเร็จนักธรรมชั้นตรี ต่อมาจนจบนักธรรมโท และนักธรรมชั้นเอกเป็นอันสูงสุด และกลับออกมาธุดงค์วัตรเหมือนเดิม จนกระทั่งในปี 2527 ท่านธุดงค์ไปภูเพ็ก ได้สร้างกุฏิไว้หนึ่งหลัง ใช้เวลาหลายปี ก่อนหยุดพักการธุดงค์เพราะอายุที่มากขึ้นและในปี 2531จึงธุดงค์กลับบ้านเกิด จำพรรษาที่วัดโพธิ์สุม ต.บ้านค้อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อยู่สักพักใหญ่

ท่านมีปัญหาด้านสุขภาพไม่สะดวกในการประกอบกิจสงฆ์ ลูกหลานเลยให้ลาสิกขาเพื่อออกมารักษาตัวอยู่พักหนึ่งจนปกติ จึงอุปสมบทอีกครั้งเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2541 ที่พัทธสีมาวัดศรีสว่าง ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ มีพระครูบวรธรรมโมภาส เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเก่ง กามวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอธิการใจ อคฺถากโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลวงปู่คีบท่านเป็นพระนักปฏิบัติและเมตตาสูง อีกทั้งยังเป็นหมอยารักษาคน แม้ท่านจะอายุมากแต่ก็แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพดี อีกทั้งเป็นพระผู้มักน้อย สันโดษ ไม่รับยศตำแหน่งใดๆ ด้วยวัยที่ชรามาก อีกทั้งบุตรธิดาทั้ง 2 คนได้เสียชีวิต ท่านจึงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่วัดในมาตุภูมิ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้านและสาธุชนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธา


 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Комментарии


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page