top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนอ.อนุชา ทรงศิริ

"หลวงปู่ทองสุข ลทฺธเมโธ" วัดหนองฆ้อ พระดีเกจิขลังสายบ้านค่าย ศิษย์ปู่ทิมวัดละหารไร่-ปู่แก้วหนองพะวา

"หลวงปู่ทองสุข ลทฺธเมโธ" วัดหนองฆ้อ

พระดีเกจิขลังสายบ้านค่าย เมืองระยอง

ศิษย์ปู่ทิมวัดละหารไร่-ปู่แก้ววัดหนองพะวา

ทีมข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ร่วมเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณ "หลวงปู่ทองสุข ลทฺธเมโธ" วัดหนองฆ้อ

พระดีเกจิขลังสายบ้านค่าย เมืองระยอง

ย้อนไปในยุคที่หลวงปู่ทิมยังไม่มรณภาพ มีพระสงฆ์ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านกันหลายองค์ ซึ่งในกาลต่อมาล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นรู้จักกันทั่วประเทศทั้งที่มีชีวิตอยู่และมรณภาพไปแล้ว อย่างเช่น หลวงพ่อเชย วัดละหารไร่,หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ,หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ หลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี โดยหลวงปู่ทิมรับเป็นศิษย์เมื่อครั้งจำพรรษาที่วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลวงพ่อบาง วัดหนองกาน้ำ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อทวน วัดแม่น้ำคู้ อ.ปลวกแดง หลวงปู่เย็น วัดหัวชวด หลวงพ่อสูตร วัดเนินกระปรอก ฯลฯ รวมทั้งศิษย์ที่เป็นฆราวาสอีกหลายท่าน

หนึ่งในศิษย์สืบสายพุทธาคมหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบันอีกรูปก็คือ "หลวงปู่ทองสุข ลทฺธเมโธ"หรือนามสมณศักดิ์”พระครูพุทธิศาสก์มุนี” อายุ84ปี 64 พรรษา เจ้าอาวาสวัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง อีกทั้งเป็นศิษย์เอกของ"หลวงปู่แก้ว เกสาโร" พระผู้ทรงพุทธาคมแห่งวัดหนองพะวา

ผู้คนเริ่มรู้จักหลวงพ่อทองสุขเมื่อครั้งพิธีปลุกเสกสีผึ้งพรายแม่ส้มที่วัดละหารไร่ โดยขณะที่หลวงปู่ทองสุขนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกอยู่นั้นได้เกิดปรากฏการณ์น้ำมนต์เดือด และสายสิญจน์ที่ท่านปลุกเสกอยู่นั้นไม่ไหม้ไฟ ปรากฏการณ์นี้ทำให้หลายคนถึงกับตกตะลึงว่า พระเกจิรูปนี้คือใคร? มาจากไหน? เป็นศิษย์หลวงปู่ทิมและหลวงปู่แก้วใช่หรือเปล่า?

จากวันนั้นชื่อเสียงของหลวงปู่ทองสุขก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นตามลำดับ มีกิจนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลายรุ่นทั้งในภาคตะวันออกและกรุงเทพฯ และมีการนำเสนอประวัติของท่านผ่านสื่อต่างๆเรื่อยมาจนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ดังเมืองระยองในยุคปัจุบัน

ชาติภูมิท่านเป็นชาวระยองโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า “ทองสุข” นามสกุล “ขอบอรัญ” เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2479 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปี ชวด เป็นบุตรของนายอ่ำ และนางอวบ เกิดที่บ้านหนองคอกหมู หมู่ที่ 3 ต.ตาขัน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นหมู่บ้านใกล้บ้านค่าย มีหลวงพ่อวงษ์ (อดีต)เจ้าอาวาสวัดหนองฆ้อ โดยท่านจะตามโยมบิดา มารดาไปทำบุญที่วัดบ้านค่ายอยู่เป็นประจำ ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงามเห็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ทำให้เกิดความเลื่อมใสในศาสนา

หลวงปู่ทองสุขท่านมีนิสัยรักความสงบ ชอบศึกษาเรื่องราวเกี่ยวธรรมมะ ประกอบกับมีอุปนิสัยรักสันโดษ และยังชอบเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะตำราว่านยา สมุนไพร เรื่องราวเกี่ยวกับลี้ลับ ตั้งแต่สมัยท่านอายุยังไม่ครบบวช จึงไม่แปลกใจที่ท่านมีความรู้มากมายหลายด้าน เมื่ออายุครบ 21 ปิท่านตั้งใจว่าจะบวชแบบหลวงพ่อวงษ์และศิษย์ของท่าน เมื่อถึงเวลาได้ให้โยมบิดามารดาพาไปฝากวัดและอุปสมบทเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2500 โดยมีพระครูวิจิตรธรรมนุวัติ (หลวงพ่อลัด ) วัดหนองกะบอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสวัสดิ์ กิตฺตวณฺโณ วัดกระบกขึ้นผึ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสร้อย ถิรธมฺโม วัดหวายกรอง เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ลทฺธเมโธ”

หลังอุปสมบทท่านได้กลับไปจำพรรษาที่วัดหนองพะวา สลับกับการไปปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ของท่านที่วัดหนองกะบอก โดยได้เรียนรู้สรรพวิชาต่างๆจากหลวงพ่อลัด ไม่ว่าจะธรรมบาลี ฝึกหัดเรียนอักขระตัวธรรม หัดท่องบทสวดมนต์ พระคาถาต่างๆซึ่งเป็นพื้นฐาน

กล่าวสำหรับพระอุปัชฌาย์ของท่าน “หลวงพ่อลัด” หรือพระครูพระครูวิจิตรธรรมานุกูล วัดหนองกะบอก ต.หนองกะบอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย นับเป็นเกจิอาจารย์ดังขมังเวทย์องค์หนึ่ง เป็นศิษย์สืบทอดสมณศักดิ์ และสืบทอดวิทยาคมจาก 3 อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งภาคตะวันออกคือ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย, หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก และหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ซึ่งทั้ง 3 พระเกจิดังต่างได้รับนิมนต์ไปในพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 150 ปีที่วัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ.2481 ซึ่งพระคณาจารย์ที่ไปนั่งปรกในพิธีนี้ต้องแก่กล้าวิชาอาคมอย่างแท้จริง จึงนับได้ว่าหลวงพ่อลัด เป็นศิษย์ผู้มีความรู้แตกฉานในวิชาอาคมต่างๆ

หลวงพ่อลัดอุปสมบทที่วัดบ้านค่าย โดยมี หลวงพ่อวงศ์เป็นอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาธรรมะและวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อวงศ์ และท่านได้ให้หลวงพ่อลัดไปฝึกวิชากสิณธาตุกับหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จนเพ่งกสิณได้สำเร็จสามารถอ่านหนังสือในห้องมืดได้จากแสงสว่างจากกสิณธาตุ นอกจากนี้ หลวงพ่ออ่ำยังถ่ายทอดวิชาสร้างและปลุกเสกแพะอันเป็นเครื่องรางของขลังเอกลักษณ์ของวัดหนองกะบอกสืบทอดต่อกันมา ถึงขนาดว่าหลวงพ่อลัดสามารถเสกแพะกระโดดออกจากบาตรได้เช่นเดียวกับหลวงพ่ออ่ำ

หลวงปู่ทองสุขท่านมีไหวพริบดี สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและยังอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคยโอ้อวดใครและมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ในระหว่างที่สลับไปมาระหว่างวัดหนองพะวะและวัดหนองกะบอกท่านก็ได้เรียนรู้การฝึกวิปัสสนา ฝึกกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนาอยู่ตลอดเวลาและได้เรียนวิชาจากหลวงปู่แก้ว เกสาโร ไม่ว่าจะวิชาตั้งธาตุ 4 นะ มะ พะ ธะ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่จะเรียน กสิณต่างๆ นอกจากนี้ยังเรียนวิชาสักยันต์ ว่านยา ดูฤกษ์ยาม ฯลฯ

การเขียนอักขระเลขยันต์ หลวงปู่แก้วได้หัดให้หลวงปู่ทองสุขเขียนยันต์ อิติปิโสแปดทิศเป็นยันต์แรก โดยจะให้ท่องพระคาถาไปด้วยในขณะที่เขียนยันต์เพื่อให้เกิดสมาธิและเกิดพุทธคุณ ใช้เวลาหลายวันจนกระทั่งหลวงปู่แก้วเห็นว่าผ่านแล้ว ท่านจึงสอนยันต์ถัดไป หลวงปู่แก้วท่านเคร่งครัดมาก หากยังไม่ชำนาญ ท่านจะไม่สอนต่อและระหว่างที่เรียนก็จะทดสอบอยู่เสมอ

เมื่อหลวงปู่ทองสุขเรียนรู้เกี่ยวกับอักขระเลขยันต์จนชำนาญแล้ว หลวงปู่แก้วจึงเริ่มหัดให้ท่านสักยันต์ โดยยันต์ที่หลวงปู่แก้วสักให้หลวงพ่อทองสุขมีหลายยันต์ เช่น ยันต์อิติปิโสแปด ยันต์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ยันต์หนุมาน ยันต์สาม เป็นต้น ซึ่งการที่หลวงปู่แก้วสักยันต์ให้หลวงพ่อทองสุขนั้นเป็นเครื่องหมายว่ายอมรับการเป็นศิษย์อย่างสมบูรณ์

หลังจากได้รับการสักยันต์จากหลวงปู่แก้วแล้ว ท่านก็เริ่มสักให้ญาติโยมแทนหลวงปู่แก้ว ในการสักแต่ละครั้งต้องดูฤกษ์ยามอันเป็นมงคลที่สุดแล้วค่อยทำการสักยันต์ ในสมัยนั้นจะมีการสักอยู่ 2แบบคือ สักหมึกและสักน้ำมันว่าน เมื่อสักเสร็จแล้วหลวงปู่แก้วท่านก็จะมาบรรจุคาถาอาคมให้เป็นอันเสร็จพิธี

สำหรับหลวงปู่แก้ว เกสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองพะวา ท่านเป็นพระสงฆ์คู่บารมีหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง อดีตเคยเป็นเสือเก่า และเป็นอาจารย์ด้านเวทมนตร์ของเสือในยุคนั้น ท่านได้ละทางโลกไปบวชตอนอายุ 60 ปี โดยมีหลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเคียง วัดไผ่ล้อม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากบวชแล้วท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดละหารไร่, วัดแม่น้ำคู้ และวัดหนองมะปริง โดยแวะเวียนไปจำพรรษาแห่งละ 3-4 เดือนแล้วแต่ความพอใจ

หลวงปู่แก้วมีความเคารพหลวงปู่ทิมมาก ถึงขนาดเรียกท่านว่า”พ่อ”ทั้งๆที่หลวงปู่แก้วอ่อนอาวุโสกว่าหลวงปู่ทิมเพียง 2 ปีเท่านั้น มีคนเคยกล่าวว่า สาเหตุที่หลวงปู่แก้วต้องย้ายวัดจำพรรษาตลอดเวลา เพราะท่านไม่อยากดังกว่าหลวงปู่ทิม

นอกจากเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว หลวงปู่แก้วยังเป็นพระมีวิชาอาคมไม่แพ้เกจิองค์ไหน ท่านจึงถือสัจจะยิ่งชีวิตของท่าน อาคมของท่านจึงไม่เคยเสื่อมไปตามสังขาร ท่านรักในความสันโดษ รักในความสงบ ท่านไม่ใคร่อยู่ที่ไหนนานๆ เที่ยวจาริกธุดงค์ไปที่นั่นที่นี่เพื่อบำเพ็ญสมณะธรรมจนสังขารไม่เอื้ออำนวยในการเดินทางไปมา ท่านจึงเลือก จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองพะวานานกว่า10ปีจึงมรณภาพ และจัดพิธีฌาปนกิจศพท่านที่วัดแห่งนี้

หลวงปู่ทองสุขอยู่จำพรรษาที่วัดหนองพะวานานถึง 5 พรรษา ก่อนเดินทางไปจำพรรษาที่วัดหวายกองอีกหนึ่งพรรษา หลังออกพรรษาท่านเดินทางด้วยเท้าไปสำนักสงฆ์ดอนจันทร์ ในสมัยนั้นไม่ค่อยมีถนนหนทาง มีแต่ป่าไม้ทำให้เดินไปไหนมาไหนไม่ค่อยสะดวก ที่พักสงฆ์ดอนจันทร์หรือวัดดอนจันทร์ เดิมในสมัยโบราณชาวบ้านเรียกว่า “วัดเนินจันทร์” เพราะเป็นเนินเตี้ยๆ สภาพพื้นที่เป็นดินทรายละเอียดและมีไม้จันทน์หอมต้นใหญ่อยู่บริเวณที่สร้างวัด ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดเนินจันทร์”

สมัยก่อนนั้นไม่มีรถและถนนหนทางไม่สะดวกสบาย ชาวบ้านในพื้นที่ต่างเห็นถึงความลำบากจึงตกลงร่วมกันสร้างวัด โดยเริ่มแรกสร้างเป็นกุฎิเล็กๆหนึ่งหลังพอใช้เป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์ และได้อาราธนาพระภิกษุมาจากวัดต่างๆรวมทั้งหมด 7 รูป หลังจากได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดถูกต้องตามระเบียบของทางการแล้ว หลวงปู่ทองสุขท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกเมื่อพ.ศ.2531 โดยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสจนถึงพ.ศ.2518

ในระหว่างจำพรรษาที่วัดดอนจันทร์ได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนวิชาจากหลวงปู่ทิมเป็นเวลาหลายพรรษา รวมทั้งได้เรียนจากจากหลวงปู่แก้วอีกด้วย เพราะหลวงปู่แก้วมักมาที่วัดละหารไร่อยู่เป็นประจำ โดยวิชาที่ได้เรียนจากหลวงปู่ทิมคือการทำน้ำมนต์ ตำราการปลุกเสก วิชาอักขระเลขยันต์ วิชาแพทย์ต่างๆ วิชาด้านสมุนไพรว่านยา หากติดขัดเรื่องไหน หลวงปู่ทิมก็บอกให้ไปหาหลวงปู่แก้วช่วยสอนแทนท่าน

ดังนั้น หลวงพ่อทองสุขจึงได้เรียนวิชาจากหลวงปู่แก้วมากกว่าหลวงปู่ทิม เพราะหลวงปู่ทิมท่านมีลูกศิษย์มาขอศึกษาเล่าเรียนวิชาหลายองค์

ในยุคนั้น หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ท่านก็มาศึกษาเล่าเรียนเวทย์มนต์คาถา ตำราต่างๆจากหลวงปู่ทิมที่วัดละหารไร่ รวมทั้งหลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ ทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยหลวงพ่อทองสุขคอยติดตามหลวงปู่แก้วไปทุกที่ เช่นเมื่อครั้งหลวงปู่ทิม หลวงปู่แก้วไปจำพรรษาที่วัดแม่น้ำคู้ท่านก็ติดตามไปด้วย และร่วมพิธีปลุกเสกเหรียญปิดตาของหลวงปู่แก้วด้วย

หลวงปู่ทองสุขท่านเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านละแวกนั้น และมีศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ท่านมีความจำดีมาก ในเขตอำเภอบ้านค่ายจะรู้จักท่านดี เพราะท่านเป็นพระคู่สวดปาฏิโมกข์ ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคลของท่านนั้นมีมากมาย ทั้งทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรี

ท่านมีลูกศิษย์มากมายทั้งพระสงฆ์และฆราวาส และยังเป็นครูอาจารย์ของเกจิดัง เช่น หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่อนพ วราโภ สำนักปฏิบัติธรรมบ้านสวนขนุน อ.เขาชะเมา ฯลฯ

หลวงปู่ทองสุขเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 เมื่อครั้งจำพรรษาที่วัดดอนจันทร์ โดยจัดสร้างพระสมเด็จ เนื้อกระยาสารท รุ่นแรก กดพิมพ์ด้วยมือท่านเองทีละองค์ จำนวนสร้างไม่มาก และได้แจกลูกศิษย์ชาวดอนจันทร์ ไว้บูชาติดตัว สมัยก่อนคนในพื้นที่ศรัทธาท่านมาก ลูกศิษย์ท่านมีหลายกลุ่มทั้งคนเฒ่าคนแก่และพวกวัยรุ่น

มีเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นวัดดอนจันทร์และวัยรุ่นเจ้าถิ่น ที่ไปเที่ยวงานวัดแล้วเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ถึงขั้นชักปืนมายิงต่อสู้ โดนวัยรุ่นเจ้าถิ่นชักปืนยิง 3 นัด แต่กระสุนไม่ออก ทำให้วัยรุ่นเจ้าถิ่นตกใจ ถึงกลับวิ่งหนี ไปตั้งหลักในหมู่บ้าน และสืบทราบว่าคู่อริที่ยิงนั้นเป็นชาวหนองละลอก และพกของดีคือพระสมเด็จของหลวงปู่ทองสุข

ท่านไม่ชอบถ่ายรูปจึงไม่คอยมีรูปท่าน เพราะท่านมีนิสัยรักสันโดษ และชอบศึกษาความรู้อยู่เป็นประจำ ท่านเป็นผู้มีความจำเป็นเลิศ ไม่ว่าจะมนต์บทไหนเพียงได้ยินแค่ครั้งสองครั้งก็ท่องจำได้แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่รักและเมตตาของหลวงปู่แก้วถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น

ต่อมาในยุคหลวงพ่อนาค วัดหนองพะวา ผู้เป็นศิษย์น้อง หากทางวัดหนองพะวาจัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อนาคต้องนิมนต์หลวงปู่ทองสุขมานั่งปรกอธิษฐานจิตด้วยทุกครั้งทุกรุ่น เพราะเชื่อในพลังพระคาถาอาคมของหลวงพ่อทองสุขที่กล่าวได้ว่าเก่งแทบทุกด้าน

ไม่ใช่แค่วัตถุมงคลของท่านที่เข้มขลังด้วยพุทธคุณ น้ำมนต์ของท่านก็ศักดิ์สิทธิ์ ไม่แพ้กัน เมื่อครั้งท่านมาเริ่มจัดตั้งสำนักสงฆ์หนองฆ้อ ชาวบ้านเกิดเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ ได้มาหาให้ท่านช่วย ท่านก็บริกรรมคาถาทำน้ำมนต์มาพรมให้ อาการผิดปกติก็เริ่มดีขั้นจนหายเป็นปกติ ท่านจึงทำน้ำมนต์ไว้แจกญาติโยมที่เดินทางมากราบนมัสก




ดู 23 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page