top of page
ค้นหา

"หลวงปู่หนูอินทร์ กิตฺติสาโร"วัดป่าพุทธมงคล เกจิรูปสุดท้ายที่ร่วมเสกวัตถุมงคลพิธีใหญ่ พระเครื่อง25ศตวรรษ/สมเด็จ100ปีวัดระฆัง

รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริอ.อนุชา ทรงศิริ

"หลวงปู่หนูอินทร์ กิตฺติสาโร"วัดป่าพุทธมงคล

เกจิรูปสุดท้ายที่ร่วมเสกวัตถุมงคลพิธีใหญ่

พระเครื่อง25ศตวรรษ/สมเด็จ100ปีวัดระฆัง


ทีมข่าว"คัมภีร์นิวส์"ร่วมเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณพระราชศีลโสภิต หรือ"หลวงปู่หนูอินทร์ กิตติสาโร" สิริอายุ ๘๗ ปี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธมงคล ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พระเกจิที่ร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ปี๒๕๐๐ และพิธีพระสมเด็จ๑๐๐ปี วัดระฆังโฆสิตาราม ปี๒๕๑๕ รูปสุดท้ายในกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยังคงดำรงธาตุขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นเกจิหนุ่มเพียงรูปเดียว ๑ใน๑๐๘รูปทั่วทุกภาคที่ได้ร่วมพิธีประวัติศาสตร์ครั้งนั้น


ท่านมีนามเดิมว่า "หนูอินทร์" นามสกุล "ธนคําดี" เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ณ บ้านเลขที่ ๙๖ หมู่ที่ ๑ บ้านหลุบ ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ บิดาชื่อ "นายเกื้อ" มารดาชื่อ "นางผอง" มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา ๗ คน


เมื่ออายุ21ปีเข้าพิธีอุปสมบท ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ วัดโพธิ์ชัย ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยมี พระครูสุขุมวาทวรคุณ (หลวงปู่สุข สุขโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาประพันธ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหากรม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "กิตติสาโร"

ภายหลังอุปสมบทท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างมุ่งมั่น สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก


ผลงานด้านการศึกษา พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นครูปริยัติธรรม สํานักเรียนวัดป่าพุทธมงคล ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นกรรมการอํานวยการสอบธรรมสนามหลวง ที่วัดกลาง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์


ลําดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธมงคล ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะ อําเภอเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเจ้าคณะอําเภอเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระบัญชาแต่ง ๑ ตั้งให้ดํารงตําแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์


ลําดับสมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานเป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูกิตติธรรมสาร พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าคณะอําเภอชันเอก ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ "พระสุขุมวาทเวที"

เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิเป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ "พระราชศีลโสภิต"


"หลวงปู่หนูอินทร์"หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านจนติดปากว่า "พระอาจารย์หนูอินทร์" เป็นพระเถระผู้มีความรู้ด้านวิทยาคม เคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน และแตกฉานในพระธรรมวินัย ด้วยกิตติศัพท์แห่งพุทธาคมทำให้ท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระสงฆ์ที่รักความยุติธรรม ยกย่องคุณงามความดีของบุคคล และฟื้นฟูสภาพจากสำนักวิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลยจนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ "วัดป่าพุทธมงคล"


หลวงปู่หนูอินทร์เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งในบรรดาคณะเกจิอาจารย์สายอีสาน ได้รับกิจนิมนต์ให้เป็น ประธานจุดหรือดับเทียนชัยและนั่งปรก อธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษกมากมายหลายแห่งในปีหนึ่งๆ ทั้งนี้ ท่านเป็นพระเกจิที่ได้รับ

อาราธนาเข้าร่วมปลุกเสกพระเครื่องพิธิใหญ่ตั้งแต่สมัยเป็นพระหนุ่ม นั่นคือพิธีปลุกเสกพระเครื่อง25ศตวรรษ และพิธีปลุกเสกพระสมเด็จ100ปีวัดระฆัง ปี2515 ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาทีเดียว


วัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ของ หลวงปู่หนูอินทร์ กิตติสาโร ล้วนเป็นที่ศรัทธาของมหาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสมเด็จเนื้อผงรุ่นแรก,ปี2511,,พระบูชาพุทธคยามหามงคล พระกริ่ง พระยอดธง,พระผงรูปเหมือนเหรียญรุ่นแรก(นับประคำ)ที่ระลึกในโอกาส งานยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญวัดพุทธคยา อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ปี2518,รูปเหมือน, ตะกรุดโทน ตะกรุดคลอดลูกง่าย ผ้ายันต์มงคลรัตน์ สีผึ้งมหานิยม,ตะกรุด ๙ ดอก เป็นที่เลื่องลือว่ามีพุทธคุณสูง ด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพัน ฯลฯ


สมัยนั้นหลายคนไม่ค่อยเลื่อมใส เนื่องจากท่านแลดูเป็นพระหนุ่มมากเกินไป บางคนได้รับพระสมเด็จรุ่นแรกไปใช้แต่ไม่เชื่อถือ ได้ทดลองยิง แต่ปรากฏว่า ยิงไม่ออก ปืนทั้งบวมยิงไม่ออก ทั้ง ๆ ที่ปืนนั้นเพิ่งซื้อมาใหม่ จึงได้นำพระองค์นั้นไปห้อยคอทันที ต่อมาชายคนนั้น ถูกลอบยิงที่กลางตลาดถึง 3 นัด ปรากฏว่ายิงไม่ออก และตำรวจที่แขวนพระเครื่องของท่านเกิดประสบอุบัติเหตุเหยียบกับระเบิด เสื้อผ้าขาดรุ่งริ่งแต่ไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด


สำหรับวัดป่าพุทธมงคล เดิมชื่อ"วัดพุทธคยา" ตั้งอยู่ที่ ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ บริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ดินที่ชาวบ้านได้สงวนไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ใช้เป็นป่าช้าร่วมกัน เรียกว่า"ป่าช้าดอนบาก"มีเนื้อที่ประมาณ ๓๖ ไร่เศษ ต่อมาเจ้าคุณพิมลธรรม (อาสภเถระ) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ ขณะดํารงตําแหน่งสังฆมนตรีองค์การปกครองสงฆ์เดินทางมาที่ จ.กาฬสินธุ์ ได้ปรารภกับพระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์สมัยนั้น ว่าประสงค์จะให้มีสํานักวิปัสสนากรรมฐานสักแห่งหนึ่งในจ.กาฬสินธุ์


ปรากฏว่ามีผู้เสนอบริเวณป่าช้าดอนบาก ด้วยเห็นว่าไม่ไกลจากตัวเมือง การคมนาคมสะดวกและอยู่ห่างไกลจากชุมชน ทั้งยังเป็นบริเวณป่า มีความวิเวก ร่มรื่นด้วยแมกไม้ธรรมชาติ เหมาะแก่การทําวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ติดต่อสอบถาม และขอความร่วมมือจากราษฎรในหมู่บ้านดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้จัดตั้งเป็นสํานักวิปัสสนาขึ้นเรียกว่า "วัดพุทธคยา" เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗


ครั้นเมื่อตั้งเป็นสํานักปฏิบัติธรรมแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสดูแลสํานักสงฆ์แห่งนี้อย่างเป็นทางการ กระทั่งเมื่อพระอาจารย์หนูอินทร์ได้เริ่มเข้ามาพัฒนาวัดอย่างจริงจัง และรับตําแหน่งเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านได้ศึกษาสําเร็จนักธรรมชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ภายใต้การพัฒนาของท่านทำให้วัดป่าพุทธมงคลได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ และยังเป็น ศูนย์อบรมกรรมฐานอําเภอเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมกันนี้ ท่านยังได้จัดทําพิพิธภัณฑ์ของดีอีสาน อนุรักษ์ศิลปะของเก่าแก่ตามประเพณี


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page