top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนอ.อนุชา ทรงศิริ

"หลวงพ่อครูบาโชคชัย ชยวุฑฺโฒ"วัดน้ำดิบ เกจิคงแก่เรียน-พุทธาคมขลังเมืองชากังราว ศิษย์หลาน"หลวงพ่อเดิม-หลวงพ่ออ่อน"

"หลวงพ่อครูบาโชคชัย ชยวุฑฺโฒ"วัดน้ำดิบ

เกจิคงแก่เรียน-พุทธาคมขลังเมืองชากังราว

ศิษย์หลาน"หลวงพ่อเดิม-หลวงพ่ออ่อน"

ทีมข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอประวัติ"ครูบาโชคชัย ชยวุฑฺโฒ" หรือ"หลวงพ่อโชคชัย" วัดเชตวนาราม(น้ำดิบ) ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร พระเกจิหนุ่มผู้คงแก่เรียน

สืบสายหลายวิชาจากคณาจารย์ดัง และมีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออ่อน วัดหนองไผ่

เรื่องราวชีวิตของครูบาโชคชัย ท่านชื่นชอบในสายวิชาไสยเวทย์ตั้งแต่ครั้งวัยเยาว์ด้วยต้นตระกูลของท่าน(โยมปู่ทวดแท้ๆ)เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดอุปฐากดูแลและเป็นผู้ค่อยจดจำตำราคาถาอาคมมนต์วิชาต่างๆให้กับ

หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล,หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงปู่อ่อน วัดหนองไผ่ ฯ ที่สำคัญท่านมีศักดิ์เป็นเครือญาติ(หลาน) หลวงพ่อเดิม หลวงพ่ออ่อน จึงทำให้โยมปู่ทวดของท่านได้รับการสืบทอดตำรับวิชาคาถาอาคมต่างๆมามากพอสมควร

จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่วัยเรียนโยมแม่ได้

ฝากเข้าบรรพาเป็นสามเณร ณ วัดสามัคยาราม อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อเข้าศึกษาตามแนวทางที่ท่านชอบและเมื่อถึงก็อายุครบก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์

หลังบวชท่านได้เริ่มศึกษาสรรพวิชาคาถาอาคมจากครูบาอาจารย์และตำรับวิชา

หลากหลายด้าน อาทิ สืบตำราจากต้นตระกูลของท่านแบบรุ่นสู่รุ่น จากปู่ทวดวรรณ ผู้เป็นปู่ทวดแท้ๆ ผู้สืบสายตำราสายเมืองนครสวรรค์ จากสำนักวัดสระทะล, วัดเขาแก้ว

วัดหนองโพ, วัดหนองไผ่ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาลบผง หุงสีผึ้ง การสร้างมีดเทพศาสตรา การเล่นแร่แปรธาตุ วิชาปรอท กายสิทธิ์ วิชาว่านยาสมุนไพร ฯลฯ

สืบตำราจากหลวงพ่อพันธ์ วัดเขาล้อ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อมุม

วัดปราสาทเยอ จ.ศรีสะเกษ โดยท่านไปหาหลวงพ่อพันธ์ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณรจนกระทั่งบวชพระ และได้รับถ่ายทอดสรรพวิชาความรู้ให้จนหมดสิ้น อาทิ ตำราตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง,ตำราลบผงหลวงพ่ออ่อน วัดหนองไผ่,ตำราการสร้างเทพศาสตราหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ,การสร้างและเสกปลัดขลิก

สืบตำราจากหลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ

ชาวบ้านละแวกนั้นจะเรียกท่านว่า"หลวงพ่อเดิมน้อย",สืบตำราจากสายวิชาหลวงพ่อคล้าย จนฺทโชโต (พระนิพันธ์ธรรมาจารย์) วัดสามัคยาราม พระเกจิผู้มีเหรียญคู่กับหลวงพ่อเดิม, สืบตำราหลวงปู่เคลือบ สาวรธมฺโม วัดหนองกระดี่ จ.อุทัยธานี เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง

ท่านเคยไปอยู่รับใช้ดูแลหลวงปู่กาหลงเขี้ยวแก้วอยู่หลายปีโดยได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากหลวงปู่กาหลงจนหมดสิ้นจนกระทั่งท่านมรณภาพ รวมทั้งสืบวิชาการชักยันต์กลางอากาศจากหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน สมัยที่ท่านยังอยู่ที่จ.สระแก้ว โดยครูบาโชคชัยได้ติดตามหลวงปู่กาหลงไปและได้รับการแนะนำให้เข้าไปกราบ

ศึกษาการสร้างและเสกพญาแมลงภู่คำ

และเตียนปูชาล้านนาจากพ่อหนาม แม่ทา จ.ลำพูน,ขึ้นวิชาพระกรรมฐานสายวัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, สืบสายวิชาเมืองม่าน(พม่า)จากท่านสล่าจี, ร่ำเรียนวิชาสายยาแดง ( ส่วยหยิ่นจ่อ )และการสักยาสายวิชาของไทใหญ่

วิชาพลิกชีวิตพลิกชะตาด้วยผานไถ ถือเป็นอีกหนึ่งวิชาที่สร้างชื่อเสียงให้กับครูบาโชคชัยเป็นอย่างมาก นั่นคือ "พิธีพลิกชะตากลับดวง"ที่ปัจจุบันมีศิษย์ทั้งไทยและต่างประเทศมาเข้าร่วมพิธีและต่างพบกับปาฏิหาริย์พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ

นอกจากนี้ ท่านยังเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอร่ำเรียนสืบทอดสรรพเวทย์วิทยาคมและรับคำชี้แนะจากครูบาอาจารย์ต่างๆเท่าที่ท่านอนุญาตให้นำมาลงดังนี้ อาทิ️ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ นครปฐม,หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี,หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด, หลวงปู่ชื่น วัดตาอี,หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทาน,หลวงปู่อุ้น วัดตาลกง,หลวงพ่อตัด วัดชายนา,️ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์,หลวงปู่ทุเรียน วัดท่าดินแดง,หลวงปู่ทอง วัดดอนไก่ดี ฯลฯ

แม้ในปัจจุบันท่านก็ยังคงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เสาะหาครูบาอาจารย์และศึกษาสรรพวิชาอาคมอยู่เสมอมิได้ขาด อาทิ

หลวงปู่บัว ถามโก วัดศรีบุรพาราม จ.ตราด , หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ , หลวงพ่อทองหล่อ วัดโพธิ์กบเจา

อยุธยา ฯลฯ

ท่านเป็นเกจิอาจารย์ผู้จัดสร้างเครื่องรางกุมารทอง น้ำมันพรายผมหอม (ขโม๊ด)น้ำมันเนียงสลันได้โด่งดังทั้งในและต่างประเทศมาแล้ว เครื่องรางของขลังหลายต่อหลายรุ่นได้รับความนิยมมากมาย มีประสบการณ์ดีทั้งในและต่างประเทศ

ทุกวันแทบจะตลอดเวลาจะมีสานุศิษย์เดินทางมาขอให้ท่านสงเคราะห์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำมนต์ ถอดถอนคุณไสย การสักยาพระสีวลีพลิกชีวิต ฯลฯ ที่สำคัญท่านไม่เคยเรียกร้องเงินทองแต่อย่างใด

ครูบาโชคชัยจึงนับเป็นพระเกจิหนุ่มที่เปี่ยมด้วยความเมตตา มีวิชาอาคมขลัง แบบที่มีคำกล่าวว่า"พระเก่ง ไม่จำเป็นต้องแก่" ควรค่าแก่การกราบไหว้ หากใครได้มากราบท่านสักครั้งในชีวิตก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว!



ดู 244 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page