top of page
ค้นหา

"หลวงพ่อคล่อง อินทโชโต"เกจิสายเมตตา วัดเขาตาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ศิษย์พุทธาคมพ่อท่านขอม-พ่อท่านจันทร์

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 1 มี.ค.
  • ยาว 1 นาที

"หลวงพ่อคล่อง อินทโชโต"เกจิสายเมตตา

วัดเขาตาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ศิษย์พุทธาคมพ่อท่านขอม-พ่อท่านจันทร์


ทีมข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ร่วมเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณ พระครูปลัดคล่อง อินทโชโต หรือ"หลวงพ่อคล่อง" หรือเรียกขานกันในพื้นที่ว่า"ตาหลวงคล่อง" เจ้าอาวาสวัดเขาตาว (กิตติมศักดิ์) ต.เขาขาว

อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช พระเกจิสายเมตตา แคล้วคลาด ปลอดภัยแห่งเมือง 12 นักษัตร

พื้นเพท่านเป็นชาวต.ท่าขนาน อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2479 ปีชวด (หนูทอง) บิดาชื่อนายคล่อง มารดาชื่อ "นางปลอด" นามสกุล"จ้อนลี่" ท่านได้บวชทดแทนคุณบิดามารดาครั้งที่แรก เมื่ออายุ 23 ปีประมาณ ปีพ.ศ.2502 ที่วัดปากเชียร โดยมีหลวงพ่อบุญคง วัดบางทองคำ อดีตเจ้าคณะอำเภอเชียรใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ขอม วัดปากเชียร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ด้วยอุปนิสัยที่ชอบเรื่องไสยเวทย์เป็นทุนเดิมตั้งแต่วัยรุ่น ท่านเลยมีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่จันทร์ วัดปากเชียร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งสมัยนั้นเป็นที่เคารพของชาว อ.เชียรใหญ่เป็นอย่างมาก รวมทั้งถวายตัวเป็นศิษย์พ่อท่านใส วัดสระไคร


เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่สู้ดี ท่านจึงลาสิกขาออกมาช่วยงานโยมพ่อโยมแม่ และมีครอบครัวอยู่หลายปี ช่วงเป็นฆราวาสก็ยังศึกษาวิชาไสยเวทย์เพิ่มเติมจากโยมบิดา และช่วยเหลือชาวบ้านอยู่เป็นเนืองนิตย์ ท่านได้เจอกับฆราวาสชาวจีนผู้เรืองวิชาสายเวทย์คือ"อาจารย์เพ็งยู เกาะยอ" ที่มีวิชาอาคมหลายด้าน จึงฝากตัวเป็นศิษย์เรียนรู้วิชาอาคมอยู่นานพอสมควร โดยอาจารย์เพ็งยู เกาะยอสอนวิชาให้ทุกๆแขนง แม้กระทั่งวิชาสะกดช้างให้อยู่หมัดที่ท่านหวงแหนมาก


นอกจากเรื่องวิชาอาคมแล้ว สมัยเป็นฆราวาส ท่านก็ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริตทั้งหมด ไม่เลือกงาน ทำทุกอย่าง ตั้งแต่กรรมกร ลูกเรือประมง ทำอิฐ ทำปูน เมื่อประมาณปี พ.ศ.2511 ท่านได้ย้ายถิ่นฐานและครอบครัวมาอยู่บ้านทับนายเหลียว ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ต่อมาจึงเกิดความเบื่อหน่ายทางโลกจึงอุปสมบทครั้งที่ 2 ณ วัดทุ่งส้าน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพ่อท่านครื้น วัดทุ่งส้าน เป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคม จากนั้นท่านได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเขาตาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี 2554 โดยตำแหน่งเจ้าอาวาสมาจนถึงประมาณปี 2563 จีงยกเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์จากพระอธิการ เป็น "พระครูปลัด"


ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ที่สนิทฟังว่า เมื่อก่อนบ้านเขาตาวเป็นป่าทึบรกชัฏมีสัตว์ป่าอยู่มากมาย เช่น เสือ หมูป่า แม้กระทั่งช้างป่า โดยท่านเคยประชันหน้ากับช้างป่าหลายครั้ง แต่ท่านไม่เคยหวั่นกลัว ด้วยหัวจิตหัวใจที่แน่วแน่ต่อคำสอนของครูบาอาจารย์ถึงวิชาสะกดช้างให้เชื่อง และเชื่อฟัง ช้างหลายๆเชือกและทุกๆเชือกจึงสยบให้ท่านทั้งหมด ท่านยังบอกว่า สมัยก่อนตอนเป็นฆราวาส หากไม่มีวิชาเพื่อเอาไว้ป้องกันตนเอง ยิ่งเป็นนักเลงแล้วก็ยิ่งอยู่ยาก ท่านจึงสนใจวิชา อาคมมาตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่นเลยก็ว่าได้


ปัจจุบันด้วยวัยที่มีถึงอายุ 89 ปี 19 พรรษา แต่หลวงพ่อคล่อง หรือตาหลวงคล่อง (ตามชาวบ้านในพื้นที่เรียกกัน) ยังมีสุขภาพแข็งแรง สามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้ตามปกติ นับว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระผู้อยู่แบบสมถะ พระผู้มีแต่ความเมตตาอีกรูปหนึ่งที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ


สำหรับวัดเขาตาวตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ประมาณปี พ.ศ.2504 นายเสรี กาณจนบรรณ ครูใหญ่บ้านเขาตาวในขณะนั้น ได้นิมนต์พระภิกษุทองคำ จากวัดไตรวิทยาราม อ.ทุ่งสง มาพำนักที่โรงเรียนบ้านเขาตาว โดยมีชาวบ้านช่วยกันสร้างที่พักชั่วคราวขนาดเล็ก 1 ห้อง บนที่ดินของโรงเรียนบ้านเขาตาว พระภิกษุทองคำ เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนในพื้นที่ จากนั้นท่านได้นำพระภิกษุมาอยู่เป็นเพื่อนอีก 2-3 รูป ประชาชนในพื้นที่ก็ร่วมกันสร้างที่พักอีก 2-3 หลัง และช่วยกันปรับปรุงสถานที่ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้แก่พระภิกษุ


ต่อมาปีพ.ศ.2506 นายเสรี กาณจนบรรณ ขอลาออกจากราชการ ทางราชการจึงได้แต่งตั้ง นายมณี แก้วประเสริฐ ให้ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่แทน (ขณะนั้นมีครูเพียง 2 คน) ทั้งนายเสรีและนายมณีก็ยังทำหน้าที่ดูแลพระสงฆ์ต่อไป เมื่อชาวบ้านดำริสร้างเป็นวัดถาวรด้านหน้าหน่วยสหกรณ์นิคมทุ่งสง นายนำ หมื่นศรี ได้จัดสรรสถานที่สำหรับสร้างวัดให้ใหม่ก็คือที่ตั้งวัดเขาตาวในปัจจุบัน จากนั้นได้ช่วยกันสร้างกุฎิและศาลาโรงธรรมแล้วย้ายจาดที่พักสงฆ์เดิมมาอยู่ที่ใหม่


พระภิกษุทองคำได้มาอยู่ที่ใหม่นี้ประมาณ 2-3 ปีก็กลับไปอยู่ที่วัดไตรวิทยาราม ทำให้ขาดประธานสงฆ์ไปชั่วคราว ต่อมา นายเสรี กาญจนบรรณ ได้นิมนต์พระภิกษุแคล้ว จากวัดวังขลี อ.ทุ่งสง มาเป็นประธานสงฆ์ ท่านเป็นพระปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ จึงเป็นที่ศรัทธาของประชาชน ชาวบ้านจึงร่วมมือกันพัฒนาวัด ส่งบุตรหลานเข้ามาบวชเรียนทำให้มีพระสงฆ์จำพรรษาอย่างต่อเนื่องมาทุกปี

ประมาณปี พ.ศ.2525-2530 พระภิกษุส้อง เป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ.2534-2548 พระภิกษุคล่อง อินฺทโชโต เป็นเจ้าอาวาส หลังจากนั้นประมาณ 2 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอธิการคล่อง อินฺทโชโต


ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2563 ได้มีคำสั่งให้ พระภิกษุคล่อง อินฺทโชโต ขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ และแต่งตั้งพระมหานิรันดร์ ปิยธมฺโม นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาตาว จนถึงปัจจุบัน (เอกสารอ้างอิงหนังสือคู่มือพุทธบริษัทของวัดเขาตาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช)


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page