top of page
ค้นหา

"หลวงพ่อปลื้ม"วัดสวนหงส์ เกจิดังบางปลาม้า-วาจาสิทธิ์

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 18 มิ.ย. 2565
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 19 มิ.ย. 2565

"หลวงพ่อปลื้ม"วัดสวนหงส์

เกจิดังบางปลาม้า-วาจาสิทธิ์

หลวงพ่อคูณยกย่อง"เก่งกว่ากู"

อาจารย์ของหลวงปู่สิงห์ วัดตปะฯ


พระครูสุมนคณารักษ์ หรือ"หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต" อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ (พ.ศ. 2491-2545) อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ชาว อ.บางปลาม้าให้ความเคารพนับถือมาก


ท่านเกิดในสกุล “ศุภพินิจ” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ต.ค. 2450 ที่บ้านยอด ต.เก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายสนและนางชื่น ศุภพินิจ เมื่ออายุ 14 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ถัดมาอีกหนึ่งปี บรรพชาอีกครั้งที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็น พระอุปัชฌาย์


ท่านอยู่จำพรรษาที่คณะ 1 เล่าเรียนจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในปี พ.ศ.2469 และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ.2471

กระทั่งอายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่ วัดมหาธาตุ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระญาณสมโพธิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระนิกรมุนี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จิตตสัญญโต”


ด้วยความที่สนใจใฝ่ในการศึกษา และมีวิริยอุตสาหะ จึงสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ.2474 จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

แล้วถูกส่งให้ไปช่วยสอนธรรมบาลีที่วัดเจ้าเจ็ดใน และวัดโคกทอง


ที่จ.พระนครศรีอยุธยา ได้พบกับ"ครูจาบ สุวรรณ" ซึ่งเป็นฆราวาส เป็นอาจารย์สอน กัมมัฏฐานอยู่วัดประดู่โรงธรรม (ประดู่ทรงธรรม) ตัวท่านมีความสนใจในเรื่องของภาวนาจิตอยู่แล้ว จึงขอเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ประมาณ 4 ปี แล้วเดินทางไปอยู่ยังวัดต่างๆ เพื่อหาที่วิเวกในการปฏิบัติธรรม


พ.ศ.2484 ไปอยู่วัดกล้วย อ.กรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2485 อยู่วัดถ้ำตะโก เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ประมาณ 4 เดือนแล้วเข้าไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุ

พ.ศ.2486 จำพรรษาที่สำนักสงฆ์เขาพระ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี แล้วมาวัดขวาง อ.บางปลาม้า ก่อนย้ายไปอยู่วัดปราสาททอง อ.เมืองสุพรรณบุรี


พ.ศ.2488 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระวินัยธรจังหวัด มีหน้าที่ตัดสินคดีความในเขต 7

ในวันที่ 27 ก.ค.2491 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสวนหงส์ และเจ้าคณะตำบลโคกคราม พ.ศ.2494 ได้ เป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ 5 ธ.ค.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสุมนคณารักษ์” เป็นพัดพิเศษจปร. ซึ่งเป็นพัดแรกของวัดราษฎร์ และเป็นพัดรุ่นสุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่ง


กว่าค่อนชีวิตของท่านเป็นครูสอนนักธรรมแก่พระเณรมาโดยตลอด ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านก็ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ชอบเดินจงกรม กำหนดจิตให้เป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าหลวงพ่อปลื้มเป็นพระที่ดุ แต่โดยส่วนลึกในจิตใจของท่านนั้น มีเมตตาแก่ทุกคนที่แวะเวียนไปกราบไหว้ ผู้ที่เดือดร้อนเป็นทุกข์ทางใจไปหาท่าน หลวงพ่อจะพรมน้ำมนต์ให้ เรื่องร้ายมักผ่อนคลาย แถมโชคดีอีกต่างหาก


เรื่อง ราวของหลวงพ่อปลื้ม ชาวบ้านกล่าวขานกันมาตลอด ด้วยความเป็นพระครูที่มีลูกศิษย์มาก ชาวบ้านจึงเคารพยำเกรงท่าน เป็นพระที่ชาวบ้านรักและนับถือมากเป็นที่สุด มีเรื่องเล่ากันว่า คนสุพรรณที่เคยไปกราบหลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ยังต้องถูกสั่งสอนว่า “มึงไม่ต้องมาถึงกูหรอก ไปกราบหลวงพ่อปลื้ม อาจารย์กูที่วัดสวนหงส์ก็พอแล้ว" 


เมื่อครั้งที่มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ สมัยนั้นวัดสวนหงส์มีสภาพเป็นวัดเล็กๆ ทรุดโทรม หลวงพ่อจึงซ่อมแซมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ด้วยความป็นพระผู้คงแก่เรียน มากด้วยวิชาอาคม มีญาณสมาบัติแก่กล้า ท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวผู้ใด เล่ากันว่า มีหลายคนที่ท่านว่ากล่าวด้วยเพราะเหลือวิสัยจริงๆ ผู้นั้นมักมีอันเป็นไปตามวาจา จึงเชื่อกันว่า หลวงพ่อปลื้มวาจาสิทธิ์


หลวงพ่อปลื้มอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ศิษยานุศิษย์ ชาวบ้านบางปลาม้า จนกระทั่งวันที่ 23 มีนาคม 2545 ท่านจึงละสังขาร ด้วยอาการสงบ เนื่องจากหัวใจล้มเหลว สิริอายุรวม 94 ปี 5 เดือน 7 วัน ปรากฏว่าสังขารไม่เน่าเปื่อย ในระหว่างที่สวดศพตลอด ๙ วัน มีเหตุอัศจรรย์ คือ ผึ้งหลวงและผึ้งธรรมดา บินรอบศาลา และตกลงมาตายจำนวนมาก


ปัจจุบัน สรีระของหลวงพ่อสงบนิ่งในโลงแก้ว ภายในหมู่กุฏิใหญ่ สรีระของท่านเพียงแต่แห้งไปเท่านั้น ไม่เน่าไม่เปื่อยแต่อย่างใด มีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้ รับวัตถุมงคลไปบูชา ด้วยความศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลายกันไม่ขาด


สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อ ปลื้มนั้น เนื่องจากหลวงพ่อเป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่นิยมการสร้างวัตถุมงคลแต่อย่างใด "พระปลัดประสิทธิ์" ผู้คอยปรนนิบัติรับใช้ ได้จัดการสร้างวัตถุมงคลออกมาแจกจ่าย ตามวาระอันควร โดยทุกรุ่นได้ให้หลวงพ่อปลื้มปลุกเสกเดี่ยว วัตถุมงคลจองท่านมีประสบ การณ์ออกไปในทางแคล้วคลาด ค้าขายเจริญรุ่งเรือง


โดยเฉพาะวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงพ่อปลื้ม เป็นเหรียญใบเสมา เนื้ออัลปาก้า จัดสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ เหรียญนี้หายากมาก มีผู้ได้รับประสบการณ์แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถหลายราย!


สำหรับศิษย์ที่สืบสายวิชาของหลวงปลื้มที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือ พระครูสุวรรณกิจจาทร หรือ"หลวงปู่สิงห์ อภิชาโต" อายุ 89 พรรษา 63 ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลมะขามล้ม และเจ้าอาวาสวัดตปะโยคาราม ต.มะขามล้ม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page