top of page
ค้นหา

เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร ห่วงเชื่อมย้อนยุค รุ่น"มหาพุทธานุภาพ(สองราช) วัดธรรมามูล สืบสานตำนานรุ่นแรก

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 2 ต.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร ห่วงเชื่อมย้อนยุค

รุ่น"มหาพุทธานุภาพ(สองราช) วัดธรรมามูล

สืบสานตำนานรุ่นแรก"หลวงปู่ศุข"ปลุกเสก

วัดธรรมามูลวรวิหาร ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาธรรมามูลริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด ชัยนาท เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เป็นวัดที่กษัตริย์แห่งวงศ์สุโขทัย (พระร่วง) หรือพระมหาธรรมราชาเป็นผู้สร้าง มีหลักฐานคือ พระพุทธรูปบูชาบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ที่พังลงมา และพระเครื่อง (พระร่วง) เป็นจำนวนมาก อีกอย่างหนึ่งมีใบเสมาคู่ เป็นศิลปะสมัยอยุธยาเป็นหลักฐาน

ในพระวิหารประดิษฐาน “หลวงพ่อธรรมจักร” ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ เป็นศิลปะประยุกต์สมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานรูปดอกบัว พระหัตถ์ขวาทรงยกขึ้นเสมอพระอุระหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ

จังหวัดชัยนาทได้นำสัญลักษณ์พระธรรมจักรมาเป็นสัญลักษณ์และตราประจำจังหวัดชัยนาท ซึ่งน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดธรรมามูลถือว่าเป็นน้ำศักดิ์นำไปใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เคยเสด็จพระประพาส รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระบรมราชินีนาถยังได้เสด็จมานมัสการหลวงพ่อธรรมจักรที่วัดแห่งนี้ด้วย

ความเป็นมาของหลวงพ่อธรรมจักร ไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อธรรมจักร หลวงพ่อพระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา และหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม ลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยามาพร้อมกัน ๓ องค์ เมื่อลอยผ่านบริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร หลวงพ่อลอยวนเวียนไม่ไปไหน พระสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานในวิหาร แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังปรากฏว่าหลวงพ่อขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่ประตูทางเข้าวิหารได้เองสุดอัศจรรย์อยู่ได้เพียง ๓ วันก็หายไป กลับมาใหม่มีโคลนและจอกแหนแปดเปื้อนมาด้วย ชาวบ้านจึงตัดสินใจนำโซ่มาล่ามเอาไว้ป้องกันหลวงพ่อหายไปอีก

จากนั้นไม่นานมีชายต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือตามหาพระพุทธรูป จนเจอหลวงพ่อธรรมจักรที่วัดธรรมามูลวรวิหาร ระหว่างพักค้างแรมที่วัดฝันไปว่าหลวงพ่อขออยู่ที่วัดธรรมามูลวรวิหาร รุ่งเช้าชายต่างถิ่นจึงขอถอดจักรที่ฝ่าพระหัตถ์องค์พระและเดินทางกลับไป นับแต่นั้นหลวงพ่อก็ไม่หายไปไหนอีกเลย ทุกวันนี้มีผู้คนแวะไปกราบไหว้ขอพรทุกวัน...

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฎิหาริย์จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคลแทนองค์ท่านออกมาหลายรุ่นนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยเหรียญยุคแรก ปี2461และปี2463 นับเป็นเหรียญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำจังหวัดชัยนาท และเป็นหนึ่งในเหรียญพระพุทธยอดนิยมของวงการ ซึ่งทันหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระอาจารย์ของเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ ซึ่งมีการบันทึกการจัดสร้างและพิธีการปลุกเสกไว้ด้วย

ในเหรียญชุดหลวงพ่อธรรมจักรที่มีการสร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมขึ้นในปี พ.ศ. 2461 แบ่งเป็นพิมพ์ ดังนี้ 1.พิมพ์น้ำเต้ายันต์ข้าง พบเห็นน้อยมาก 2.พิมพ์น้ำเต้าหน้าแก่ 3.พิมพ์น้ำเต้าหน้าหนุ่ม โดยในพิมพ์น้ำเต้านี้มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง 4.พิมพ์อาร์มหน้าใหญ่ 5.พิมพ์อาร์มหน้าเล็ก ในส่วนของพิมพ์อาร์มนี้มีทั้งเนื้อเงิน เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อทองแดง

ด้านพุทธคุณเหรียญหลวงพ่อธรรมจักรนั้น มีดีทุกด้าน “พุทธคุณครอบจักรวาล พิชิตอุปสรรคทั้งปวง”

ปี2566นี้ ทีมงานสะพานบุญ ศุภสินกรุ๊ป จังหวัดชัยนาท ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล “เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร รุ่นมหาพุทธานุภาพ (สองราช) 2 พิมพ์ ห่วงเชื่อมย้อนยุค ปี 2461 และปี 2463 วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างหลังคาโดมคลุมเมรุ วัดธรรมมามผูล

โดยจัดพิธีเททองพลีชนวนมวลสารไปเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 66 มีพระครูศรีชโยดม (อภินันท์ อริยธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท (วัดหลวงปู่ศุข) เป็นประธาน

รายการจัดสร้างเนื้อเซอร์ไพรส์ ทั้งหมดรวมประมาณ 20 เหรียญ ใน 1 ลัง มี100 เหรียญ ทำ 2 พิมพ์ เหรียญทองแดง ใน 1 ลังมีลุ้น เซอร์ไพรส์ มากมาย ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2566 นี้เท่านั้น งานเซอร์ไพรส์ขณะนี้ ห่วงเงิน เชื่อมเงิน ห่วงทองคำ 96.5% เชื่อมเงินประสาน =1 เหรียญโรยตะไบทองคำ96.5%= 1 เหรียญ โรยตะไบ เงิน =1 เหรียญ โรยตะไบ มหาชนวน= 1 เหรียญ ฝังพลอย = 1 เหรียญ ขอบสตางค์= 5 เหรียญ.. ลุ้นเหรียญทองคำ 96.5%=2เหรียญ (ทองคำ พิมพ์ละ 1เหรียญ เหรียญทองแดง ตอกโค้ดหน้าเหรียญ เพื่อลุ้นเหรียญทองคำ =พิมพ์น้ำเต้า 5เหรียญ+=พิมพ์เสมา(โล่ห์) 5เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อธรรมจักรรุ่นนี้จัดสร้างด้วยเจตนาดี...ชนวนมวลสารดี...พิธีเข้มขลัง

รูปแบบพิมพ์ทรงคงเอกลักษณ์เหรียญยุคแรก แตกต่างตรงเนื้องานการผลิตที่ประณีตบรรจง คงความงดงามตามยุคสมัยใหม่ ที่โดดเด่นก็คือ เป็นงานห่วงเชื่อมที่ไม่ค่อยมีจัดสร้างในยุคปัจจุบัน นับเป็นอีกหนึ่งตำนานงานย้อนยุคที่งดงามด้วยพุทธศิลป์ เข้มขลังด้วยพุทธคุณควรค่าแก่การบูชาอย่างยิ่ง


 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page