top of page
ค้นหา

"หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร” เกจิวัดหนองตางู ร่วมรุ่น"พ่อกวย"/ศิษย์เอกสายตรง"พ่อเดิม"

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 9 ก.ค. 2566
  • ยาว 2 นาที

"หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร” เกจิวัดหนองตางู

ร่วมรุ่น"พ่อกวย"/ศิษย์เอกสายตรง"พ่อเดิม"

อาจารย์ของ"หลวงพ่อแก่"วัดดงแม่นางเมือง

หนึ่งในเกจิดังเมืองปากน้ำโพสายแคล้วคลาด เมตตามหานิยม.... พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ หรือ”หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ศิษย์พุทธาคมหลวงปู่เฮง วัดเขาดินใต้,หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และหลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน สหธรรมิกร่วมรุ่นกับหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม เมื่อครั้งไปเรียนวิชาจากหลวงพ่อเดิม "เทพแห่งเมืองปากน้ำโพ"

ชาติภูมิท่านเป็นชาวบ้านท่ามะกูด ต.วังเมือง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เกิดในสกุล”สาริกิจ” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ก.ค. 2452 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 10 คน ของนายสิงห์ และนางแถม ต่อมาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่บ้านวังกระชอน ต.หูกวาง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เมื่ออายุ 7 ขวบได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านวังกระชอน ช่วงนั้นครอบครัวยากจนมากต้องช่วยเหลือตนเองจนจบชั้น ประถมศึกษาปี่ที่ 4 ต้องออกมาช่วยครอบครัวทำไร่ ทำนา

กระทั่งอายุ 20 ปีได้เข้าอุปสมบท ณ วัดเขาดินใต้ อ.บรรพตพิสัย ( ปัจจุบันเป็นอ.เก้าเลี้ยว) จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2472 โดยมีพระครูพิสิษฐสมถคุณ หรือหลวงปู่เฮง เป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับตั้งปณิธานไว้ว่า เมื่อได้บวชแล้ว ถ้าศีรษะไม่ล้านถึงท้ายทอยจะไม่ยอมลาสิกขาบท พรรษาแรกท่านจำพรรษาที่วัดวังกระชอนและเกิดป่วยหนักแทบเอาชีวิตไม่รอด จนพ่อแม่ญาติพี่น้องขอร้องให้สึกออกมารักษาตัว แต่ท่านไม่ยอม ขอยอมตายในผ้าเหลือง

ประมาณปีพ.ศ.2484 ท่านได้เข้าศึกษาพระธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่นาค เป็นเจ้าอาวาส จนจบปริเฉท 9 และเข้าปฏิบัติวิปัสสนากับท่านเจ้าคุณสังฆมนตรี (พระพิมลธรรม) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ อีก 2 พรรษา จากนั้นได้ออกธุดงค์เพื่อจาริกปฏิบัติธรรมไปถึงอีสานเหนือ เลยไปถึงประเทศลาว และจีน

หลวงปู่พิมพาสนใจการเรียนตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ 17 ปีได้เรียนวิชาอาคมต่างๆจากอาจารย์ที่เป็นฆราวาสคือ"อาจารย์สา" และ"อาจารย์โสภา" คนเฒ่าคนแก่บ้านวังกระชอน อีกทั้งเรียนด้านสมุนไพรใบยาแผนโบราณรักษาผู้ป่วยด้วย

นอกจากนี้ ยังฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคมขลังกับพระเกจิอาจารย์ชื่อหลายองค์ เริ่มจากหลวงปู่เฮง วัดเขาดินใต้ พระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องคาถาอาคมและเป็นต้นตำรับวัตถุมงคลงาแกะสลักที่เลื่องชื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงเคยแวะสนทนาธรรมกับท่านที่วัดและนิมนต์ร่วมงานราชพิธีหลายครั้งและทรงแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นพิเศษและพระอุปัชฌาย์ทั่วประเทศ

หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี หลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่ อ.ทับทัน จ.อุทัยธานี เกจิวาจาศักดิ์สิทธิ์ เสกเหล้าจืด ปัจจุบันยังมีผู้บนบานศาลกล่าวท่านด้วยสุราขาวกับมะขามเปียก

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เทพเจ้าแห่งปากน้ำโพ หลวงปู่พิมพาได้ศึกษาการลงตะกรุด มีดหมอ รวมทั้งเวทย์มนต์ต่างๆถึง 5 พรรษา โดยศิษย์ร่วมรุ่นที่รู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีคือ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท

หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เกจิชื่อดังเมืองสองแควอายุยืนถึง 106 ปี มีวิชาอาคมขลังและอิทธิฤทธิ์มากอีกองค์หนึ่ง สามารถเสกข้าวสารให้เป็นทอง “พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์” อธิบดีกรมการศาสนาในสมัยนั้น กับนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในสมัยนั้น ได้เดินทางไปพิสูจน์ถึงวัด เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2508 และยอมรับว่ามีจริง

หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี พระภิกษุสงฆ์ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพ และเลื่อมใสศรัทธา ประวัติของท่านไม่ได้บันทึกไว้ชัดเจน เป็นเพียงการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ท่านธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ชายป่าด้านเขาสาริกา เมื่อประมาณปลายปีพ.ศ. 2430 โดยไม่มีใครทราบว่าท่านมาจากไหน โดยเป็นผู้ทรงศีลที่มีฌานสมาบัติขั้นสูง ท่านบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในท่านั่งยอง ๆ เป็นเวลายาวนานติดต่อกันคราวละ 7 – 14 วัน โดยไม่ลุกไปไหน ไม่ฉันอาหาร น้ำ หรือแม้แต่การถ่ายหนัก ถ่ายเบา เป็นเรื่องที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้แก่ผู้พบเห็น

จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ หลวงปู่พิมพาเป็นพระนักพัฒนาในหลายๆด้าน เช่น สร้างโรงเรียนสถานีอนามัยและสิ่งสาธารณประโยชน์หลายอย่าง ด้านแหล่งน้ำ ในอดีตชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องน้ำมาก แถวบ้านหนองตางูและใกล้เคียงกันดารน้ำแบบสุดๆ หลวงปู่พิมพาท่านมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากจึงร่วมกับชาวบ้านทำการขุดคลองตั้งแต่แม่น้ำปิง จ.กำแพง เพชร มาจนถึงหนองตางู ตลอดทั้งเส้นทางน้ำชาวบ้านได้รับประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการประสานงานช่วยเหลือเรื่องงบประมาณอย่างดียิ่งจากนายบุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกฯ และนายสวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรมต.และส.ส.นครสวรรค์ ซึ่งทั้งสองท่านนี้ถือเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด แวะเวียนมากราบท่านอยู่เสมอๆ

ด้านศาสนาได้สร้างและทำนุบำรุงวัดไว้มากมายในจังหวัดนครสวรรค์ เช่น วัดสี่แพร่ง วัดสองพี่น้องคลองวารินทร์ วัดโพธิธรรม วัดคลองมงคล อ.บรรพตพิสัย วัดตลิ่งสูง อ.ลาดยาว และอีกหลายวัดในต่าง จังหวัด เช่น วัดทุ่งทอง วัดเขาหนองตะเคียน วัดที่อำเภอเขาค้อ และวัดในภาคอีสาน รวมไปถึงประเทศลาวที่ท่านเคยไปธุดงค์ ก็สร้างไว้หนึ่งวัด โดยท่านเคยนำพระพุทธรูป หรือพระประธานไปถวายในประเทศลาวประมาณ 150 องค์

ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่รู้จักกันดีหลายวงการ ทั้งดารา นักร้อง นักการเมือง อาทิ วราเทพ รัตนากร อดีตรมช.การคลัง, พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร สมัยเป็นรมว.มหาดไทย เคยเข้ากราบนมัสการที่วัด ดารานักร้อง ยอดรัก สลักใจ, สีหนุ่ม เชิญยิ้ม, ดอน สอนระเบียบ เคยมาบวชกับท่านและจำพรรษาที่วัดนี้ กรุง ศรีวิไล,สรพงษ์ ชาตรี, เอ็ดดี้ ผีน่ารัก, โก๊ะตี๋ อารามบอย สุรชัย สมบัติเจริญ,นกน้อย อุไรพร วงเสียงอีสาน ฯลฯ

บั้นปลายชีวิต หลวงปู่พิมพามีกิจนิมนต์มากทำให้โหมงานหนัก จนกระทั่งมรณภาพด้วยโรคมะเร็งถุงน้ำดีในคืนวันที่ 2 ส.ค. 2541 สิริอายุ 91 ปี ปัจจุบันร่างของท่านยังไม่เน่าเปื่อยบรรจุอยู่ในโลงแก้วที่วัดหนองตางู

จากประสบการณ์ที่เล่าต่อๆกันมา หลวงปู่พิมพาเป็นพระสงฆ์อีกองค์ที่มีอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์มากมายหลายเรื่อง อาทิ ด้านแคล้วคลาด เมื่อประมาณปี 2550 มีโจรกระชากสร้อยที่ร้านค้าในหมู่บ้านจิกลาด หมู่ที่ 2 ต.หนองตางู เจ้าของร้านต่อสู้ถูกคนร้ายยิงด้วยปืน แต่ไม่ออก สุดท้ายโจรถูกจับ โดยสามีห้อยพระสมเด็จปิดทอง ส่วนภรรยาห้อยพระผงหยดน้ำ ปี2534 ด้านอยู่ยงคงกระพัน ชาวบ้านหนองตางูแขวนเหรียญเสมา รุ่นแรก ปี2506 ถูกลอบยิงด้วยปืนเอ็ม 16 แต่ไม่ระคายผิว

เรื่องย่นระยะทาง สมัยก่อนเป็นป่าต้องเดินเท้ารับกิจนิมนต์ไปทำบุญต่างหมู่บ้าน ท่านจะให้พระลูกวัดนำไปก่อน แต่พอไปถึงก็พบท่านนั่งรออยู่นานแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับวาจาศักดิ์สิทธิ์ ท่านพูดอะไรมักจะเป็นอย่างนั้น อีกทั้งสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ด้านเมตตามหานิยมและเมตตาจิตสูง ท่านสามารถสะกดให้สัตว์ป่าที่ดุร้ายเชื่องได้ เช่น เสือ จระเข้ ช้างป่า

สมัยก่อนโจรปล้นชุกชุมมาก ท่านจะเสกลูกกระสุนยิงไปรอบหมู่บ้าน ทำให้โจรหาทางออกไม่เจอและโดนจับได้ อีกเรื่องที่ฮือฮาคือ ท่านสามารถถอดจิตไปคุยกับเกจิอาจารย์หลายๆท่านในรุ่นเดียวกับท่าน หายตัวหาไม่เจอ และตายแล้วฟื้น

หลวงปู่พิมพาสร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่นหลายรูปแบบ รุ่นแรกเป็น”พระสมเด็จปิดทอง” สร้างที่วัดระฆังฯ ประมาณปี2491 โดยนำผงเก่าสมเด็จวัดระฆังผสมด้วย แล้วนำมาวัดหนองตางูประมาณ 3 กล่องกระดาษใหญ่ บางส่วนท่านบอกฝังไว้ที่วัดระฆังฯ แต่ภายหลังให้ลูกศิษย์ไปดู ปรากฏว่าโดนเทคอนกรีตทับหมดแล้ว อีกรุ่นเป็น”สมเด็จสนิมบาตร”กรุโบสถ์เก่าประมาณ 3 บาตร และยังนำผงสมเด็จวัดระฆังมาใช้ผสมทำพระเครื่องอีกหลายรุ่น

สำหรับรุ่นแรกของวัดหนองตางู เป็นรูปขาวดำอัดกรอบกระจก ปี 2503, เหรียญรุ่นแรก พิมพ์เสมา ปี 2506 อุใหญ่ ส่วนอุเล็ก(นิยม)จัดสร้างจำนวน 900 เหรียญ เนื่่องในโอกาสที่ทางวัดจัดงานหล่อหลวงพ่อพิมพ์ เพื่อเป็นพระประธานประดิษฐานในอุโบสถหลังเก่า หลวงปู่พิมพาท่านปลุกเสกตลอด 7 วัน 7 คืน นับเป็นเหรียญที่สร้างน้อย หายาก พุทธคุณครบเครื่องทุกด้าน

รูปหล่อรุ่นแรก ปี 2520 สร้างแค่ 2520 องค์เท่าปีพ.ศ. ,สมเด็จเกศาหลังเงา รุ่นแรก ปี 2534 ใช้ผงสมเด็จวัดระฆังฯ ผสมด้วยเกศาท่าน,ตะกรุดและมีดหมอ สร้างตามตำรับหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อพวง, สิงห์งาแกะตำรับหลวงพ่อเฮงและหลวงพ่อเดิม,เสือตำรับหลวงพ่อเฮงและหลวงพ่อยี โดยท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ปลุกเสกแล้วโยนไปตามกอหญ้าแล้วเอาหมูหรือเนื้อเกี่ยวเบ็ดหย่อนลงไป ถ้าเสือตัวไหนติดมาด้วยจึงจะใช้ได้ ถ้ายังไม่ติดก็ปลุกเสกจนติด คนแก่เฒ่าเล่าไว้ว่า ท่านเคยเสกปลัดขิกวิ่งบนน้ำแข่งกับพระอาจารย์สุพจน์ อดีตเกจิดังแห่งวัดศรีทรงธรรม อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อย ส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะเก็บไว้บูชา กล่าวกันว่ามีพุทธคุณและประสบการณ์ดีทั้งด้านแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน และเมตตามหานิยม

สำหรีบศิษย์เอกสายตรงของท่านที่มีชื่อเสียงอยู่ในปัจจุบันคือ "พระครูนิวาสบุญญากร หรือ"หลวงพ่อแก่" เจ้าอาวาสวัดดงแม่นางเมือง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ล่าสุด หลวงพ่อแก่อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหันข้าง"รุ่นแรก เพื่อนำรายได้บูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดดงแม่นางเมือง และวัดศรีทรงธรรม

#ฉัตรสยาม



 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page