top of page
ค้นหา

111ปี“หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร”เกจิ6แผ่นดิน...วัดป่าใต้พัฒนาราม

รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริอ.อนุชา ทรงศิริ

111ปี“หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” เกจิ6แผ่นดิน...วัดป่าใต้พัฒนาราม ศิษย์พี่ศิษย์น้อง"หลวงปู่โสฬส"

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอเรื่องราวประวัติ หลวงปู่บุดดา เนื่องในวาระวันคล้ายวันเกิด สิริอายุ 111 ปี

ปราจีนบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ในอดีตมี”พระดี-เกจิอาจารย์ดัง”หลายองค์ อย่างเช่น หลวงพ่อจาด อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะเบา,หลวงพ่อเส็ง อดีตเจ้าอาวาสวัดประจันตคาม,หลวงพ่อเอีย อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านด่าน ฯลฯ เกจิดังทั้ง3องค์นี้มีศิษย์เอกที่มีชื่อเสียงในยุคต่อมาก็คือ หลวงปู่โสฬสยโสธโร (พระครูธำรงโพธิเขต) อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกอู่ทอง อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ซึ่งท่านมรณภาพไปเมื่อปีพ.ศ.2555 สิริอายุ 99 ปี

เรื่องราวของหลวงปู่โสฬสนั้นได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า ท่านมีศิษย์พี่ศิษย์น้องที่เติบโตมาด้วยกัน ดื่มนมจากแม่นมคนเดียวกัน อีกทั้งบวชเรียนพร้อมกันในสำนักเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ด้วยวัยที่สูงถึง 111 ปี นับเป็นเกจิที่อายุยืนยาวถึง 6 แผ่นดิน

พระเกจิรูปนั้นก็คือ “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” วัดป่าใต้พัฒนาราม(วัดใหม่เจริญสุข) อ.วัฒนานคร จ.ปราจีนบุรี พระผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา งดงามด้วยปฏิปทาจริยาวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย สหธรรมิกของหลวงปู่ทวน ปุสสวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ซึ่งหลวงปู่บุดดา กล่าวว่า เคยนิมิตร่วมกันว่าเป็นพี่น้องกันเคยร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาด้วยกันหลายวัดในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี

กระแสความศรัทธานิยมเป็นที่ปรากฏอย่างกว้างขวางเมื่อหลวงปู่บุดดาได้รับนิมนต์ไปนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลพระครูวิมุติธรรมาภิรม หรือ”หลวงพ่อส่วน ปริมุตโต” ณ วัดหนองคล้า ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2559 โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ “ท่านเจ้าคุณธงชัย” วัดไตรมิตรวิทยาราม (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ) เป็นประธาน ซึ่งในการประกอบพิธีครั้งนั้น หลวงปู่บุดดามีความโดดเด่นเป็นพิเศษได้รับความสนใจจากหมู่คณะศรัทธาประชาชนที่ได้กราบนมัสการพระเกจิคณาจารย์ที่ทรงพรรษากาล พรรษาธรรมสูง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ยิ้มแย้ม แจ่มใสให้การพูดคุยด้วยเมตตาธรรมแก่ผู่เลื่อมใสศรัทธาที่เข้าแถวต่อคิวกันยาวเหยียดให้เจิมหน้าผาก ลงกระหม่อมเพื่อความเป็นสิริมงคล

หลวงปู่บุดดาเกิดปีพ.ศ.2454 อายุอ่อนกว่าหลวงปู่โสฬส 3 เดือน โดยหลวงปู่โสฬสเกิดปีมะโรงต้นปี ส่วนหลวงปู่บุดดาเกิดปีมะเส็งต้นปี และไปแจ้งเกิดช้า แต่ถ้าเทียบจากปีเกิดดังกล่าว หลวงปู่บุดดาจะมีอายุครบ 108 ปี ที่สำคัญ งานทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 107 ปีเมือปีพ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ระบุวันที่ 20 ก.ค. 2561 ซึ่งน่าจะเป็นวันเกิดที่แท้จริงของท่าน

วัยเด็กท่านทั้งสองเข้าเรียนเขียนอ่านที่วัดโคกอู่ทองกับพระอาจารย์แย้ม จนจบชั้นประถมฯ4 ก็ออกมาช่วยทางบ้านทำไร่ทำนา กระทั่งอายุ 20-21 ปีจึงอุปสมบทครั้งแรกพร้อมกับหลวงปู่โสฬส ครองเพศสมณะอยู่ได้หนึ่งพรรษาก็สึกออกมามีครอบครัวและมีลูก โดยช่วงที่เป็นฆราวาสนี้ได้เรียนธรรมะ วิชาต่างๆจากหนังสือเก่าๆตามตำราของหลวงพ่อหลายองค์

นอกจากนี้ ยังไปเรียนวิชาเมตตากับพระอาจารย์ศรี ที่จังหวัดอุบลราชธานี อีกทั้งศึกษาวิชารดน้ำมนต์ ไล่ผี จากตำราของโยมตา

ต่อมาได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งเมื่ออายุ 75 ปี โดยมีหลวงพ่อสนธิ์ วัดทุ่งพระ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูณรงค์ วัดเทพาวาส (ทับใหม่) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์บัวลา วัดโคกสัมพันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จากนั้นได้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพาวาส ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาสร้างเป็นวัดทับใหม่ มีหลวงพ่อดี อดีตเสือเก่า เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

วัดป่าใต้พัฒนารามตั้งอยู่เลขที่149 ม.9 บ้านป่าใต้ ต. โนนหมากเค็ง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27160 แรกเริ่มได้ก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ใหม่เจริญสุข หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2550 หลวงปู่บุดดาและชาวบ้านได้ร่วมมือกันก่อสร้างและพัฒนาจนได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้อง โดยก่อตั้งเมื่อวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2550 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 (ตามปฏิทินจันทรคติ) ปีกุน

หลังจากนั้นหลวงปู่บุดดาท่านเล็งเห็นว่า สำนักสงฆ์ใหม่เจริญสุขได้ขออนุญาตตั้งเป็นวัดเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงประชุมชาวบ้านและคณะกรรมการว่าอยากสร้างอุโบสถเพื่อให้ลูกหลานได้บวชเรียนเหมือนอย่างวัดอื่นๆ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นพ้องต้องกันโดยมีแกนนำหลายท่านที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคอยช่วยเหลือในการจัดหาปัจจัยดำเนินการ อาทิ คุณลุงปิ่น, คุณพ่อแสวง, คุณลุงสม, พระมหาอภิวัฒน์, อบต.สุนทร และคนอื่นๆอีกหลายท่าน รวมทั้งลูกๆของหลวงปู่และชาวบ้าน

โบสถ์หลังนี้ พระมหาอภิวัฒน์เป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง โดยทางกรมศิลปากรมอบแบบแปลนให้ โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2559 และตอกเสาเข็มในวันที่ 6 มิ.ย. 2559 เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนในด้านการออกแบบตกแต่งทั้งภายในและภายนอกนั้น พระอาจารย์สมุห์สุริยา ยติกโร หรือ”หลวงพี่น้อย” พระอุปัฏฐากหลวงปู่บุดดา ได้แนวความคิดมาจากการประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่ โดยท่านเล็งเห็นว่า หลวงปู่บุดดาเป็นคนโบราณจึงอยากสร้างโบสถ์หลังนี้ให้เป็นจุดเด่น สะดุดตา และแปลกใหม่สำหรับจังหวัดสระแก้ว

จุดเด่นของอุโบสถวัดป่าใต้พัฒนารามคือ เป็นโบสถ์มหาอุด ซึ่งมีหลังเดียวในจังหวัดสระแก้ว ตัวโบสถ์สีขาวมุกทั้งหลัง ฝาเป็นไม้สักทอง หน้าต่างไม้สักทองแกะสลักเป็นรูปสัตว์ป่าหิมพานต์ ส่วนประตูเป็นไม้ตะเคียนทอง องค์พระประธานเป็นศิลปะ 3 สมัยคือ หลวงพ่ออู่ทอง หลวงพ่อสุโขทัย หลวงพ่อเชียงแสน และใหญ่ที่สุดในจังหวัดสระแก้ว

ส่วนที่แปลกตาและพิเศษที่สุด อีกทั้งถือว่าเป็นไฮไลต์ก็คือ ภายในผนังโบสถ์กรุด้วยเซรามิกลงน้ำทองคำแท้บริสุทธิ์ โดยใช้ทองคำ 75% ละลายลงในเซรามิกสีดำ ซึ่งต้องสั่งทำเป็นพิเศษ และมีแค่เพียง 3 แห่งในประเทศไทย โครงสร้างและลวดลายปูนปั้นเป็นการผนวกรวมกันของศิลปะ 3 ภาคคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งการก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จหลังใช้เวลาดำเนินการมา 2 ปีกว่า ใช้งบประมาณราว 25 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยจะถือว่าเป็นอุโบสถหลังแรกและหลังเดียวที่สวยที่สุดในจังหวัดสระแก้ว

ภาพที่น่าประทับใจก็คือ แม้อายุจะเกินร้อยปีแล้ว แต่หลวงปู่บุดดาท่านยังนั่งรถเข็นไฟฟ้าออกตรวจงานการสร้างโบสถ์มหาอุดหลังนี้แทบทุกวัน

หลวงปู่บุดดานับเป็นพระเกจิอาวุโสที่มีความเมตตาธรรมบารมีสูงส่ง ใบหน้าของท่านมีรอยยิ้มอยู่เสมอ ท่านวางตนแบบเรียบง่าย ฉันอาหารแบบบ้านๆ เช่น น้ำพริก ผักต้ม ผักสด มักน้อย ชอบชีวิตสันโดษ ไม่นิยมสะสมข้าวของ ปัจจัยไทยทานต่างๆ ครองอัธยาศัยมั่นคงอยู่ในธรรมวินัย มีความงดงามในวัตรปฏิบัติยามเช้าจะออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ลงทำวัตรเจริญพระพุทธมนต์ทั้งเวลาเช้าและเย็นอย่างเคร่งครัด

วัตถุมงคลยอดนิยมของหลวงปู่บุดดา อาทิ เหรียญรุ่นแรก,รูปหล่อ,พระขุนแผน,พระสมเด็จ,ล็อกเก็ต,พระปิดตา,เหรียญมังกรเสาร์5,เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์,เหรียญพญาเต่าเรือน,เหรียญเจริญพร ฯลฯ กล่าวขานกันว่า ดีทางเมตตามหานิยม














 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page